เดือนสามค้อย เจ้าหัวคอยปั้นข้าวจี่ ลมวีวีหนาวสะบั้น จี่ข้าวปั้นเอาบุญสวัสดีครับ วันนี้ Gotoloei
ขอจูงแขนทุกท่าน มาเที่ยวงานบุญข้าวจี่ ซิมข้าวแดกงา เว้าจาภาษาเลย
ณ ลานวัฒนธรรมนาอ้อ เทศบาลตำบลนาอ้อ อ.เมือง จ.เลย 20 - 26 มกราคม 2561
และจะพาทุกท่านมารู้จักกับบุญข้าวจี่ ว่ามีที่มาอย่างไร ต้องติดตามครับชาว
บ้านนาอ้อยังคงรักษาวิถีชีวิตของชาวบ้านนาอ้อไว้คงเดิม ยังมีบ้านโบราณแบบของชาวนาอ้อหลงเหลืออยู่และพักอาศัยอยู่จริง
และยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของชาวนาอ้อตาม “ฮีต12 คลอง14” ไว้จนถึงปัจจุบัน
เดือนสาม “
บุญข้าวจี่” เป็นประเพณีที่ถือว่ามีชื่อเสียงมากของชาวตำบลนาอ้อ นิยมทำกันในราวกลางเดือนหรือปลายเดือนสาม
คือ ภายหลังการทำบุญวันมาฆบูชา
ข้าวจี่ คือ ข้าวเหนียวนึ่งให้สุกแล้วนำมาปั้นเป็นก้อนทาเกลือเคล้าให้ทั่ว และนวดให้เหนียวแล้วเสียบไม้ย่างไฟ
มูลเหตุที่ทำ
บุญข้าวจี่ในเดือนสาม คงจะเนื่องจากเป็นเวลาที่ชาวนาหมดภาระในการทำนา ชาวนาได้ข้าวขึ้นยุ้งฉางใหม่จึงอยากร่วมกัน
ทำบุญข้าวจี่ถวายพระสงฆ์ส่วนมูลเหตุดั้งเดิมที่จะมีการทำ
บุญข้าวจี่มีเรื่องเล่าว่า ในกาลครั้งหนึ่งนางปุณณะทาสี ได้ทำขนมแป้งจี่ถวายแด่
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอานนท์เถระ ครั้นถวายแล้วนางคิดว่าพระองค์คงไม่เสวยและอาจเอาทิ้งให้สุนัขหรือกากิน
เพราะ อาหารที่นางถวายไม่ประณีตน่ารับประทาน เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบ ภาวะจิตของนางปุณณะทาสี จึงรับสั่งให้พระอานน์ปูลาดอาสนะแล้วทรงประทับนั่งฉันท
ณ ที่นางถวายนั้น เป็นผลให้นางเกิดปิติยินดีเป็นอย่างยิ่งและเมื่อนางได้ฟังพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงก็บรรลุโสดาบันปัตติผล
ด้วยอานิสงส์ที่ถวายขนมแป้งจี่ ชาวอีสานทราบอานิสงส์ของการทานดังกล่าวจึงพากันทำ
ข้าวจี่ถวายทานแด่พระสงฆ์สืบต่อมา
การปฏิบัติในงาน
ประเพณีบุญข้าวจี่เมื่อทางวัดและทางบ้านกำหนดวันทาบุญเรียบร้อยแล้ว ชาวบ้านจะไปเตรียมหาไม้ไผ่สาหรับเสียบ
ข้าวจี่เมื่อถึงวันทาบุญก็จะเอาไม้เสียบและฟืนที่เตรียมไว้สาหรับทา
บุญข้าวจี่ไปรวมกันที่วัด เมื่อก่อไฟจนเป็นถ่านดีแล้วชาวบ้านแต่
ละคนเอาข้าวเหนียวทาเป็นปั้นโรยเกลือและเคล้านวดให้เข้ากันจนข้าวมีลักษณะเหนียว กะจานวนให้ครบพระภิกษุสามเณร
ในวัดเสียบไม้ปิ้งไฟหรือย่างบนกองไฟจวนสุกทาไข่ให้ทั่วแล้วปิ้งต่อไปจนไข่เหลือง บางแห่งเมื่อปิ้งเสร็จเอาน้ำอ้อยปึกยัดไส้ด้วย
(น้ำอ้อยอาจเอายัดไส้ก่อนปิ้งไฟก็ได้) หรือจะไม่ใส่น้าอ้อยก็ได้ จึงจัดอาหารคาวหวานและข้าวจี่มารวมกันที่ศาลาวัด
นิมนต์พระภิกษุและสามเณรในวัดทั้งหมดมารับถวายทาน ข้าวจี่หากไม่มารวมกันทาที่วัด
ชาวบ้านอาจต่างคนต่างทามาจากที่บ้านของตนโดยเสร็จแล้วต่างนา
ข้าวจี่มาที่วัดก็ได้ พิธีถวายมีการกล่าวคาบูชาดอกไม้ กราบไหว้พระรัตนตรัย รับศีล พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ ตักบาตรถวาย
ข้าวจี่แล้วยกไปถวายพระภิกษุสามเณรพร้อมอาหารคาวหวานก่อนยกไปถวายมีการกล่าวคาถวาย
ข้าวจี่อีกด้วย
กิจกรรมที่น่าสนใจในงาน การจัดซุ้มแสดงวิถีชีวิตของชุมชนตำบลนาอ้อ พร้อมบริการข้าวจี่ข้าวแดกงา ฟรีตลอดงาน การประกวดเทพีข้าวจี่
ประกวดร้องสรภัญญะ การแข่งขันการละเล่นพื้นบ้าน การแข่งขันชกมวยไทย และหมอลำเรื่องต่อกลอน พร้อมมหรสพตลอดคืน
นอกจากนี้ในงานประเพณีบุญข้าวจี่ ได้มีการจัดมหกรรมเทศกาลอาหาร สะอาด รสชาติอร่อย ให้ผู้ร่วมงานได้เลือกซื้อรับประทานอาหารมากมาย
ไม่ว่าจะเป็นอาหารพื้นบ้านของชาวตำบลนาอ้อ ข้าวจี่ข้าวแดกงา อาหารไทย อาหารอีสาน ขนมหวาน เครื่องดื่ม
น้าหวาน น้าผลไม้ ที่ขึ้นชื่อของชาวเมืองเลย
ตำบลนาอ้อเริ่มฟื้นฟู
ประเพณีบุญข้าวจี่อย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นปีที่บ้านนาอ้อ ได้รับยกย่องจากสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ
ให้เป็นหมู่บ้านวัฒนธรรมต้นแบบของจังหวัดเลย ตำบลนาอ้อ ถือได้ว่าเป็นหมู่บ้านวัฒนธรรมมีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 300 ปี
เพื่อเป็นการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นที่เก่าแก่ให้คงสืบไว้ เทศบาลตำบลนาอ้อจึงได้จัดงาน
ประเพณีบุญข้าวจี่ กินข้าวแดกงาเพื่อเป็นการแสดงถึงวิถีการดำรงชีวิตและภูมิปัญญา ของชาวบ้านและเป็นการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
โดยถ่ายทอดวัฒนธรรม ให้กับชนรุ่นหลังและผู้ที่สนใจได้เรียนรู้เป็นมรดกสืบไป
ขอบคุณข้อมมูลจาก:
เทศบาลตำบลนาอ้อ