บ้านวังสะพุง

ไม่ระบุเวลา

แผนที่การเดินทาง

ติดต่อสอบถาม

ที่อยู่:
-ไม่ระบุ-
โทร:
-ไม่ระบุ-
อีเมล:
-ไม่ระบุ-
เว็บไซต์:
-ไม่ระบุ-
เฟซบุ๊ก:
-ไม่ระบุ-
ไลน์ไอดี:
-ไม่ระบุ-
ชื่อของบ้านวังสะพุงได้มีคำบอกเล่าสืบกันมาว่าเป็นการรวมกันของคำว่า “ วัง ” รวมกับคำว่า “ สะพุง ” ซึ่งเป็นชื่อของต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่งที่ขึ้นอยู่ใกล้บริเวณวังน้ำวนนั้นจึงเรียกว่า “ บ้านวังสะพุง ”

ประวัติบ้านวังสะพุง
หมู่ที่ 9 ตำบลวังสะพุง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย

ประวัติความเป็นมา
ท่านเจ้าพระยาศรีสงคราม รณฤทธิ์ ( เจ้าพ่อศรีสงคราม ) ได้เดินทางมากับนายโส เดินทางขึ้นตามแม่น้ำเลยไปเรื่อยๆ จนมาถึงวังน้ำวนจึงได้หยุดพัก และที่ตรงใกล้ๆวังน้ำวนนั้นมีต้นสะพุงต้นหนึ่งใหญ่ประมาณ 7 คน กางแขนโอบรอบได้พอดี ตรงที่มีต้นสะพุงต้นใหญ่อยู่นั้น ปัจจุบันนี้คือเป็นที่ตั้งของวัดศรีชมชื่น ท่านเจ้าพระยาศรีสงคราม รณฤทธิ์ ( เจ้าพ่อศรีสงคราม ) ได้ปรึกษากับนายพรานโสว่า ตรงนี้ร่มรื่นดี สมควรจะตั้งหลักแหล่งอยู่ตรงนี้ เพราะว่าตามที่เดินผ่านมาแรมวัน แรมคืน แรมเดือนนั้นไม่เห็นตรงไหนที่จะร่มรื่นน่าอยู่เหมือนกับที่ต้นสะพุงใหญ่อยู่ ทั้งสองท่านก็ลงความเห็นกันว่าเหมาะสมที่จะตั้งเป็นบ้านเมืองได้ ก็ได้มาตั้งหลักฐานอยู่ที่ศาลเจ้าพ่อศรีสงคราม ชื่อของบ้านวังสะพุงได้มีคำบอกเล่าสืบกันมาว่าเป็นการรวมกันของคำว่า“ วัง ” รวมกับคำว่า “ สะพุง ” ซึ่งเป็นชื่อของต้นไม้ใหญ่ต้นหนึ่งที่ขึ้นอยู่ใกล้บริเวณวังน้ำวนนั้นจึงเรียกว่า“ บ้านวังสะพุง ”

อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านเลิง
ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านปากเป่ง
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านบุ่งไล่กับบ้านฟากเลย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านบุ่งคล้า

การคมนาคม
บ้านวังสะพุง หมู่ที่ 9 เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลวังสะพุง ห่างจากอำเภอวังสะพุง 200 เมตร ในการเดินทางมีรถสามล้อเครื่อง, จักรยาน, มอเตอร์ไซต์ หรือจะเดินไปก็ไม่ไกลไม่ไกลสถานีขนส่งผู้โดยสาร ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 500 เมตร

แหล่งน้ำที่สำคัญ
บ้านวังสะพุง หมู่ที่ 9 มีแหล่งน้ำที่สำคัญคือ แม่น้ำเลยซึ่งถือว่าเป็นแม่น้ำสายหลักเหมือนเส้นเลือดใหญ่ ซึ่งชาวบ้านได้ใช้เฉพาะหน้าแล้งเป็นแหล่งปลูกผักของคนชุมชน ซึ่งทั้งเป็นการปลูกไว้บริโภค เหลือก็จะจำหน่ายให้แก่คนในชุมชนใกล้เคียง

ประชากร
บ้านวังสะพุง หมู่ที่ 9 มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 519 ครัวเรือน มีประชากรทั้งสิ้น 1,571 คน แยกเป็นประชากรชาย 754 คน ประชากรหญิง 817 คน
ขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมประเพณีต่างๆในหมู่บ้านซึ่งประกอบไปด้วยประเพณีแห่ต้นดอกไม้สด, ประเพณีแห่ต้นดอกไม้เครื่อง, ประเพณีสงกรานต์, ประเพณีลอยกระทง, ประเพณีข้าวประดับดิน, ประเพณีบุญมหาชาติ, ประเพณีบุญสลากพัตร, ประเพณีบุญบั้งไฟ, ประเพณีออกพรรษา, ประเพณีศาลาเจ้าพ่อศรีสงคราม, ประเพณีเข้าพรรษา, ประเพณีสูตรมุงคุณบ้าน, ประเพณีรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ, ประเพณีขึ้นปีใหม่

ภูมิปัญญาท้องถิ่น/ปราชญ์ชาวบ้าน
ด้านการแพทย์แผนไทย/สมุนไพร/หมอพื้นบ้าน ได้แก่
- นายอาภา เพียปาน
- นายไพรทูรย์ พลซา
- นางประยูร ไทยเหนือ
- นางแก้ว กำคำภา
ด้านอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม/ประเพณีท้องถิ่น/พิธีทางศาสนา ได้แก่
- นายยศ นามวงษา
- นายผัน แสนชาติ
- นายพัง พรมเมือง
- นายสิงห์ พรหมมาศ
- นายอินถา ผงบุญตา
ด้านการบายศรีสู่ขวัญ/การทำพานบายศรี ได้แก่
- นางแบ่ง นามวงษา
- นางสมถวิล วงศ์สมบัติ
- นางสมพิศ แสนชาติ
- นางบานเย็น สิงห์ทองลา
ด้านการเป่าแคน
- นายสุบิน บังใบ
ด้านความรู้ทางการเกษตร ( การเพาะปลูก ขยายพันธุ์ การใช้เทคโนโลยี )
- นายหัสชัย บุญชู
ด้านการถนอมอาหาร ได้แก่
1. นางไพรี คำนุชิด
2. นางคำเว้น สารบุญ
3. นางหนูพับ ศรีสุข
4. นางสุดาพร ฟองสังข์
5. นางคำพัน บัวทิน

ผลิตภัณฑ์ที่สำคัญของหมู่บ้าน
น้ำพริกผัดชาววังแม่ไพศรี และผ้าห่ม หมอนที่ปิกนิคและผ้ากันเปื้อนของชุมชน บ้านวังสะพุง 2 น้ำพริกชุมชนบ้านวังสะพุง 1 และน้ำจิ้มสุกี้ของชุมชนบ้านวังสะพุง 1 ผ้าม่าน ผ้าปูโต๊ะ ผ้าปูที่นอน ผ้ากันเปื้อนของชุมชนวัดศรีชมชื่น ไม้ถูบ้าน ไม้กวาดทางมะพร้าวของชุมชนบ้านวังสะพุง 2


ข้อมูลจากประวัติศาสตร์หมู่บ้านและชุมชนในจังหวัดเลย อำเภอวังสะพุง โดย กศน.อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย โครงการหนังสือสามัญประจำบ้าน สำนักงาน กศน. จังหวัดเลย

สิ่งอำนวยความสะดวก