เมื่อ 30 กว่าปีก่อน แม่ผมเล่าให้ผมฟังเสมอตอนมองท้องฟ้าหน้าหนาวว่า "ตอนเช้ามืดช่วงที่อากาศในฤดูหนาว บนบ้านไม้ทรงอีสาน ห้องครัวที่ผนังทำมาจากฟากไม้ไผ่ ในขณะที่แม่ผมกำลังสาละวนอยู่กับการนึ่งข้าวเหนียว เตรียมทำอาหารให้ทันสำหรับการใส่บาตรพระ อยู่ๆก็มี
ลูกไฟประหลาดขนาดใหญ่พุงผ่านเหนือท้องฟ้า
จังหวัดเลยไปยังฝั่งประเทศลาว แสงของมันสว่างเหมือนตอนกลางวัน และเมื่อแสงมันจางลง ก็มีเสียงระเบิดดังสะท้อนกึงก้องแบบไม่เคยได้ยินมาก่อน ช่วงนั้นชาวบ้านพากันแตกตื่น และพูดกันไปต่างๆนานาถึงสาเหตุของสิ่งที่เกิดขึ้น เพราะช่วงนั้นการคมนาคม หรือการสื่อสารยังไม่มีหลากหลายช่องทางมากเหมือนปัจจุบัน ที่พอมีเหตุการณ์อะไรก็สามารถ ถ่ายรูปวีดีโอลง Facebook หรือกลุ่ม Line ได้ทันที แต่ข้อสรุปของชาวบ้านหลายคน ยังมุ่งประเด็นไปในเรื่องของ อาจเป็นเครื่องบินหรือจรวจที่ตกฝั่งลาวบ้าง หรือไม่ก็มีการทิ้งระเบิดในฝั่งลาว เนื่องจากดินแดนไทยและลาวในช่วงนั้นยังมีความความไม่สงบหลงเหลืออยู่ สำหรับเรื่องนี้หลายคนยังเป็นความลับอยู่จนมาถึงปัจจุบัน
จุดตกของอุกกาบาตในประเทศไทย (ภาพ - วรเชษฐ์ บุญปลอด)
แต่ความจริงแล้ว ลูกไฟและเสียงดังกึงก้องที่เกิดขึ้น มันคือ
อุกกบาตเพียง 4 กี่ลูกที่เคยตกเข้ามาในเขตประเทศไทย นั้นคือ ครั้งแรก 21 ธ.ค.2466 ต.ดอนยายหอม อ.เมือง จ.นครปฐม
ครั้งที่สอง 17 พ.ย.2524 อ.เชียงคาน จ.เลยครั้งที่สาม 13 มิ.ย. 2536 ต.ลานบ่า อ.หล่มสัก จ.เพชรบูรณ์ ครั้งที่สี่ 21 พ.ค. 2552 ตกทะลุหลังคาบ้านของนายสมศักดิ์ เชี่ยววิจิตร ที่เทศบาล จ.พิษณุโลก และเมื่อค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมจากเว็บไซต์สมาคมดาราศาสตร์ไทย จึงได้ข้อมูลเพิ่มเติมมาว่า
อุกกาบาตบ้านร่องดู่ (ภาพจากนิตยสารอัพเดท กรกฎาคม 2536)
เหตุการณ์
อุกกาบาตตกที่เชียงคานครั้งนั้น เกิดขึ้นเมื่อ เวลา 5.30 น. ของเช้ามืดวันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2524 อุกกาบาตที่ตกลงมานั้นเป็นอุกกาบาตหิน ประกอบด้วยอุกกาบาตก้อนเล็ก ๆ หลายก้อน ค้นพบหลังจากมีเหตุการณ์ลูกไฟขนาดใหญ่สว่างกว่าแสงจันทร์ พุ่งผ่านท้องฟ้าภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ ลูกไฟนั้นไประเบิดเหนือท้องฟ้าอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ใกล้พรมแดนไทย-ลาว มีเสียงดังกึกก้องกัมปนาทได้ยินไปทั่วจังหวัดเลยและจังหวัดที่อยู่ใกล้เคียง อุกกาบาตตกกระจัดกระจายในพื้นที่ประมาณ 24 ตารางกิโลเมตร โดยมีทีมสำรวจจากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย ดร.ระวี ภาวิไล เป็นบุคคลที่บุกเบิกการศึกษาด้านดาราศาสตร์รุ่นแรก ๆ ของไทย ได้เข้าเก็บรวบรวมอุกกาบาตได้ 31 ก้อน น้ำหนักรวม 367 กรัม ลูกใหญ่ที่สุดหนัก 51.3 กรัม มีข้อสันนิษฐานเพิ่มเติมว่าหากอุกกาบาตเชียงคานไม่ได้เป็นชิ้นส่วนจากแถบดาวเคราะห์น้อยหลัก ซึ่งโคจรอยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี มีความเป็นไปได้ว่ามันอาจจะเป็นชิ้นส่วนของดาวหางเทมเพล-ทัตเทิล ต้นกำเนิดของฝนดาวตกสิงโต ฝนดาวตกที่เกิดเป็นประจำในวันที่ 16-17 พฤศจิกายนของทุกปี ซึ่งประเทศไทยและเอเชียมองเห็นได้มากและชัดเจนเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2541 และ 2544
อุกกาบาตที่รัสเซีย (ภาพจากtoplinediamond)
เช่นกันเมื่อ วันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 ที่ผ่านมาก็มีเหตุการณ์คล้ายๆ กับที่เคยเกิดที่เชียงคานมาก่อน นั้นคือมี ลูกไฟอุกกาบาต เข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลกเหนือประเทศรัสเซีย จนเกิดการระเบิดและแรงกระแทก ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บกว่า 1,491 คน และ 2 คนได้รับบาดเจ็บสาหัสโดยส่วนใหญ่เป็นเพราะถูกเศษกระจกที่เกิดจากคลื่นกระแทกบาดและมีอาคารจำนวนถึง 3,000 แห่งใน 6 เมืองใหญ่ในพื้นที่ได้รับความเสียหาย
นั้นคือเรื่องที่น่าตื่นเต้นเกียวกับอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ที่เคยเหตุการแบบนี้ขึ้นมาก่อน และโชคดีที่ครั้งนั้นไม่มีรายงานบันทึกถึงการบาดเจ็บ หรือมีผลกระทบกับอาคารบ้านเรือนครับ เห็นไหมครับว่า จังหวัดเลยของเรามีอะไรให้น่าคนหาอีกมากมาย ฝากติดตาม และให้กำลังใจ ทีมงานโกทูเลยดอทคอมเว็บไซต์สำหรับจังหวัดเลยที่เกิดจากความตั้งใจของลูกหลานคนเมืองเลยครับ
แหล่งอ้างอิง:
http://thaiastro.nectec.or.th/library/thaimeteorite/thaimeteorite.htmlhttps://th.wikipedia.org/wiki/ระวี_ภาวิไลhttps://th.wikipedia.org/wiki/เหตุอุกกาบาตตกในรัสเซีย_พ.ศ._2556