สำนักงานพื้นที่พิเศษเลย

ไม่ระบุเวลา

แผนที่การเดินทาง

ติดต่อสอบถาม

ที่อยู่:
52/1 ถ.เสริฐศรี ต.กุดป่อง อ.เมืองเลย จ.เลย 42000
โทร:
0428611168
อีเมล:
Leisureloei@gmail.com
เว็บไซต์:
www.dastaloei.com
เฟซบุ๊ก:
https://www.facebook.com/สำนักงานพื้นท..
ไลน์ไอดี:
-ไม่ระบุ-

10 คำถาม 10 คำตอบ เพื่อการมีส่วนร่วมสร้างการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในพื้นที่พิเศษเลย


QA1 "พื้นที่พิเศษ" คืออะไร

ตอบพื้นที่พิเศษ หมายถึง พื้นที่ เขต หรือแหล่งท่องเที่ยวที่ประกาศด้วยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ตามพระราชกฤษฎีกา จัดตั้งองค์การบริหารพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) พ.ศ.2546

พื้นที่ท่องเที่ยวที่มีความเหมาะสมในการประกาศเป็นพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน จะต้องเข้าหลักเกณฑ์อย่างน้อยข้อใดข้อหนึ่ง ดังนี้

1. เป็นพื้นที่ที่มีความโดดเด่นและทรงคุณค่าทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

2. เป็นพื้นที่ที่มีความล้ำค่าทางประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม

3. เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่


QA2 อพท.จะทำอะไรในพื้นที่พิเศษเพื่อสร้างการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน...?
ตอบองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. ได้เริ่มดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2546 ภายใต้วิสัยทัศน์ อพท. ประสานทุกภาคีเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์ของการดำเนินงานของ อพท.คือ
1. ประสานงานการบริหารจัดการการท่องเที่ยวระหว่างส่วนราชการรัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นของรัฐทั้งในระดับชาติ ระดับภูมิภาค หรือระดับท้องถิ่น
2. ประสานงานการใช้อำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานอื่นของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ เกี่ยวข้องเพื่อบูรณาการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
3. ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนาและรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
4. ส่งเสริมการใช้ศักยภาพของหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ในการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว
5. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนและชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ชุมชนท้องถิ่นของตน
6. ส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนท้องถิ่นจัดให้มีการบำรุงรักษาศิลปะ จารีต ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น

QA3 ทำไมจังหวัดเลยจึงมี "พื้นที่พิเศษเลย"...?
ตอบจังหวัดเลยเป็นเมืองท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่โอบล้อมด้วยภูเขาสลับซับซ้อนภูมิประเทศที่สวยสดงดงาม ท่ามกลางสายหมอกปกคลุมเหนือยอดภู อากาศสดชื่นเย็นสบาย ประเพณี วัฒนธรรม และวิถีชีวิตชุมชนที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทำให้จังหวัดเลยเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพสูงด้านการท่องเที่ยว
จังหวัดเลยมีแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับคะแนนนิยมใน 50 สุดยอด แหล่งท่องเที่ยวไทยในดวงใจ (อสท.) ในปี พ.ศ.2553 ประกอบด้วย ประเภทแหล่งท่องเที่ยวป่าเขา น้ำตก ที่อุทยานแห่งชาติภูกระดึง ได้รับการโหวตเป็นอันดับที่ 2 และในแหล่งท่องเที่ยวประเภทชุมชนและวิถีชีวิตความคิดเห็นของประชาชน ใน พ.ศ.2555 จังหวัดเลยอยู่ในลำดับที่ 10 จาก 77 จังหวัด ในประเทศไทยที่คนไทยอยากไป
อย่างไรก็ตาม จังหวัดเลยประสบปัญหาการกระจัดการจายของแหล่งท่องเที่ยวหลักหลายแห่ง อยู่ห่างไกลเส้นทางคมนาคมสายหลัก มีปัญหาด้านสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน สุขอนามัย สาธารณูปโภค และการสื่อสาร
นอกจากนี้ยังมีนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวอย่างไม่สม่ำเสมอตลอดทั้งปี โดยเฉลี่ยพำนักอยู่จังหวัดเลยประมาณ 2-3 วันเท่านั้น ตลอดจนขาดการบริหารจัดการที่ดีและขาดการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว
การประกาศเป็นพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนจะสามารถเสริมสร้างการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมาย ยุทธศาสตร์ รูปแบบและวิธีการอย่างเป็นระบบ เพื่อพลิกโฉมการท่องเที่ยวจังหวัดเลยให้มีคุณภาพมาตรฐานระดับแนวหน้าของประเทศและมีขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดการท่องเที่ยวระหว่างประเทศในระยะยาว

QA4 พื้นที่พิเศษเลย อยู่ตรงไหน...?
ตอบคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ.2554 เห็นชอบการประกาศพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย 9 อำเภอ ครอบคลุม 7,193.01 ตร.กม. หรือ 4,495,645.28 ไร่ ซึ่งล้วนมีความหลากหลายในการเป็นเมืองท่องเที่ยวเชิงนิเวศเมืองสร้างสวรรค์ และเมืองน่าอยู่ น่าเที่ยว แนวการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ได้แก่
- เมืองเลยควรเป็นเมืองสร้างสรรค์ที่มีชีวิตชีวา มีการจัดกิจกรรมต่างๆตลอดทั้งปี
-เชียงคาน ควรเป็นเมืองน่าอยู่ น่าเที่ยว เงียบสงบ เหมาะสมกับการพักผ่อน และการเรียนรู้วิถีชีวิตริมโขงร่วม และเชื่อมโยงกับ สปป.ลาว
- ท่าลี่ควรเป็นเมืองการค้าชายแดนศูนย์กลางธุรกิจการขนส่งและการท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับ สปป.ลาว
- ด่านซ้ายเป็นเมืองน่าอยู่ น่าเที่ยว เมืองสร้างสรรค์ เป็นเมืองที่น่าส่งเสริมให้เป็นเมือจักรยาน และเมืองเศรษฐกิจสีเขียวที่มีการจัดการท่องเที่ยวชุมชนที่เข้มแข็ง
- ภูเรือควรเป็นเมืองเศรษฐกิจสีเขียว ที่มีกิจกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและเมืองน่าอยู่ น่าเที่ยว ทางธรรมชาติ
- นาแห้วเป็นเมืองน่าอยู่ น่าเที่ยว เป็นเมืองที่สงบเหมาะกับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ที่ยั่งยืนและการท่องเที่ยวธรรมชาติ
- ภูกระดึงควรเป็นเมืองสร้างสรรค์ท่องเที่ยวเชิงนิเวศด้วยแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่สวยงาม การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- ภูหลวงควรเป็นเมืองน่าอยู่ น่าเที่ยว ด้วยเป็นเมืองที่สงบ เมืองสร้างสรรค์แพทย์แผนไทย และยาสมุนไพร และเมืองแห่งความรู้
- หนองหินควรพัฒนาไปสู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์ ด้วยการจัดตั้งอุทยานธรณี

QA5 Leisure Loei..?
ตอบการพัฒนาพื้นที่พิเศษเลย มุ่งสร้างความสมดุลของการพัฒนาเมืองท่องเที่ยว ทั้งทางด้านกายภาพ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม มีรูปแบบการพัฒนา 3 รูปแบบ ภายใต้คำที่แสดงถึงลักษณะเด่น (Gimmick) "สบาย สบาย สไตล์ เลย หรือ Leisure Loei" ได้แก่
รูปแบบที่ 1เมืองที่เติบโตแบบสร้างสรรค์ ด้วยการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์แลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมด้วยวิธีการสนับสนุนงานเทศกาลและกิจกรรมทางวัฒนธรรมต่างๆ ผ่านความร่วมมือระหว่างชุมชน ท้องถิ่น และภาครัฐ เพื่อผลักดันให้เป็นฐานเศรษฐกิจสำคัญของท้องถิ่น
รูปแบบที่ 2เมืองน่าอยู่ น่าเที่ยว พัฒนาพื้นที่ให้สามารถดำรงไว้ซึ่งคุณค่าและจิตวิญญาณของมรดกทางวัฒนธรรม ควบคู่กับการสร้างความสมดุลระหว่างกิจกรรมเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่เอื้อประโยชน์ต่อชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชน ใช้เสน่ห์ของเมืองและวิถีชีวิตที่ผสมผสานเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการขับเคลื่อนภาคบริการการท่องเที่ยวเศรษฐกิจชุมชน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่พิเศษที่สอดคล้องกับบริบทการเปลี่ยนแปลงด้วยเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพ การส่งเสริมกิจกรรมด้านสังคม ประเพณี และวัฒนธรรมเพื่อสร้างเมืองที่มีคุณภาพชีวิตของประชาชนให้อยู่ในระดับที่ดีขึ้น
รูปแบบที่ 3 เมืองเศรษฐกิจสีเขียวขับเคลื่อนเมืองท่องเที่ยวผสมผสานกับการพัฒนาเศรษฐกิจเมืองในรูปแบบเมืองคาร์บอนต่ำหรือเมืองเศรษฐกิจสีเขียว (low Carbon City and Green Economy) เพื่อเกิดการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน และมีการจัดการพลังงาน

QA6 จังหวัดเลย จะได้อะไร จากการเป็นพื้นที่พิเศษ...?
ตอบการบริหารจัดการพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ดำเนินงานด้วย การบูรณาการภาคีการพัฒนาที่เกี่ยวข้องจะเป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษ เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การพัฒนาที่สอดคล้องกับแผนแม่บทจะได้รับการจัดลำดับความสำคัญและการสนับสนุนงบประมาณดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการประกาศให้เป็นพื้นที่พิเศษโดยการดำเนินงานของ อพท. ที่จะดำเนินงานดังต่อไปนี้
1. จัดทำและเสนอนโยบายและแผนยุทธศาสตร์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนต่อคณะรัฐมนตรี
2. กำหนดแผนปฏิบัติการเพื่อให้นโยบายและแผนยุทธศาสตร์บรรลุผล
3. ให้คำแนะนำ เสนอแนะ และร่วมแก้ไขปัญหาหรืออุปสรรคการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
4. ติดตามประเมินผลการบริหารจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
5. เสนอต่อคณะรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการในกรณีมีปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับการประสานงานการบริหารจัดการการท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษ
6. เสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติหรือจัดสรรงบประมาณในการบริหารจัดการในพื้นที่พิเศษ

QA7 ถ้าการพัฒนาเป็นไปตามแผนแม่บทพื้นที่พิเศษเลย...เศรษฐกิจจากการท่องเที่ยวของจังหวัดเลยจะเป็นอย่างไร?
ตอบ
ระยะที่ 1 การปรับพื้นฐานและฟื้นฟูสภาพแวดล้อมท่องเที่ยวผลลัพธ์จะได้มาจากการลงทุนเพื่อการปรับแก้ไขระบบบริการและโครงสร้างพื้นฐานการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่พิเศษเลย ให้อยู่ในสภาพที่พ้นจากระดับความเสื่อมโทรมมีผลต่อการพัฒนาที่สำคัญในช่วงนี้ โดยสาระสำคัญสรุปดังนี้
1. การเร่งดำเนินการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมการฟื้นฟูขนบธรรมเนียมประเพณีและวิถีชีวิตของคนท้องถิ่นจะจูงใจให้มีแนวโน้มการขยายตัวของจำนวนนักท่องเที่ยว และระยะเวลาการพำนักอาศัยในระยะนี้ยังอยู่เพิ่มขึ้นในอัตราปกติ รวมถึงค่าใช้จ่ายต่อคนต่อวันของนักท่องเที่ยวขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
2. การลงทุนที่เพิ่มขึ้นจะเป็นตัวเร่งให้จำนวนนักท่องเที่ยวให้เพิ่มสูงขึ้นมากกว่าเดิมจากร้อยละ 4.67 เป็นร้อยละ 5.37 ระยะเวลาพำนักอาศัยจะเพิ่มขึ้น จากค่าเฉลี่ยระหว่างปี พ.ศ.2549-2553 จาก 2.47 วัน เป็นเฉลี่ย 3.18 วัน ระหว่างปี พ.ศ.2556-2560 ค่าใช้จ่ายต่อคนต่อวันจะเพิ่มขึ้นจากค่าเฉลี่ย 700.874 บาท ระหว่างปี พ.ศ.2549-2553 เพิ่มเป็นเฉลี่ย 1,423.40 บาท ระหว่างปี พ.ศ.2556-2560 ทำให้รายได้เฉลี่ยจากการท่องเที่ยวเพิ่มจาก 2,288 ล้านบาท เพิ่มเป็น 5,657 ล้านบาท อัตราการขยายตัวของรายได้เฉลี่ยร้อยละ 25 ระหว่างปี พ.ศ.2556-2560

ระยะที่ 2การลงทุนเพื่อกระจายผลดีทางเศรษฐกิจไปสู่พื้นพิเศษเลยและสร้างโอกาสใหม่ในอนาคตในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ ก่อให้เกิดความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น และเกิดการท่องเที่ยวที่สามารถท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี
ผลการพัฒนาที่สำคัญในช่วงนี้ สรุปได้ดังนี้
1. สร้างโอกาสการใช้เวลาอยู่ในพื้นที่พิเศษเลยเป็นระยะเวลานานขึ้น ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวในค่าบริการท่องเที่ยวและการอุปโภคบริโภคในพื้นที่มากขึ้น
2. ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของพื้นที่ และความสะดวกสบายของการบริหารจัดการระบบสาธารณูปโภค เป็นแรงกระตุ้นสำคัญที่ดึงดูดให้มีกลุ่มนักท่องเที่ยวประเภทกลุ่มคุณภาพ (Premium Group) เข้ามาเพิ่มขึ้นได้คาดว่าปริมาณนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ ระยะเวลาพำนักอาศัยในพื้นที่พิเศษเลยของนักท่องเที่ยว รวมทั้งค่าใช่จ่ายต่อคนต่อวันจะเติบโต

QA8 จะมีส่วนร่วมพัฒนาการท่องเที่ยวร่วมกับพื้นที่พิเศษเลยได้อย่างไร...? กระบวนการทำงานหรือกระบวนการขับเคลื่อนการพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษเลย ต้องการความเป็นบูรณาการสูงมาก
ตอบให้ทุกหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการตามแผนฯ หรือระดมทรัพยากรมาใช้เพื่อสนับสนุนการดำเนินการตามแผนดังนี้
1. บูรณาการความร่วมมือในการจัดทำแผนงาน โครงการ และกิจกรรมต่างๆ โดยเน้นการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้รับรู้และตระหนักถึงการดำเนินการไปสู่วิสัยทัศน์ที่ตั้งไว้ร่วมกันในความเป็น "เมืองน่าพักผ่อนและเรียนรู้ประสบการณ์ท่องเที่ยวเชิงนิเวศ เอกลักษณ์วัฒรธรรมท้องถิ่น การพัฒนาที่ยั่งยืนสู่คุณภาพระดับสากล"
2. ประสานความร่วมมือการดำเนินงานของทุกภาคส่วนให้สอดคล้องตามแผนปฏิบัติการในรูปแบบที่สะท้อนความเป็นภาพลักษณ์เมืองเลยอย่างแท้จริงๆ อย่างมีเอกภาพทั้งการจัดทำโครงการและจัดงบประมาณ มุ่งไปสู่การร่วมกันพัฒนาพื้นที่พิเศษเลย แบบสบาย สบาย สไตล์เลย
3. เมื่อแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการฟื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเลยผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี แนวทางการจัดสรรงบประมาณ/งบลุงทุน ได้ในช่องทางต่างๆทั้งการจัดสรรงบประมาณจากรัฐบาล โดย อพท.ทำหน้าที่ประสานงานตามแผนแม่บทฯการที่หน่วยงานและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการปรับแผนการใช้งบประมาณการที่หน่วยงานและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำแผนงานในงบประมาณตามภารกิจปกติที่สอดคล้องกับแผนแม่บท โดย อพท. จะเป็นผู้สนับสนุนผลักดันการของบประมาณและร่วมกันจัดตั้งกองทุนอนุรักษ์และส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนสำหรับจังหวัดเลย

QA9 เส้นทางสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเลยของพื้นที่พิเศษเลยคืออะไร...? วิสัยทัศน์ของการะพัฒนาพื้นที่พิเศษเลย คือ
ตอบ เป้าหมายของการพัฒนาพื้นที่พิเศษเลยเป็นการบูรณาการภาพลักษณ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวและเป้าหมายในการพัฒนาพื้นที่พิเศษเลยมาสู่ยุทธศาสตร์ซึ่งผลจากการดำเนินงานตามแผนแม่บท และแผนปฏิบัติการพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเลยจะมีส่วนช่วยให้เกิดประโยชน์ต่อการท่องเที่ยวที่สามารถนำมากำหนดเป็นเป้าหมายให้จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.96 ต่อปี โดยมีการเข้าพักเฉลี่ยเพิ่มเป็น 3.53 วัน ภายใต้ขีดความสามารถในการรองรับของพื้นที่และเน้นกลุ่มนักท่องเที่ยเชิงนิเวศส่วนรายได้จากการท่องเที่ยวคาดว่าจะมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 35.6 ต่อปี โดยมีรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มเป็นจำนวน 35,505.56 ล้านบาท ในปี พ.ศ.2565

QA10 จะติดต่อเพื่อมีส่วมร่วมสร้างการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ในพื้นที่พิเศษเลยได้อย่างไร...?
ตอบพื้นที่พิเศษเย มีหน่วยบริหารการพัฒนาและประสานงาน คือ สำนักงานพื้นที่พิเศษเลย (สพพ.5) เพื่อประสานงาน ประสานความร่วมมือระหว่างส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ทั้งนี้ ในการขับเคลื่อนเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องในท้องถิ่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ที่ประกาศเป็นเขตพื้นที่พิเศษทั้ง 9 อำเภอ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการและขับเคลื่อนแผนแม่บทควบคู่ไปกับ อพท. และยังเป็นการถ่ายโอนแนวคิดและแนวทางดำเนินงานอย่างเรียนรู้ร่วมกัน อพท. และจังหวัดเลยรวมทั้งการพัฒนาเครือข่ายภาคีการพัฒนาเพื่อเป็นกลไก ขับเคลื่อนในระดับพื้นที่เพิ่มเติมในทุกภาคส่วนและทุกระดับ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานพื้นที่พิเศษเลย

สิ่งอำนวยความสะดวก