บ้านคอนสา

ไม่ระบุเวลา

แผนที่การเดินทาง

ติดต่อสอบถาม

ที่อยู่:
-ไม่ระบุ-
โทร:
-ไม่ระบุ-
อีเมล:
-ไม่ระบุ-
เว็บไซต์:
-ไม่ระบุ-
เฟซบุ๊ก:
-ไม่ระบุ-
ไลน์ไอดี:
-ไม่ระบุ-
คอนสา มาจากคำว่า ขอนสา คือมีไม้สารที่ใหญ่มากเกิดอยู่ก่อน ไม้สา เป็นไม้เนื้ออ่อนไม่มีแก่น เปลือกบาง สามารถลอกออกและทำเป็นปอหรือเชือกได้ สมัยโบราณหาเชือกยาก จึงลอกเอาปอหรือเชือกจากไม้สาไปใช้ประโยชน์นานาชนิด ใบมีลักษณะเป็นขนสากๆ ระคายมือ

ประวัติบ้านคอนสา
หมู่ 4 ตำบลเชียงกลม อำเภอปากชม จังหวัดเลย

ความหมายของชื่อหมู่บ้าน
คอนสา มาจากคำว่า ขอนสา คือมีไม้สารที่ใหญ่มากเกิดอยู่ก่อน ไม้สา เป็นไม้เนื้ออ่อนไม่มีแก่น เปลือกบาง สามารถลอกออกและทำเป็นปอหรือเชือกได้ สมัยโบราณหาเชือกยาก จึงลอกเอาปอหรือเชือกจากไม้สาไปใช้ประโยชน์นานาชนิด ใบมีลักษณะเป็นขนสากๆ ระคายมือ

ประวัติความเป็นมาของการตั้งชื่อหมู่บ้าน
บ้านคอนสา ได้ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2475 ได้มีราษฎรอพยพมาจากอำเภอเมืองเลย มาเห็นพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีทรัพยากรธรรมชาติมากมายเหมาะแก่การตั้งที่อยู่อาศัยทำมาหากินจึงรวมตัวกันปักหลักฐานทำมาหากินและมีจำนวนมากเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนได้มีการตั้งเป็นหมู่บ้านขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2475 เป็นต้นมามีผู้ใหญ่บ้านคนแรกคือนายยา ดาหอม

ลักษณะที่ตั้งของหมู่บ้าน
บ้านคอนสา หมู่ที่ 4 ตำบล เชียงกลม ตั้งอยู่ทางทิศใต้ ของอำเภอปากชม ห่างจากอำเภอปากชมประมาณ24 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดเลย ประมาณ 70 กิโลเมตร พื้นที่ของหมู่บ้านทั้งหมด ประมาณ 5,000 ไร่

ลักษณะภูมิประเทศ / ลักษณะพื้นที่ของหมู่บ้าน
เป็นพื้นที่ภูเขาสลับซับซ้อนรอมรอบหมู่บ้าน สลับกับพื้นที่ราบเชิงเขาเล็กน้อย เพื่อเป็นพื้นที่ทำการเกษตรไร่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำประหลัง และถั่วต่างๆ มีลำห้วยต่างๆ ไหลผ่านพื้นที่การเกษตรและ ในหมู่บ้าน

อาณาเขตติดต่อของหมู่บ้าน
ทิศเหนือ ติดกับบ้านห้วยนา หมู่ที่ 5ตำบลเชียงกลม อำเภอปากชม
ทิศใต้ ติดกับบ้านสาธร หมู่ที่ 10ตำบลเชียงกลม อำเภอปากชม
ทิศตะวันออก ติดกับบ้านนาแค หมู่ที่ 3ตำบลนาแค อำเภอน้ำโสม
ทิศตะวันตก ติดกับบ้านปางคอม หมู่ที่ 6ตำบลเชียงกลม อำเภอปากชม

ผู้นำชุมชน
1. นายวีระศักดิ์ จันทะแพง (อดีตผู้ใหญ่บ้าน)
2. นายสุทธิศักดิ์ จุตตะโน ผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน

สถานที่ท่องเที่ยวของหมู่บ้าน
อ่างเก็บน้ำห้วยเมี่ยง เป็นอ่างเก็บน้ำ มีน้ำไหลมาตกเป็นแอ่งลึกอยู่ที่ห้วยเมี่ยง (เมี่ยงเป็นพันธุ์ไม้ที่คนนิยมเอาใบอ่อนมากินกับเครื่องปรุงหลายอย่างเรียกว่า เมี่ยง)ผาน้ำย้อย เป็นผาน้ำไหลตกจากหินขนาดใหญ่สูงชัน ประมาณ 8 – 10 เมตร น้ำไหลย้อยตลอดปี

ประเพณี / วัฒนธรรม
วัฒนธรรมตามประเพณีทั่วไป เช่น บุญกฐิน บุญมหาชาติ บุญบั้งไฟ บุญออกพรรษา และการปฏิบัติตามพระพุทธศาสนา



ข้อมูลจาก ประวัติศาสตร์หมู่บ้านและชุมชนในจังหวัดเลย อำเภอปากชม โดย กศน.อำเภอปากชม จังหวัดเลย โครงการหนังสือสามัญประจำบ้าน สำนักงาน กศน. จังหวัดเลย พ.ศ.2553

สิ่งอำนวยความสะดวก