ขันหมากเบ็ง

ตั่งแต่เด็ก เวลาไปวัดหรือมีงานบุญที่ไหน สิ่งที่ได้ยินตลอดมาคือคำว่าขันหมากเบ็ง จึงเกดความสงสัยว่าทำไมต้องมี
และมีไว้ทำไม Gotoloeiจึงได้ไปเสาะหาข้อมมูลมาวันนี้จะพาทุกท่านมารู้จักกับ ขันหมากเบ็ง ครับ

DSC_0120.jpg

ขันหมากเบ็ง หรือ ขันหมากเบญจ์คือพานพุ่มดอกไม้ที่ใช้เป็นพานพุ่มบูชาในพิธีกรรม และบูชาพระรัตนตรัยในวันอุโบสถ
หรือวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา รวมทั้งการนำไปบูชาวิญญาณบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว โดยนำไปวางไว้ตามเสารั้ววัด
หรือหลักเส (ธาตุ ทำด้วยไม้แก่น แกะสลักสวยงามเจาะให้เป็นช่องสี่เหลี่ยมขนาดสี่นิ้วฟุต สำหรับบรรจุอัฐิ)
ซึ่งนิยมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา และวันสงกรานต์DSC_0115.jpg

ขันหมากเบ็ง คือพานพุ่มใส่ดอกไม้ หรือเครื่องบูชา ๕ อย่าง ได้แก่ หมาก พลู ธูป เทียน ข้าวตอก ดอกไม้ อย่างละ ๕ คู่
ใช้ใบตองทำเป็นซวย (กรวย) – บายศรี ใช้ใบตองรีดซ้อนกันให้เป็นรูปคล้ายเจดีย์ ทำเป็นสี่มุมรวมทั้งตรงกลางเป็น 5
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๖ นิ้ว สูง ๖-๘ นิ้ว ประดับประตูด้วยเครื่อง ๕ อย่าง ดังได้กล่าวแล้ว ไว้บนยอดแหลมของบายศรี-กรวย-ซวย
เรียงลดหลั่นลงมาตามลำดับเพื่อความสวยงามDSC_0121.jpg

ดอกไม้ซึ่งเป็นที่นิยม เช่น ดอกดาวเรือง (จะทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรือง) ดอกสามปีบ่อเหนี่ยว (ดอกบายไม่รู้โรย) เชื่อว่าจะทำให้อายุมั่น ขวัญยืน
แต่ปัจจุบันเห็นนิยมใช้ดอกรัก (ทำให้เกิดความรัก) (สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคอีสาน เล่ม2,2542:475-476)DSC_0105.jpg

วิธีการใช้ขันหมากเบ็ง-เบญจ์
-ใช้เป็นเครื่องสักการบูชาพระรัตนตรัย
-ใช้เป็นเครื่องสักการะอยู่ในเครื่องพลีกรรม ไหว้ครู บอกผี (เซ่นสรวงดวงวิญญาณ)
-บูชาวิญญาณบรรพบุรุษ โดยนำไปบูชาตามหลักเส (ธาตุ) ที่บรรจุอัฐิ (กระดูก)
-เป็นเครื่องให้พิจารณาเตือนคนได้ พิจารณาเบญจขันธ์คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
รูป คือ ร่างที่คลุมรวมกันไว้ด้วยธาตุ ๔ อันเป็นส่วนที่ปรากฏด้วยตา
เวทนา การเสวยอารมณ์ รู้สึกสุข เดือดร้อน เจ็บ แค้นใจ เบิกบาน เฉยๆ
สัญญา รู้และจำอารมณ์ที่ผ่านอวัยวะทั้ง ๖ เข้ามาแล้วบันทึกไว้ในใจ
สังขาร สภาวะปรุงแต่งวิญญาณ ผู้ก่อกรรมเกิดรูปนามติดต่อไป
วิญญาณ รู้แจ้งอารมณ์ภายในที่สัมผัสปัจจัยภายนอก