บ้านวังน้ำเย็น

ไม่ระบุเวลา

แผนที่การเดินทาง

ติดต่อสอบถาม

ที่อยู่:
-ไม่ระบุ-
โทร:
-ไม่ระบุ-
อีเมล:
-ไม่ระบุ-
เว็บไซต์:
-ไม่ระบุ-
เฟซบุ๊ก:
-ไม่ระบุ-
ไลน์ไอดี:
-ไม่ระบุ-
แต่เดิม หมู่บ้านนี้ว่า “ บ้านน้อยวังเดือนห้า ” หรือ “ บ้านน้ำสร้างแซ่บ ” ต่อมาได้ตั้งชื่อหมู่บ้านให้ใหม่ว่า “ บ้านวังน้ำเย็น ”

ประวัติบ้านวังน้ำเย็น
หมู่ที่ 11 ตำบลวังสะพุง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน
เมื่อปี พ.ศ. 2517 ตั้งแต่ซอยกิ่งโพธิ์ทอง มีโรงงานทำอั้งโล่ โดยนายสำเริง บุญเรือง ฝั่งตรงข้ามมีบ้านนายบัวเรียน พลซา จนมาถึงหลักกิโลเมตรที่ 1 มีบ้านนายเสถียร ปัญญา นายมิ่น ลีกระจ่าง นางจันทร์ ละบุญมี นายกงพัด กองสิงห์ นายเริญ พลซา นายพีระชัย มูลเจริญพร นายดต เบียดนอก นายแก้ว คูณอ่ำ นายกงทอง โสภากุล และนายน้อย นาลา ถนนผ่านหมู่บ้านเป็นถนนลูกรัง กว้างประมาณ 5.00 เมตร ฤดูแล้งฝุ่นฟุ้งกระจาย ฤดูฝนเป็นโคลนตม เป็นหลุ่มเป็นบ่อ สภาพพอไปมาหาสู่กันได้ สภาพหมู่บ้านเป็นนา สวน และไร่ มีบ่อน้ำตื้น แทบทุกหลังคาเรือนได้ใช้อุปโภคและบริโภค สามารถนำมาใช้ทำการเกษตรได้ตลอดปี แม้แต่หน้าแล้งอย่างเดือนห้า หมู่บ้านก็มีน้ำกิน – น้ำใช้ ไม่เคยเหือดแห้งชาวบ้านอื่นๆ จึงเรียกหมู่บ้านนี้ว่า“ บ้านน้อยวังเดือนห้า ” หรือ “ บ้านน้ำสร้างแซ่บ ” ( น้ำสร้างเป็นภาษาถิ่นทางอีสาน แปลว่า บ่อน้ำ )
ต่อมามีการปรับถนนสายวังสะพุง – สานตม – ภูเรือ เป็นถนนรังมาตรฐานแบ่งหมู่บ้านออกเป็น 2 หมู่บ้าน คือ ด้านทิศเหนือของถนนเป็นหมู่ที่ 6 บ้านนาหลัก ทางทิศใต้ของถนนเป็นหมู่ที่ 8 บ้านศรีบุญเรือง

การขยายตัวของหมู่บ้านทั้ง 2 หมู่บ้าน เป็นไปอย่างรวดเร็วจำนวนหลังคาเรือนและประชากรได้เพิ่มขึ้นตามความยาวทั้งสองฟากถนน เมื่อต้นปี พ.ศ. 2528 นายณรงค์ ประจันตะเสน ทำบุญบ้านได้นิมนต์พระครูรังสิต เจ้าอาวาสวัดศรีบุญเรืองมาเจริญพระพุทธมนต์ ท่านได้ตั้งชื่อหมู่บ้านให้ใหม่ว่า “ บ้านวังน้ำเย็น ” ตามสภาพภูมิประเทศและมีความอุดมสมบูรณ์ มีน้ำเย็นตามธรรมชาติ และมีบ่อน้ำให้ชาวบ้านตักไปเร่ขายได้ตลอดปี และเริ่มเรียกชื่อนี้ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ปลายปี พ.ศ. 2528 คุณตากลิ้ง ประเสริฐ ได้ตัดถนนผ่านที่นาเข้าไปบรรจบถนนทางเดินแล้วเริ่มก่อสร้างวัดจำแลงธรรมมาราม และถนนซอยนี้จึงมาชื่อว่า สุขประเสริฐเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2530 ทางราชการได้อนุมัติแบ่งแยกหมู่บ้านและใช้ชื่อว่า หมู่บ้านวังน้ำเย็น เป็นหมู่ที่ 16 โดยมีนายประยูร ออมสิน เป็นผู้ใหญ่บ้าน ต่อมาปรับเปลี่ยนเป็นหมู่ที่ 11 จนมาถึงปัจจุบันเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2548 ทางราชการได้อนุมัติให้แบ่งแยกหมู่บ้านใหม่อีกเป็นหมู่บ้านเขตอุดมศักดิ์ หมู่ที่ 13 มีนางมะลิ พลซา เป็นผู้ใหญ่บ้าน แล้วชาวบ้านวังน้ำเย็นได้เลือกผู้ใหญ่บ้านใหม่ได้ นายคำเตียง ภูเดช

ที่ตั้ง
บ้านวังน้ำเย็น ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอเมืองเลย ห่างจากอำเภอเมืองเลย 20 กิโลเมตร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอวังสะพุง ห่างจากที่ว่าการอำเภอวังสะพุง 3 กิโลเมตร

อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านกกเกลือ ตำบลปากปวน
ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านนำเจริญ ตำบลวังสะพุง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านนาหลักและบ้านศรีบุญเรือง ตำบลวังสะพุง
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านเขตอุดมศักดิ์ ตำบลวังสะพุง

เนื้อที่
บ้านวังน้ำเย็นมีพื้นที่โดยประมาณ 5.25 ตารางกิโลเมตร

ประชากร
บ้านวังน้ำเย็นมีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 290 ครัวเรือน มีประชากรทั้งสิ้น 1,070 คน แยกเป็นประชากรชาย 537 คน ประชากรหญิง 533 คน

ขนบธรรมเนียมประเพณี
บ้านวังน้ำเย็นมีวัดในหมู่บ้าน คือวัดจำแลงธรรมมาราม ประชากรส่วนใหญ่ใช้วัดเป็นสถานที่ทำบุญประเพณี ที่สำคัญคือ การขอรดน้ำขอพรจากผู้สูงอายุ ทำบุญบ้าน ( บุกเบิกบ้าน ) งานบุญนี้จะทำทุกช่วงปีในช่วงเดือน 6 ของทุกปี เป็นการเซ่นไหว้หลวงปู่ดำ

ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญ
ด้านการเกษตร
นายสำเริง บุญเรือง ( ด้านการปรับใช้เทคโนโลยี )
นายพีระชัย มูลเจริญพร ( ด้านการเลี้ยงสัตว์ ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยหมัก )
นายวิชัย สุขชารี ( ด้านการเลี้ยงสัตว์ปีก )
นายสุภี เดือนขุนทด ( ด้านการเลี้ยงสัตว์ปีก )
ด้านอุตสาหกรรมและหัตถกรรม

1. นายสำเริง บุญเรือง ( ผลิตเตาอั้งโล่ )
2. นายสิทธิชัย ภูใบ ( ผลิตเฟอร์นิเจอร์ไม้ )
3. นายน้อย นาลา ( ด้านการสานแห )
4. นายสมควร ประเสริฐ ( ด้านการจักสาน )
ด้านการแพทย์แผนไทย

1. นายเสถียร ปัญญา ( ด้านการนวดแผนไทย )
2. นายกลิ้ง ประเสริฐ ( ด้านยาสมุนไพร )
3. นายบุญน้อม สนธิมูล ( ด้านเป่าถอนพิษสัตว์ )
4. นางสุกัน นวลมะขาม ( ด้านนวดแผนไทย )
5. นางลุน รัตนอุดม ( ด้านนวดแผนไทย )

ด้านศาสนาประเพณี
นายอ่อน พลซา ( หมอทำขวัญ – บุญประเพณี – โหราศาสตร์ )

ด้านศิลปกรรม/ภาษาและวรรณกรรม
1. นางคำเตียง ภูเดช ( ด้านการละเล่นพื้นบ้าน,หมอลำ )
2. นายสง่า กำจัด ( ด้านการแสดงดนตรีร่วมสมัย )
3. นายสำรวย มีทอง ( ด้านการละเล่นพื้นบ้าน,หมอแคน )
4. นายวิชัย สุขชารี ( ด้านการละเล่นพื้นบ้าน,หมอแคน )


ข้อมูลจากประวัติศาสตร์หมู่บ้านและชุมชนในจังหวัดเลย อำเภอวังสะพุง โดย กศน.อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย โครงการหนังสือสามัญประจำบ้าน สำนักงาน กศน. จังหวัดเลย

สิ่งอำนวยความสะดวก