"มาเด้ออีพ่ออีแม่ พ่อโซ้นแม่โซ้น พี่น้องป้องปาย มารับมากิน ข้าวตอกดอกไม้ คำหมากคำพลู ส้มก็มีหม้ำก็หลาย ของหวานของคาว ลูกหลานเตรียมไว้ให้ เต็มถาดเต็มจาน มารับเอาไปกินกันสูผู้สูคนเด้อ"คำพูดของลูกหลานคนอีสาน ที่ได้ยินจนคุ้นหูเป็นประจำทุกปีของบุญเดือนสิบ
บุญข้าวสากหรือ
บุญข้าวกระยาสารทซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 5 กันยายน 2560ประเพณีบุญใหญ่ ซึ่งเป็นความเชื่อ ที่จะได้ระลึกนึกถึงบรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปสู่อีกภพภูมิใหม่ อันได้แก่ คุณบิดามารดา ปู่ย่าตายาย ลุงป้าน้าอา ซึ่งท่านเหล่านี้ได้ให้ความเลี้ยงดู ให้ชีวิต ให้ที่ทำกิน ที่ไร่ที่นา ทิ้งมรดกเป็นทุนเอาไวให้แก่รุ่นลูกรุ่นหลาน ได้ทำมาหากินเลี้ยงปากท้องต่อไป เพื่อนำมาซึ่งความกตัญญู และให้ตนเองและครอบครัวมีความเจริญรุ่งเรือง
อาหารคาวหวานจัดวางให้บรรพบุรุษผู้ล้วงลับก่อนวันบุญข้าวสากซึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้คือการหาใบตอง ห่อข้าวต้มมัด และทำข้าวกระยาสารท ซึ่งต้องเตรียมไว้สำหรับแจกทาน และทำบุญในวันรุ่งขึ้น เมื่อถึงวันบุญข้าวสากชาวบ้านจะตื่นแต่เช้ามึด เพื่อเตรียมอาหารคาวหวาน ไปถวายที่วัด
ข้าวต้มมัดเป็นทั้งของแจกทานและถวายพระในบุญข้าวสากซึ่งจะเน้นเป็นอาหารคาวหวานที่ผู้ล่วงลับชื่นชอบ สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ ธูปเทียน คำหมากคำพลู ใบตองสำหรับวางใส่อาหาร ซึ่งในตอนเช้าก็จะเป็นพิธีการทำบุญถวายภัตตาหารเช้า ถวายสังฆทาน ปัจจัยทำบุญ แด่พระสงฆ์ตามปกติ
ถวายสังฆทานและภัตตาหารเช้าแด่พระภิษุเมื่อเสร็จพิธีกรรมทางพุทธ จนจิตใจผ่องใสเป็นบุญกันแล้ว ชาวบ้านลูกหลานจะจับกลุ่มกันที่ใต้ต้นไม้ หรือลานดิน ในบริเวณวัด แล้วจัดเตรียมแต่งอาหารสารพัดอย่าง ที่ผู้ล่วงลับชื่นชอบใส่ในใบตอง
จุดธูปหนึ่งดอก จุดเทียนหนึ่งคู่วางคำหมาก คำพลู และจุดบุหรี่
วางคำหมาก คำพลู และจุดบุหรี่โดยมีลูกหลานมาห้อมล้อมเป็นวงรอบ แล้วเรียกขานชื่อ (ชื่อบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ ) พร้อมกับคำเชิญชวนให้มากินมารับเอาอาหารคาวหวานที่เคยชื่นชอบเมื่อครั้งยังมีชีวิตอยู่ เมื่อเสร็จพิธีส่วนนี้แล้วลูกหลานบางส่วนอาจจะแยกย้ายกันกลับบ้านหรือทำภาระกิจอื่นๆในวัด แต่ยังคงต้องมีบางส่วนนั่งรอจนกว่า ธูปเทียนจะดับ พร้อมกับเก็บทำความสะอาดในบริเวณนั่น
เรียกขานชื่อบรรพบุรุษผู้ล่วงลับลูกหลานมาห้อมล้อมระลึกถึงบุญคุณต่อบรรพบุรุษนี่คือประเพณีที่แสดงออกถึงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ บุคคลสำคัญต่อครอบครัว ที่ได้ล่วงลับจากโลกนี้ไปแล้ว หากมองในมุมมองของความเชื่อด้านหนึ่งของอีกภพภูมิ คนยังมีความเชื่อสืบทอดกันมา ก็คือ ใน วันขึ้น 15 ค่ำ เดือนสิบ ดวงวิญญาณที่ต่ำกว่าภพภูมิมนุษย์ จะถูกปล่อยให้เป็นอิสระให้สามารถมารับส่วนบุญส่วนกุศลกับลูกหลานญาติพี่น้อง ได้เป็นเวลาหนึ่งวัน
ข้าวกระยาสารทและอาหารคาวหวานว่ากันว่า พอถึงวันนี้ดวงวิญญาณจะตั้งตารอคอยที่จะได้พบกับหน้าลูกหน้าหลานอีกครั้ง และยังได้อิ่มหนำสำราญกับอาหารคาวหวานที่ตนเองชอบเมื่อยังมีชีวิตอยู่ บ้างก็วิ่ง บ้างก็สะพายตะกร้ากระบุง เพื่อมารับของแจกทานติดไม้ติดมือกลับลงไปด้วย.....แต่ดวงวิญญาณหลายดวงที่ยังไม่ได้ไปเกิดยังภพภูมิใหม่ เพราะลูกหลาน ลืมหรือไม่สนใจที่จะทำข้าวปลาอาหารให้แล้ว กลับต้องเศร้าหมองนั่งร้องให้เสียใจ มองหาลูกหลานจากกลุ่มนั้นกลุ่มนี้ก็ไม่พบ ตามหาทั้งหิวทั้งเหนื่อยอ่อน นั่งลงพักข้างกองข้าวปลาอาหารพอยืนมือคว้าหยิบมากินกลับร้อนดั่งไฟกินไม่ได้ และต้องเดินกลับด้วยตระกร้าที่ว่างเปล่า
ลูกหลานจัดแต่งอาหารคาวหวานที่บรรพบุรุษเคยชื่นชอบนี่อาจเป็นความเชื่อที่เล่าสืบต่อกันมา หรืออาจจะเป็นเรื่องจริง แต่ก็คงไม่ลำบากนักหากประเพณีบุญข้าวสาก จะเป็นสิ่งที่ทำให้ลูกหลานได้แสดงออกในการสำนึกบุญคุณ ความกตัญญู เพียงปีละหนึ่งครั้ง ลูกหลานที่เกิดมาใหม่ เขาจะได้รู้ว่า บรรพบุรุษปู่ย่าตายายเป็นใคร มีคุณงามความดี ทำประโยชน์หรือทิ้งอะไรไว้ให้คนข้างหลังบ้าง และสำคัญที่สุดการแสดงออกถึงความกตัญญูต่อพ่อแม่ หรือผู้มีพระคุณให้ท่านได้มี กินมีใช้ สุข สบายใจ ทั้งยังที่มีชีวิตอยู่ในทุกๆวัน ยอมดีกว่าการที่ท่านเหล่านั้นได้ละโลกนี้ไปแล้วอย่างแน่นอนที่สุด
ประเพณีบุญข้าวสาก ปี 2560สำหรับตำนานและประวัติของบุญข้าวสาก และวันสารทจีน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่เลยนะครับ
ตำนานบุญข้าวสาก ฮีตที่ ๑๐ บุญข้าวสากหรือบุญเดือนสิบ วันสารทจีน ตำนาน และของไหว้ความหมายดีในวันสารทจีนบทความโดย
ลานดิน ทีมงานโกทูเลยดอทคอม5 กันยายน 2560
บุญข้าวสาก 2560 ณ วัดบ้านกกเต็น ตำบลผาน้อย อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย