บ้านห้วยปลาฝา

ไม่ระบุเวลา

แผนที่การเดินทาง

ติดต่อสอบถาม

ที่อยู่:
-ไม่ระบุ-
โทร:
-ไม่ระบุ-
อีเมล:
-ไม่ระบุ-
เว็บไซต์:
-ไม่ระบุ-
เฟซบุ๊ก:
-ไม่ระบุ-
ไลน์ไอดี:
-ไม่ระบุ-
ห้วย หมายถึง ลำน้ำ แอ่งน้ำที่ไหลผ่านจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำเรียกว่า (ลำห้วย) ปลาฝา หมายถึง สัตว์น้ำชนิดหนึ่งซึ่งคล้ายเต่า และหมู่บ้านแห่งนี้มีหินก้อนใหญ่ก้องหนึ่งอยู่ข้างลำน้ำคล้ายสัตว์ชนิดหนึ่ง คือ ปลาฝา เลยเรียกว่า บ้านห้วยปลาฝา

ประวัติบ้านห้วยปลาฝา
หมู่ที่ 3ตำบลนาดี อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย

ความหมายของชื่อหมู่บ้าน
ห้วย หมายถึง ลำน้ำ แอ่งน้ำที่ไหลผ่านจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำเรียกว่า (ลำห้วย)
ปลาฝา หมายถึง สัตว์น้ำชนิดหนึ่งซึ่งคล้ายเต่า และหมู่บ้านแห่งนี้มีหินก้อนใหญ่ก้องหนึ่งอยู่ข้างลำน้ำคล้ายสัตว์ชนิดหนึ่ง คือ ปลาฝา เลยเรียกว่า บ้านห้วยปลาฝา
ประวัติความเป็นมาของการตั้งชื่อหมู่บ้าน

สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ประมาณปีพุทธศักราช 2100 -2128 ซึ่งอยู่ระหว่าง สมัยสมเด็จพระมาจักรพรรดิ มีพระนามเดิมว่า พระเฑียรราชา หรือเรียกชื่อหนึ่งว่า พะเจ้าช้างเผือก พระเจ้ากรุงหงสาวดีของพม่า คือ พระเจ้าบุเรงนองได้ยกทัพมาตี กรุงศรีอยุธยา ไทยต้องยอมเสีย ช้าง เสียพระนเรศวร พระยาจักรี และพระสุนทรสงคราม ให้แก่พม่าเพื่อยอมเป็นไมตรี ประกอบกับประเทศลาว ประเทศเขมร ต้องการขยายอาณาเขตให้กว้างใหญ่ไพศาล เพื่อที่จะสร้างอำนาจ และมีที่ทำมาหากิน เป็นหลักฐานที่มั่นคงแก่อาณาเขตตนเอง และกลุ่มที่ได้รับความเดือนร้อน คือพวกมอญ และย่อได้ถูกพวกพม่ารุกราน จำต้องหลบหนีมาพึ่งไทย ในการทำสงครามการล่าเมืองในครั้งนั้นได้มีชนชาติหลายเผ่าหลายเชื้อสายไม่ว่า ลาว ญวน และพวกย่อ ได้พากันหลบหนีภัยสงครามหาแหล่งหลบไม่ชอบความวุ่นวายจึงเร่รอนมาแสวงหาถิ่นที่อยู่อาศัยใหม่ บางกลุ่มก็มาทำไร่เลื่อยลอยกระจายตามกลุ่มหลังเขา หุบเขาบางกลุ่มก็มาทำการล่าสัตว์ บางกลุ่มก็มาค้าขาย ทำให้บุคคลเหล่านั้นได้เห็นภูมิประเทศ มีทำเลที่เหมาะสมแก่การปลุกสร้างบ้านเรือนและเหย้าประกอบอาชีพอยู่บนหลังเขาทั้งสองด้าน ได้แก่ ด้านทิศตะวันออก และด้านทิศตะวันออกจะมีกลุ่มบ้านเหย้าเรือนมากกว่า ด้านทิศตะวันตก กล่าวถึงกลุ่มบ้านเก่าด้านทิศตะวันออกจะมีบ้านตามสันเขาและหุบเขาปลูกเป็นบ้านเป็นเหย้า ไว้เป็นกลุ่มเล็ก ๆ กลุ่มละ 2 – 3 หลังคาเรือนตามญาติพี่น้องของตนเอง ซึ่งมีชื่อตามหมู่บ้าน ดังนี้ บ้านเก่าห้วยเซิม บ้านเก่าห้วยข้าวหลาม บ้านเก่าห้วยสะหงั่ว และบ้านเก่าลาดกอยสำหรับหลังเขาด้านทิศตะวันตกนั้น มีชื่อ กลุ่มบ้านเก่าแก่วกกข่า บ้านเก่าห้วยมุม บ้านเก่าห้วยเฮีย ห้วยเทาและห้วยหาด ต่อมาชาวบ้านบนหลังเขาได้รับภาวะอากาศเป็นพิษ ทำให้ผู้คนเกิดโรคระบาดติดต่อกันอย่างมากประกอบกับสัตว์ป่า จำพวก เสือ ช้าง และหมี เข้ามารบกวนเป็นประจำทำให้ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน ต่างก็พากันอพยพหลบหนีภัย แตกกระจายจากหลังเขาลงมาที่ลุ่มเชิงเขาฝั่งทางทิศตะวันออกของริมฝั่งแม่น้ำหมันเพื่อมาแสวงหาที่อยู่ใหม่ และบริเวณนี้ มีทำเลดี เหมาะแก่การปลูกสร้างบ้านเรือนโดยเฉพาะเป็นที่ราบลุ่ม ทำไร่ ทำนา ประกอบอาชีพการเกษตร เลี้ยงครอบครัวได้อย่างดี จึงพากันสร้างบ้านเรือนปักหลัก ปักฐานอยู่ริมฝั่งของแม่น้ำหมันนี้
ปีพุทธศักราช 2129 สมัยผู้ใหญ่คนที่หนึ่ง ได้แก่ ขุนแสนสุวอ ศรีบุตรตา ได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้านคนหนึ่ง ของหมู่บ้านห้วยปลาฝา ปกครองลูกบ้านเป็นเวลาประมาณ 86 ปี ในสมัยนั้น หมู่บ้านอยู่ริมฝั่งนี้ทางด้านทิศตะวันออก ผู้ใหญ่บ้าน ได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านใหญ่” และได้ร่วมกับชาวบ้านสร้างวัดบ้านใหญ่ขึ้น เพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน โดยมีพุทธศาสนาแหล่งการศึกษาและวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม ประชาชนมีความรัก ความสามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ซึ่งกันและกันอย่างสงบสุข กล่าวถึงวัดบ้านใหญ่ มีเจ้าอาวาสรูปแรก คือ เจ้าหัวพ่อคำพา และเจ้าอาวาสรูปสุดท้ายของวัดใหญ่นี้คือ หลวงพ่อฮอง มีประชาชนในหมู่บ้านเลื่อมใสศรัทธา และบวชเป็นพระเป็นเณรมากมาย
ปีพุทธศักราช 2215 สมัยผู้ใหญ่บ้านคนที่สองชื่อว่า ขุนสรอุดร ศรีบุตรตา ตำรงตำแหน่งประมาณ 50 ปี ท่านปกครองลูกบ้านด้วยความเป็นธรรมและได้ร่วมกับชาวบ้านพัฒนาบ้านเมืองหลายประการมีผลงานที่ปรากฏดังต่อไปนี้ ท่านมีวิสัยทัศน์ที่ก้าวไกลมองสภาพลักษณะปัญหาพื้นที่ ที่ตั้งหมู่บ้านเป็นที่ลุ่มต่ำในฤดูฝนมักเกิดอุทกภัยน้ำท่วมอยู่เสมอ สร้างความรำคาญให้กับชาวบ้านเป็นประจำ ชาวบ้านต้องรับความเดือดร้อนหาพื้นที่สูงเพื่อหลับภัยจากภัยน้ำท่วมอยู่เสมอทุกปีท่านจึงชักชวนย้ายที่อยู่ใหม่จากฝั่งทิศตะวันออกของบ้านใหญ่ ข้ามแม่น้ำหมัน ไปอยู่ตรงข้ามทางด้านทิศตะวันตก เพราะสภาพลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบสูงในฤดูฝนน้ำท่วมไม่ถึง เหมาะแก่การสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัยเป็นอย่างมากจึงพากันอพยพข้ามมาอยู่แทบทุกครัวเรือน
ปีพุทธศักราช 2295 สมัยผู้ใหญ่บ้านคนที่สามมีชื่อว่า แสนศรีสมบัติ ศรีบุตรตา ตำรงตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้านมาเป็นเวลาประมาณ 73 ปี มีผลงานที่ปรากฏดังนี้ ทางร่วมกับประชาชนในหมู่บ้านพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้า จะเห็นได้จากความเพียรพยายามที่พาลูกบ้านอพยพย้ายจากบ้านใหญ่ฝั่งทางด้านทิศตะวันออกของแม่น้ำหมัน ข้ามมาอยู่ฝั่งทิศตะวันตกอย่างจริงจัง จนทำให้บ้านใหญ่ต้องเป็นบ้านร้างและท่านได้ร่วมกับคณะกรรมการผู้นำหมู่บ้านและชาวบ้านตั้งชื่อหมู่บ้านใหม่ว่า “บ้านหินปลาฝา” ซึ่งได้รับขนานนามมาจาก ก้อนหินใหญ่ที่มีรูปร่าง ลักษณะ เด่นคล้ายปลาฝา เป็นอย่างมาก (ปลาฝาเป็นภาษาท้องถิ่น) ภาไทยเรียกว่า “ตะพาบน้ำ” นอนอยู่ริมฝั่งแม่น้ำหมันทางด้านทิศเหนือของหมู่บ้าน ปัจจุบันตรงกันกับท้ายบ้านเรียกว่า “นาน้อย” เจ้าของนาน้อย นั้นชื่อ คุณยายทองใส ราชพรหมมา หรือ ยายกุ่มนั่นเอง จุดบริเวณทีเรียกหินปลายฝาอยู่หางจากจุดกิ่งกลางของหมู่ของหมู่บ้านประมาณ 400 เมตร ซึ่งหินก้อนใหญ่รูปร่างลักษณะรูปร่างลักษณะคล้ายปลาฝานี้ชาวบ้านร่วมกันตั้งชื่อตามรูปร่างลักษณะของหิน ซึ่งเป้นความเชื่อน่าจะเป็นศิริมงคลแก่หมู่บ้านตลอดไป
ปีพุทธศักราช 2368 สมัยผู้ใหญ่บ้านคนที่สี่ชื่อว่า นายสุ้ม ศรีบุตรตา ตำรงตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้านมาเป็นเวลา 80 ปี มีผลงานปรากฏโดยได้พัฒนา หมู่บ้านหลายด้านด้วยกันเป็นต้นว่าด้านอาคารสถานที่วัดวาอาราม และด้านการศึกษาได้ชักชวนคณะกรรมการ และชาวบ้านปลูกสร้างวัดขึ้นใหม่ใกล้บริเวณริมฝั่งแม่น้ำหมัน ทางด้านทิศตะวันตกห่างจากลำห้วยแม่น้ำหมัน ประมาณ 100 เมตร ลักษณะพื้นที่เป็นเนินที่ราบสูง น้ำท่วมไม่ถึงบรรยากาศดี ตั้งชื่อวัดนี้ว่า”วัดโพนงามบ้านหินปลาฝา” มีเจ้าอาวาสวัดรูปแรกของวัดนี้คือ หลวงพ่อเจ็ดบัก (คำว่าเจ็ดบัก หมายถึง หลวงพ่อถูกโจรปล้นถูกดาบและมีดฟันเป็นรอยแผลถึงเจ็ดแผลด้วยกัน จึงขนานว่า หลวงพ่อเจ็ดบัก) ต่อมาในปี 2440 ได้ก่อสร้างและต่อเติมกุฏิให้กว้างใหญ่ เพื่อให้ชาวบ้านและลูกหลานในหมู่บ้านได้บวชเรียนหนังสือ เพื่อศึกษาหาความรู้และประสบการณ์จากวัดเป็นอย่างดี
ปีพุทธศักราช 2458 สมัยผู้ใหญ่บ้านคนที่ห้า ชื่อว่า นายสาร ศรีบุตรตา ได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้านมาเป็นเวลาประมาณ 20 ปี ผลงานที่ปรากฏคือได้ร่วมกับคณะกรรมการหมู่บ้านและชาวบ้านได้ร่วมกันพัฒนาทะนุบำรุงซ่อมแซม วัดวาอารามและหมู่บ้านให้เจริญก้าวหน้าอยู่ดีมีสุโชคโดยทั่วกัน
ปีพุทธศักราช 2478 สมัยผู้ใหญ่บ้านคนที่หก ชื่อว่า นายแลว วังคีรี ได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้านเป็นเวลาประมาณ 4 ปี ในสมัยนี้หน่วยงานราชการได้ส่งข้าราชการครูจากต้นสังกัดมาทำการช่วยพระสงฆ์ สอนนักเรียนอยู่ที่วัดเพื่อให้การศึกษาวิชาการด้านความรู้ที่ดี ที่ถูกต้องตามหลักสูตรของกรทรวง ครูใหญ่คนแรกที่มาทำการบริหารจัดการสอน นั้นคือนายหนูหลี่ พรหมรักษา เปลี่ยนชื่อใหม่ว่า นายมานพ พรหมรักษา ส่วนครูผู้ที่ปฏิบัติการสอน นั้นคือ นางสว่างจิต เชื้อบุญจันทร์ และนางก้านตอง กาจนโกมล
ปีพุทธสักราช 2482 สมัยผู้ใหญ่บ้านคนที่เจ็ด ชื่อว่า นายวัง ศรีบุตรตา ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้านมาเป็นเวลาประมาณ 10 ปี ผลงานที่ปรากฏผู้ใหญ่บ้านได้ร่วมกับคณะกรรมการหมู่บ้านและชาวบ้านพัฒนาบ้านวัดให้เจริญขึ้นประกอบกับสมัยนี้ รัฐบาล หน่วยงานราชการได้จัดสรรงบประมาณมาสร้างโรงเรียนให้กับหมู่บ้านเพื่อเป็นศูนย์สถานศึกษาพัฒนาความรู้ในด้านวิชาการตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ เน้นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้นักเรียนแยกจากวัด ไปเรียนหนังสือที่โรงเรียน อย่างชัดเจน ประการสำคัญอีกอย่าง คือผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้านและชาวบ้านหินปลาฝา ได้ร่วมกับหน่วยงานราชการเสนอ เปลี่ยนชื่อหมู่บ้านใหม่ เพื่อให้สอดคล้องเหมาะสมกับลักษณะพื้นที่ตามลำห้วยแม่น้ำหมัน ซึ่งเป็นคำที่สุภาพ จึงเปลี่ยนชื่อจาก บ้านหินปลาฝา เป็นบ้านห้วยปลาฝา ตามลำห้วยแม่น้ำหมันตลอดมา
ปีพุทธศักราช 2492 สมัยผู้ใหญ่บ้านคนที่แปด นายไสว แสงรัตน์ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้านมาเป็นเวลาประมาณ 7 ปี ผลงานที่ปรากฏท่านได้ร่วมกับคณะกรรมการและประชาชนในหมู่บ้านพัฒนา บ้าน วัด โรงเรียน ได้สืบสานตามเจตนารมณ์เพื่อให้หมู่บ้านเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นทัดเทียมกับหมู่บ้านอื่นจึงมุ่งพัฒนาด้านจิตใจ อารมณ์ และสังคม เน้นการทำมาหากิน การทำการเกษตรการปลูกพืชผลให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข
ปีพุทธศักราช 2499 สมัยผู้ใหญ่บ้านคนที่เก้า นายเสงี่ยม ศรีบุตรตา ได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้านมาเป็นเวลาประมาณ 20 ปี ผลงานที่ท่านได้ร่วมกับคณะกรรมการและประชาชนในหมู่บ้าน มีผลงานหลายประการด้วยกัน เพราะว่าท่านมีผู้ปรึกษาเป็นเป็นเจ้าหน้าที่ระดับชั้นผู้ใหญ่ได้แก่ พ.ต.ท. วิรัตน์ ราชพรหมมา ซึ่งท่านเป็นบุคคลสำคัญคนหนึ่งในหมู่บ้านเอง ได้ร่วมกันของบประมาณจากรัฐบาล มาสร้างสะพานข้ามแม่น้ำหมันจากฝั่งทางทิศตะวันตกไปยังบ้านใหญ่ฝั่งทางทิศตะวันออก และได้เห็นความสำคัญของน้ำซับที่ไหลพลุออกมาจากเชิงเขาตลอดเวลา ท่านจึงเสนอโครงการสร้างน้ำประปาจากเชิงเขาทางด้านทิศตะวันออกต่อเข้าหมู่บ้านและในสมัยนั้นนายอำเภอด่านซ้ายชื่อว่า นายจัด สุรเดโช มีความรักและสนิทสนมชอบพอกับพี่น้องชาวบ้านห้วยปลาฝาเป็นอย่างดี ท่านนายอำเภอจึงได้อนุมัติงบประมาณ ของโครงการนี้มาสร้างประปาต่อเข้าหมู่บ้าน เรียกว่าประปาน้ำซับ และสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ.2510 อำนวยความสะดวก สบายให้แก่ประชาชนในหมู่บ้านจนถึงทุกวันนี้
ปี พ.ศ. 2519 สมัยผู้ใหญ่บ้านคนที่สิบ นายโท ศรีบุตรตา ท่านได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้านมาเป็นเวลาประมาณ 25 ปี ผลงานที่ท่านได้ร่วมกับคณะกรรมการและประชาชนในหมู่บ้านพัฒนานี้มีมากมายหลายประการด้วยกัน เพราะเหตุที่ท่านเป็นบุคคลที่มีวิสัยทัศน์ มีคุณธรรม และมีคติประจำใจที่ดี รู้จักผ่อนปรนจากหนักให้เป็นเบา แทบทุกเรื่องและทุกสถานการณ์ ท่านถือว่าเป็นญาติพี่น้องและลูกหลานในหมู่บ้านของท่านเอง ท่าได้สืบสืบสานเจตนารมณ์ ซ่อมแซมทะนุบำรุง สะพาน ประปาน้ำซับสร้างศาลาการเปรียญวัด ได้ส่งเสริมสนับสนุนการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีสืบมา ในปี พ.ศ. 2524 สมัยนี้ยังมีโครงการของรัฐบาลให้กับหมู่บ้านและชาวบ้านได้รับ เช่น โครงการหมู่บ้าน อพป. (อาสาสมัครพัฒนาและป้องกันตนเอง)
ปีพุทธศักราช 2534 สมัยผู้ใหญ่บ้านคนที่สิบเอ็ด นายเจิด ศรีบุตรตา ท่านได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้านประมาณ 3 ปี ผลงานที่ปรากฏได้ร่วมกับคณะกรรมการและประชาชนหมู่บ้านได้ทะนุบำรุงวัดวาอาราม ร่วมพัฒนาหมู่บ้านและโรงเรียนให้มีความเจริญ ท่านมีวิสัยทัศน์และเจตนารมณ์ที่ดีเป็นประโยชน์ต่อท่านญาติพี่น้องและลูกหลานได้ส่งเสริมสนับสนุนทางการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรมและสังคม ในสมัยนี่หน่วยงานราชการได้มีโครงการต่าง ๆ เข้ามาเช่น โครงการ รพช. ขุนลอกสระบุ่งถ่าน โครงการกองทุนสหกรณ์เวชภัณฑ์ยาร้านค้าในหมู่บ้าน โครงการปลูกสวนป่า และโครงการกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์
ปีพุทธศักราช 2537 สมัยผู้ใหญ่บ้านคนที่สิบสอง นายนัด เหมบุรุษ สมัยนี้รัฐบาลปรับเปลี่ยนการปกครองส่วนท้องถิ่นของผู้ใหญ่บ้านและกำนัน จากการดำรงตำแหน่งครบวาระ 60 ปี ตาม พรบ.การปกครอง ส่วนท้องถิ่นมาเป็นครบวาระ 5 ปีเท่านั้น ท่านได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้านมาเป็นเวลาประมาณ 10 ปี 2 สมัย ท่านเป็นบุคคลที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล มีคติประจำใจที่ดี และมีความเป็นประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์ว่าไปตามระบอบประชาธิปไตยของรัฐธรรมนูญการปกครองทุกประการ
ปีพุทธศักราช 2547 สมัยผู้ใหญ่บ้านคนที่สิบสาม นายเจิด ศรีบุตรตา ท่านเป็นบุคคลที่มีความพยายามความตั้งใจ มีวิสัยทัศน์ มีคติประจำใจ และมีความเป็นประชาธิปไตยในระบอบรัฐธรรมนูญเป็นเลิศสมัยนี้ ที่ท่านได้กลับมาดำรงตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้านอีกครั้งเพราะคุณงามความดีที่ท่านได้สะสมไว้ ญาติพี่น้องรอความหวังให้ได้ได้มาปกครอง เพื่อนำพัฒนาหมู่บ้านไดเจริญก้าวไกลทันสมัยต่อยุคโลกาภิวัตน์ มุ่งเน้นการปกครองโดยเป็นธรรม ต่อญาติพี่น้องและลูกหลานทั่วทุก ๆ คน ผลงานที่ปรากฏท่านได้ร่วมกับคณะกรรมการและประชาชนในหมู่บ้านพัฒนาหมู่บ้าน วัด และสนับสนุนด้านการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีและสังคม ได้ร่วมกับประชาชนสร้างศาลาธรรมสังเวช ได้รับงบประมาณ เอส เอ็ม แอล นำมาดำเนินการจัดซื้อปุ๋ยหมุนเวียนและสร้างโรงเก็บปุ๋ยชีวภาพ พัฒนาปรับปรุงสระบุ่งถ่าน ร่วมอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ป่าไม้ ต้นน้ำลำธาร ถานที่สาธารณประโยชน์


สถานที่ท่องเที่ยว
ผาถ้ำก้อง เป็นถ้ำหินกว้างใหญ่อยู่บนภูเขาสูงทางด้านทิศตะวันตก ของหมู่บ้านห่างจากหมู่บ้านเดินตามเส้นทางขึ้นภูเขาไปประมาณ 1.5 กิโลเมตรถ้ำก้อง หมายถึง เสียงที่กองจากภายในถ้ำเมื่อเราส่งเสียงร้องหรือเสียงจากธรรมชาติต่าง ๆ ออกไปเสียงนั้นก็จะดังก้องย้อนกลับให้เราได้ยินทุก ๆ ครั้ง แต่สิ่งมหัศจรรย์ไปกว่านี้และไม่สามารถพิสูจน์ทราบได้ที่ปรากฏขึ้นครั้งสมัยในโบราณ 45 – 50 ปีที่ผ่านมานั้นคือ แก้วสมเด็จ หมายถึง แก้วลูกยามกลางคืนเดือนหงาย ตรงกับคืนวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำผู้คนมักจะพูดเสียงเดียวกันว่าได้ยินเสียงดังสนั่น ซึ่งเป็นเสียงสัญญาณของแก้วที่จะเสด็จออกมาจากปากปล่องถ้ำ และจะเห็นแก้วเสด็จลอยออกอยู่บนท้องฟ้าในคืนนั้น จะลอยข้ามจากภูเขาทิศตะวันตกไปภูภูเขาทางด้านทิศตะวันออก และบางคืนก็เห็นแก้วเสด็จลอยจากภูเขาทางด้านทิศตะวันออกข้ามไปภูเขาทางด้านทิศตะวันตกอยู่เช่นนี้เป็นประจำ การล่องลอยของแก้วเสด็จจะเงียบไม่มีเสียงเหมือนกับดาวเสด็จ แต่ดาวเสด็จนั้นใช้เวลาลอยเพียงระยะเวลาสั้น ๆ ส่วนแก้วเสด็จจะลอยใช้เวลาเดินทางนานและไกลลับตาจนมองไม่เห็น เปรียบประดุจปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เป็นเกร็ดความรู้ที่น่าสนใจ

สิ่งสำคัญที่พบเห็นอยู่ในถ้ำและมีตัวตนสามารถพิสูจน์ได้ จากตำนานที่กล่าวขานมาตั้งแต่สมัยโบราณ ยังมีทรัพย์สิน สมบัติที่มีค่า อยู่มากมายหลายอย่างด้วยกันเป็นต้นว่า มีกระจุมทอง มีนอแรด มีสร้อยคอทองคำ มีกำไลข้อมือ มีเข็มขัด มีตุ้มหู มีไหเงินไหทอง มีฆ้อง กลอง มีฉิ่ง มีฉาบ มีดาบ และหอก ผู้คนสมัยโบราณเมื่อมีบุญใหม่ หรือบุญหลวง (บุญมหาชาติ) มักจะชวนกันนำข้าวตอกดอกไม้ไปบูชาที่ในถ้ำ เพื่อขอยืมทรัพย์สมบัติเหล่านั้นมาประดับตกแต่งให้เกิดความสวยงาม ส่วนฆ้อง กลอง ฉิ่ง ฉาบ ก็นำมาตีเป็นจังหวะอย่างสนุกสนานในบุญหลวง และเสด็จสิ้นงานบุญหลวงแล้ว ชาวบ้านก็จะนำทรัพย์สมบัติที่ยืมมาส่งคืนไว้ในถ้ำตามเดิมทำเช่นนี้ตลอดมา แต่บางคนบางกลุ่มมีใจมิจฉาชีพ ไม่มีความซื่อสัตย์เอาสมบัติในถ้ำมาเป็นของตนเองไม่ยอมส่งคืนถ้ำเลย และประกอบกับกลุ่มบุคคลที่แสวงหาของขลังของราง และทรัพย์สมบัติทีมีคุณค่า จึงติดตามลอยแผนเก่าจากตำนานประวัติวัติศาสตร์โบราณมาขุดรื้อเอาไปหมด เทวดาฟ้าดินและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่คุ้มนครองรักษาอยู่ได้ลงโทษทัณฑ์ให้ปากปล่องถ้ำปิดลงอย่างปาฏิหาริย์ ตั้งแต่บัดนั้นจนถึงปัจจุบันนี้ไม่มีใครเห็นปากถ้ำและเข้าไปในถ้ำได้อีกเลย


ข้อมูลจาก ประวัติศาสตร์หมู่บ้านและชุมชนในจังหวัดเลย อำเภอด่านซ้าย โดย กศน.อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย โครงการหนังสือสามัญประจำบ้าน สำนักงาน กศน. จังหวัดเลย

สิ่งอำนวยความสะดวก