เที่ยวบุญข้าวจี่ ซิมข้าวแดกงา เว้าจาภาษาเลย ณ ลานวัฒนธรรมนาอ้อ เทศบาลตำบลนาอ้อ อ.เมือง จ.เลย 20 - 26 มกราคม 2561

เดือนสามค้อย เจ้าหัวคอยปั้นข้าวจี่ ลมวีวีหนาวสะบั้น จี่ข้าวปั้นเอาบุญสวัสดีครับ วันนี้ Gotoloei
ขอจูงแขนทุกท่าน มาเที่ยวงานบุญข้าวจี่ ซิมข้าวแดกงา เว้าจาภาษาเลย
ณ ลานวัฒนธรรมนาอ้อ เทศบาลตำบลนาอ้อ อ.เมือง จ.เลย 20 - 26 มกราคม 2561
และจะพาทุกท่านมารู้จักกับบุญข้าวจี่ ว่ามีที่มาอย่างไร ต้องติดตามครับ

DSC_0094.jpg

ชาวบ้านนาอ้อยังคงรักษาวิถีชีวิตของชาวบ้านนาอ้อไว้คงเดิม ยังมีบ้านโบราณแบบของชาวนาอ้อหลงเหลืออยู่และพักอาศัยอยู่จริง

และยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของชาวนาอ้อตาม “ฮีต12 คลอง14” ไว้จนถึงปัจจุบันDSC_0065.jpg

เดือนสาม “บุญข้าวจี่” เป็นประเพณีที่ถือว่ามีชื่อเสียงมากของชาวตำบลนาอ้อ นิยมทำกันในราวกลางเดือนหรือปลายเดือนสาม
คือ ภายหลังการทำบุญวันมาฆบูชา ข้าวจี่ คือ ข้าวเหนียวนึ่งให้สุกแล้วนำมาปั้นเป็นก้อนทาเกลือเคล้าให้ทั่ว และนวดให้เหนียวแล้วเสียบไม้ย่างไฟ
DSC_0073.jpg

มูลเหตุที่ทำบุญข้าวจี่ในเดือนสาม คงจะเนื่องจากเป็นเวลาที่ชาวนาหมดภาระในการทำนา ชาวนาได้ข้าวขึ้นยุ้งฉางใหม่จึงอยากร่วมกัน
ทำบุญข้าวจี่ถวายพระสงฆ์ส่วนมูลเหตุดั้งเดิมที่จะมีการทำบุญข้าวจี่มีเรื่องเล่าว่า ในกาลครั้งหนึ่งนางปุณณะทาสี ได้ทำขนมแป้งจี่ถวายแด่
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอานนท์เถระ ครั้นถวายแล้วนางคิดว่าพระองค์คงไม่เสวยและอาจเอาทิ้งให้สุนัขหรือกากิน
เพราะ อาหารที่นางถวายไม่ประณีตน่ารับประทาน เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบ ภาวะจิตของนางปุณณะทาสี จึงรับสั่งให้พระอานน์ปูลาดอาสนะแล้วทรงประทับนั่งฉันท
ณ ที่นางถวายนั้น เป็นผลให้นางเกิดปิติยินดีเป็นอย่างยิ่งและเมื่อนางได้ฟังพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงก็บรรลุโสดาบันปัตติผล
ด้วยอานิสงส์ที่ถวายขนมแป้งจี่ ชาวอีสานทราบอานิสงส์ของการทานดังกล่าวจึงพากันทำข้าวจี่ถวายทานแด่พระสงฆ์สืบต่อมา DSC_0071.jpg

การปฏิบัติในงานประเพณีบุญข้าวจี่
เมื่อทางวัดและทางบ้านกำหนดวันทาบุญเรียบร้อยแล้ว ชาวบ้านจะไปเตรียมหาไม้ไผ่สาหรับเสียบข้าวจี่
เมื่อถึงวันทาบุญก็จะเอาไม้เสียบและฟืนที่เตรียมไว้สาหรับทาบุญข้าวจี่ไปรวมกันที่วัด เมื่อก่อไฟจนเป็นถ่านดีแล้วชาวบ้านแต่
ละคนเอาข้าวเหนียวทาเป็นปั้นโรยเกลือและเคล้านวดให้เข้ากันจนข้าวมีลักษณะเหนียว กะจานวนให้ครบพระภิกษุสามเณร
ในวัดเสียบไม้ปิ้งไฟหรือย่างบนกองไฟจวนสุกทาไข่ให้ทั่วแล้วปิ้งต่อไปจนไข่เหลือง บางแห่งเมื่อปิ้งเสร็จเอาน้ำอ้อยปึกยัดไส้ด้วย
(น้ำอ้อยอาจเอายัดไส้ก่อนปิ้งไฟก็ได้) หรือจะไม่ใส่น้าอ้อยก็ได้ จึงจัดอาหารคาวหวานและข้าวจี่มารวมกันที่ศาลาวัด
นิมนต์พระภิกษุและสามเณรในวัดทั้งหมดมารับถวายทาน ข้าวจี่หากไม่มารวมกันทาที่วัด DSC_0067-2.jpg

ชาวบ้านอาจต่างคนต่างทามาจากที่บ้านของตนโดยเสร็จแล้วต่างนาข้าวจี่มาที่วัดก็ได้ พิธีถวายมีการกล่าวคาบูชาดอกไม้ กราบไหว้พระรัตนตรัย รับศีล พระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ ตักบาตรถวายข้าวจี่แล้วยกไปถวายพระภิกษุสามเณรพร้อมอาหารคาวหวานก่อนยกไปถวายมีการกล่าวคาถวายข้าวจี่อีกด้วย
DSC_0043.jpg

กิจกรรมที่น่าสนใจในงาน การจัดซุ้มแสดงวิถีชีวิตของชุมชนตำบลนาอ้อ พร้อมบริการข้าวจี่ข้าวแดกงา ฟรีตลอดงาน การประกวดเทพีข้าวจี่
ประกวดร้องสรภัญญะ การแข่งขันการละเล่นพื้นบ้าน การแข่งขันชกมวยไทย และหมอลำเรื่องต่อกลอน พร้อมมหรสพตลอดคืน
DSC_0166.jpg

นอกจากนี้ในงานประเพณีบุญข้าวจี่ ได้มีการจัดมหกรรมเทศกาลอาหาร สะอาด รสชาติอร่อย ให้ผู้ร่วมงานได้เลือกซื้อรับประทานอาหารมากมาย
ไม่ว่าจะเป็นอาหารพื้นบ้านของชาวตำบลนาอ้อ ข้าวจี่ข้าวแดกงา อาหารไทย อาหารอีสาน ขนมหวาน เครื่องดื่ม
น้าหวาน น้าผลไม้ ที่ขึ้นชื่อของชาวเมืองเลยDSC_0036.jpg

ตำบลนาอ้อเริ่มฟื้นฟูประเพณีบุญข้าวจี่อย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นปีที่บ้านนาอ้อ ได้รับยกย่องจากสภาวัฒนธรรมแห่งชาติ
ให้เป็นหมู่บ้านวัฒนธรรมต้นแบบของจังหวัดเลย ตำบลนาอ้อ ถือได้ว่าเป็นหมู่บ้านวัฒนธรรมมีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 300 ปี
เพื่อเป็นการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นที่เก่าแก่ให้คงสืบไว้ เทศบาลตำบลนาอ้อจึงได้จัดงานประเพณีบุญข้าวจี่
กินข้าวแดกงาเพื่อเป็นการแสดงถึงวิถีการดำรงชีวิตและภูมิปัญญา ของชาวบ้านและเป็นการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
โดยถ่ายทอดวัฒนธรรม ให้กับชนรุ่นหลังและผู้ที่สนใจได้เรียนรู้เป็นมรดกสืบไป

ขอบคุณข้อมมูลจาก:เทศบาลตำบลนาอ้อ