จารึกวัดห้วยห้าวหลักที่ 2

จารึกวัดห้วยห้าวหลักที่ 2

จารึกหลักนี้เป็นหลักฐานที่สำคัญ ได้บอกความเป็นมาของวัดห้วยห้าวนี้ว่า เป็นวัดหลวงในราชอาณาจักรล้านช้าง ในอดีตเพียงแห่งเดียวในจังหวัดเลย ที่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัดว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าโพธิสาลราชเจ้า และยังคงเหลือหลักฐานเป็นธรรม (รูปศิลาจารึก หน้า 18 )



จารึกหลักที่ 2 นี้ ได้ค้นพบเมื่อวันที่ 12 สิงหาคน พ.ศ. 2540 โดยนายสัมฤทธิ์ สุภามา หัวหน้าฝ่ายส่งเสริมการศาสนา และวัฒนธรรม สภาวัฒนธรรมจังหวัดเลย เดินทางไปตรวจสอบจารึกดังกล่าวที่วัดศรีชมชื่น บ้านนาอ้อ อำเภอเมืองเลย พบว่าศิลาจารึกจากทำการหินแปร ชนิดหินชนวนสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 35 เซนติเมตร สูง 63 เซนติเมตร หนา 3.5 เซนติเมตร แตกหักออกเป็น 2 ส่วน จารึกด้านเดียวด้วยอักษรไทยน้อย จำนวน 15 บรรทัด

ข้อความในจารึกแสดงให้เห็นความสำคัญของวัดห้วยห้าวในฐานะที่มีความเกี่ยวข้องกับกษัตริย์ กล่าวถึงการบริจาคเบี้ย และข้าว รวมศักราชที่สร้างจารึกคือ จุลศักราช 924 (ตรงกับ พ.ศ. 2105 สมัยพระเจ้าไชยเชฐาธิราช) ออก 6 ค่ำ วัน 7 ปีกาไชฤกษ์

จากจารึกวัดห้วยห้าวทั้ง 2 หลักที่พบ ชี้ชัดว่า วัดห้วยห้าวถูกสร้างขึ้นตามพระบรมราชโองการ พระโพธิสาลราชเจ้า กษัตริย์ล้านช้างซึ่งครองราชย์อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2063-2090 ต่อมาในรัชสมัยพระเจ้าไชยเชฐาธิราช พ.ศ. 2105 วัดห้วยห้าว จึงได้รับพระราชทานการบูรณปฏิสังขรณ์ ดังความที่ปรากฏ บนจารึก
แหล่งที่มา
หนังสือ ประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ของดีไทเลย


นายฐานันคร ศรีสุธรรม