ภูพุทโธ ดินแดนแห่งรอยพระพุทธบาท ค่ายศรีสองรัก จ.เลย
โครงการพัฒนาคุณธรรม
โครงการสร้างพระพุทโธ พระเจดีย์พระพุทธสติ
พล.ต.เถลิงศักดิ์ พูลสุวรรณ ผบ.จทบ.ล.ย. ได้อนุมติเริ่มโครงการสร้างพระพุทโธ และพระเจดีย์พุทธสติ เมื่อ 6 ม.ค.58 การดำเนินการเริ่มต้นจากการสำรวจพื้นที่ และสำรวจแบบพระที่จะสร้าง ซึ่งได้ข้อสรุปพื้นที่ซึ่งจะดำเนินการจัดสร้างอยู่บนส่วนยอดของภูน้อย ภูเขาขนาดเล็กซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาภูสะนาวในพื้นที่ของค่ายศรีสองรัก จังหวัดเลย พร้อมกับได้รับการสนับสนุนแบบพิมพ์พระพุทธรูปปางมารวิชัย (พิชิตมาร) ขนาดหน้าตัก 9 เมตร สูง 16 เมตร จากพระครูภาวนาวีรวัตร เจ้าอาวาสวัดโพนทอง อ.ท่าลี่ จ.เลย เป็นแบบพิมพ์ในการก่อสร้างและเนื่องจากด้านข้างของยอดภูน้อยที่จะสร้างพระพุทธรูป มีโขดหินขนาดใหญ่ ตั้งเทินอยู่บนแท่นหินก้อนหนึ่ง มีลักษณะพิเศษน่าสนใจ ผบ.จทบ.ล.ย. จึงได้ให้จัดสร้างพระเจดีย์จำนวน 1 องค์ ไว้บนส่วนยอดของหินด้วย ซึ่งต่อมาเรียกว่า "พระเจดีย์พุทธสติ"
การดำเนินการสร้าง ได้รับการสนับสนุนจากกำลังพลของหน่วยทหารในค่ายศรีสองรักส่วนราชการในจังหวัดเลย และพ่อค้าประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างดี ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการทำถนนขึ้นสู่ยอดภูซึ่งเป็นจุดที่สร้างพระพุทธรูปจากจังหวัดเลย โดยองค์การบริหารส่วนตำบลศรีสองรัก จังหวัดเลย รับหน้าที่จัดทำโครงการ และได้รับการสนับสนุนเครื่องจักรในการทำถนนจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลยและองค์การบริหารส่วนตำบลศรีสองรัก ร่วมให้การสนับสนุน ตลอดจนการเทคอนกรีตหล่อองค์พระพุทธรูป ซึ่งได้รับความร่วมมือจากประชาชนพุทธศาสนิกชนทั้งในพื้นที่จังหวัดเลยและต่างพื้นที่อย่างล้นหลาม
ในระหว่างการดำเนินการก่อสร้าง ได้มีพิธีบวงสรวงเบิกปฐพี ใน 26 ก.พ.58 โดย พล.ต.เถลิงศักดิ์ พูลสุวรรณ ผบ.จทบ.ล.ย. เป็นประธานในพิธี อันเป็นการสร้างและบำรุงขวัญให้แก่กำลังพลหน่วยทหารในค่ายศรีสองรัก และประชาชนพุทธศาสนิกชนทั่วไป ได้ร่วมสมัครสมานสามัคคีร่วมทำกิจกรรมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เหตุการณ์ความประทับใจร่วมกันทำให้ผู้คนต่างยินดีที่ได้มีโอกาสร่วมในการสร้างพระพุทธรูป
การประกอบแบบพิมพ์องค์พระพุทธรูปที่จะจัดสร้างเริ่มดำเนินการในวันที่ 28 ก.พ.58 และเริ่มเทคอนกรีตองค์พระพุทธรูป ใน 1 มี.ค.58 ซึ่งคอนกรีตได้ใช้คอนกรีตชนิดอย่างดีพิเศษเพื่อความคงทนถาวร การเทคอนกรีตองค์พระแล้วเสร็จใจ 3 มี.ค.58 ซึ่งในระหว่างการหล่อองค์พระได้มีพิธีบรรจุสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในแต่ละขั้นตอนของการก่อสร้าง คือ บรรจุวัตถุมงคลในช่วงการหล่อหน้าตัก (1 มี.ค.58) บรรจุบาตรจีวรและวัตุมงคลในช่วงของการหล่อหน้าอก(2 มี.ค.58) และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในช่วงหล่อพระเศียรและประกอบพระเกศขององค์พระ (3 มี.ค.58) และเพื่อความเป็นสิริมงคล หน่วยได้จัดประกอบพิธีบวงสรวงขอขมากรรมและพิธีเจริญพระพทุธมนต์ในวันที่ 4 มี.ค.58 ซึ่งตรงกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา คือวันมาฆบูชา (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3)
พระพุทธรูปที่ได้ดำเนินการก่อสร้างนี้ พล.ต.เถลิงศักดิ์ พูลสุวรรณ ผบ.จทบ.ล.ย ได้ตั้งชื่อว่า "พระพุทโธ"เพื่อให้เป็นนิมิตเครื่องหมายแห่งการดำเนินตามรอยพระพุทธบาท ทาน ศีล ภาวนา เน้นที่การเจริญภาวนาเป็นสำคัญ โดยมุ่งหมายที่คำว่า"พุทโธ"เป็นคำภาวนาที่เป็นที่คุ้นเคยอย่างกว้างขวางว่าเป็นคำบริกรรมภาวนาในเวลาทำสมาธิจิตของผู้ปฏิบัติภาวนาจำนวนมาก
สำหรับวัตถุประสงค์ในการสร้างพระพุทโธ และพระเจดีย์พุทธสติ นี้ พล.ต.เถลิงศักดิ์ พูลสุวรรณ ผบ.จทบ.ล.ย ด้วยเป็นผู้ที่มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างหนักแน่นมั่นคง ปรารถนาที่จะให้พุทธศาสนิกชนทุกแห่งในพื้นที่จังหวัดเลย และที่เดินทางเข้าสู่พื้นที่จังหวัดเลย ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ ได้ดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท ได้รับประโยชน์ ความสุขสงบภายใต้ร่มเงาแห่งพระสัทธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสั่งสอน คือ ทาน ศีล ภาวนา และปรารถนาทำนุบำรุงสิบทอดอายุพระพุทธศาสนาให้มั่งคงถาวร ตราบถ้วน 5,000 ปี จึงได้ดำเนินโครงการสร้างพระพุทโธ บนยอดภูน้อยซึ่งได้เปลี่ยนเป็น "ภูพุทโธ" และสร้างพระเจดีย์พุทธสติ ซึ่งต่อมาได้ประดิษฐานพระบรมสารีริกฑาตุจากสถูปาวาลเจดีย์ ประเทศอินเดีย ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงอธิษฐานจิตก่อนที่จะพระราชทานให้ประดิษฐานในพระเจดีย์พุทธสติ
เจตนารมณ์ในการสร้างพระพุทโธ และพระเจดีย์พุทธสติ คือ การได้รับประโยชน์ของพุทธศาสนิกชนทั้งกำลังพลและประชาชนทั่วไป คือ ให้ภูพุทโธ เป็นพุทธศาสนสถานในค่ายทหารที่พุทธศาสนิกชนหรือประชาชนสามารถมาท่องเที่ยวเชิงพุทธ ไหว้พระพุทโธ บูชาพระบรมสารีริกธาตุ
จำแนกเป็นข้อๆ ดังนี้
1. ให้ภูพุทโธเป็นพุทธศาสนสถานที่สามารถเป็นที่ท่องเที่ยวเชิงพุทธ
2. ความงดงามด้วยพุทธลักษณะของพระพุทโธ และความพิเศษของพระเจดีย์พุทธสติเป็นบ่อเกิดของความยินดีในการให้ทาน การรักษาศีล การเจริญจิตภาวนา ของพุทธศาสนิกชนที่ได้เยี่ยมสักการะบูชา
3. ชื่อ พระพุทโธ และ พระเจดีย์พุทธสติเป็นนิมิตหมายแห่งการอธิษฐานจิตเจริญภาวนา
เป้าหมาย
1.สืบทอดอายุพระพุทธศาสนา
2.พุทธศาสนิกชนใช้เป็นสถานที่เริ่มตั้งการอธิษฐานจิตภาวนาระลึกถึง "พุทโธ"
3.เป็นที่ตั้งทานศีลภาวนา
4.เป็นศูนย์รวมจิตใจรักสามัคคี
สถานที่ก่อสร้าง
ภูน้อย (ภูพุทโธ) ค่ายศรีสองรัก จังหวัดเลย
ขั้นตอนการและระยะเวลาดำเนินการ : มกราคม - มีนาคม 2558
ขั้นตอนที่ 1 การสำรวจพื้นที่ (ห้วง ม.ค.58)
ขั้นตอนที่ 2 การทำเส้นทางขึ้นสู่สถานที่สร้างพระพุทธรูป (ห้วง ม.ค.-ก.พ.58)
ขั้นตอนที่ 3 การดำเนินการก่อสร้างองค์พระพุทธรูป (ห้วง ก.พ.-มี.ค.58)
ขั้นตอนที่ 4 การตกแต่งปรับภูมิทัศน์บริเวณรอบองค์พระพุทธรูป (ห้วง มี.ค.58)
งบประมาณการดำเนินการ
ใช้งบประมาณในการดำเนินการสร้าง จำนวน 3,000,000 บาท (จังหวัดทหารบกเลย และการสรับสนุนจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน) ดังนี้
1. การทำทางขึ้นสู่ที่สร้างพระพุทโธ และการปรับพื้นที่รอบบริเวณ จำนวน 1,000,000 บาท
2. การหล่อองค์พระพุทธรูป จำนวน 1,000,000 บาท
3. การปรับภูมิทัศน์และองค์ประกอบอื่นๆ ของบริเวณองค์พระ 1,000,000 บาท
กิจกรรมและเรื่องราวที่เกี่ยวข้องในการสร้างพระพุทโธ
สำรวจพื้นที่
หลังจากที่มีแนวคิดในการสร้างพระพุทธรูป พล.ต.เถลิงศักดิ์ พูลสุวรรณ ผบ.จทบ.ล.ย ได้ดำเนินการสำรวจพื้นที่สำหรับจัดสร้างพระพุทธรูป เริ่มดำเนินการในเดือน มกราคม พ.ศ. 2558 โดยมอบหมายให้ พันเอกประเสริฐ สิงขรเขียว รองเสนาธิการจังหวัดทหารบกเลย เป็นหัวหน้าในการดำเนินการสำรวจ พันตรียุทธพงศ์ ละครพล นายทหารฝ่ายยุทธโยธา จังหวัดทหารบกเลย ร้อยเอกสุวรรณ ศรีสุวอ ผู้บังคับกองร้อย จังหวัดทหารบกเลย และร้อยโทสุขสันติ วงษ์ศิริ อนุศาสนาจารย์ จังหวัดทหารบกเลย ร่วมทีมสำรวจ ซึ่งได้ทำการสำราจพื้นที่หลายครั้งเพื่อหาสถานที่เหมาะแก่การดำเนินการสร้าง
พระพุทธรูป จนเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ.2558 พันเอกประเสริฐ สิงขรเขียว ได้นิมนต์พระอาจารย์อลงกรณ์ อริยจิตโต เจ้าอาวาสวัดป่าบารมีธรรม อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี มาร่วมสำรวจ โดย พลตรีเถลิงศักดิ์ พูลสุวรรณ ได้ร่วมสำรวจด้วย และได้พบลานขนาดเล็กบนส่วนยอดสุดของภูน้อย
โดยรอบของบริเวณลานแวดล้อมด้วยโขดหินขนาดใหญ่ เยื้องไปทางด้านซ้ายของลานเมื่อหันหน้าไปทางทิศใต้ มีโขดหินขนาดใหญ่ตั้งเทินอยู่บนแท่นหินอย่างโดดเด่น และเมื่อพิจารณาตกลงในว่าเป็นสถานที่มีความเหมาะสมที่จะสร้างพระพุทธรูป และพลตรีเถลิงศักดิ์ พูลสุวรรณ ก็ได้ให้ช่างออกแบบ
พระเจดีย์หนึ่งองค์เพื่อสร้างไว้บนโขดหิน ณ จุดที่ต้นโพธิ์ขนาดเล็กงอกขึ้น โดยให้ขุดต้นโพธิ์ออกและนำไปเพาะเลี้ยงจนพอจะปลูกได้จึงนำมาปลูกไว้ด้านหลังองค์พระพุทโธ
ทำถนนขึ้นภูพุทโธ
เมื่อแนวคิดของการสร้างพระพุทธรูปได้รับการบอกกล่าวให้กับส่วนต่างๆ ผู้ที่ได้รับทราบต่างอนุโมทนาและยินดีให้การสนับสนุน เมื่อได้เวลาพร้อมต่อการดำเนินการ จึงได้เริ่มจากการทำถนนขึ้นสู่จุดสร้างพระพุทธรูป ในการนี้ นายประจวบ ศิลธรรม นายกองค์การบริหารส่วนตำบลศรีสองรักจังหวัดเลย ได้ให้การสนับสนุนเครื่องจักรในการกรุยดเส้นทางขึ้นสู่ยอดภูน้อย ทำให้การขึ้นสู่ยอดภูมีความสะดวกง่ายขึ้น และนายธนาวุฒิ ทิมสุวรรณ นายกองค์การบริการส่วนจังหวัดเลย ได้ให้การสนับสนุนเครื่องจักรขนาดใหญ่ จากองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย ร่วมขยายเส้นทางในการทำถนนขึ้นสู่ยอดภูอีกส่วนหนึ่ง
ปรับพื้นที่
เมื่อได้เส้นทางขึ้นสู่ยอดภูน้อยเรียบร้อยแล้ว การปรับพื้นที่เพื่อเตรียมการก่อสร้างจึงได้เริ่มเป็นลำดับต่อมา ร้อยตรีสมพอง ปลั่งกลาง และ จ่าสิบเอกวิชิต ทองน่วม สังกัดกองร้อย จังหวัดทหารบกเลย ได้รับมอบหมายหน้าที่ในการดำเนินการก่อสร้างร่วมกับชุดช่างของผู้รับเหมา
ลูกแก้วเสด็จ
ลูกแก้วเสด็จ คือ เหตุการณ์ที่มีลูกแก้วซึ่งมีความสว่างในตัว เคลื่อนจากจุดหนึ่งไปสู่อีกจุดหนึ่ง ตามคำบอกเล่าของคนที่มีอายุในพื้นที่ อ.เมือง จ.เลย เล่าว่า เมื่อเวลาวันพระ 8 ค่ำ หรือ 15 ค่ำ จะมีผู้พบเห็นลูกแก้วลอยจากภูผาย่า ไปที่ภูผาปู่ และลอยไปตามยอดภูเขาต่างๆ ซึ่งที่เหล่านี้เป็นที่เชื่อว่ามีผู้วิเศษได้บำเพ็ญเพียรภาวนาอยู่ นับว่า ลูกแก้วเสด็จคือการแสดงฤทธิ์ การถามข่าวคราวของผู้มีคุณวิเศษ และนันว่าเป็นธาตุศักดิ์สิทธิ์ที่มีขึ้นเพื่อบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามที่ประดิษฐาน ผู้มีอายุแก่เฒ่าบอกเล่าสืบทอดกันมา ผู้ที่ปฏิบัติธรรมรักษาศีลเจริญภาวนาจะบอกเล่าในสมาคมเพื่อนผู้ปฏิบัติ พระเถระผู้รัตตัญญูก็บอกเล่าแก่ลูกศิษย์ เป็นเรื่องราวเล่าขานเรื่อยมา และจากความเจริญทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ เรื่องลูกแก้วเสด็จค่อยๆ เลือนหายไปจากสังคม
จนกระทั่งในวันที่ 19 ม.ค.58 ซึ่งเป็นวันพระ แรม 15 ค่ำ ในระหว่างการดำเนินปรับพื้นที่สร้างพระในตอนกลางวัน เวลาประมาณ 14.00 น. พล.ต.เถลิงศักดิ์ พูลสุวรรณ ผบ.จทบ.ล.ย. พร้อมด้วยพระครูภาวนาวีรฉัตร (หลวงปู่มุนีน้อย ภูริปัญโญ) ได้ขึ้นสู่ยอดภูน้อย สถานที่จะสร้างพระพุทธรูป และได้จุดธูปบอกกล่าวแก่สิ่งศักดิ์สิทธิ์พระภูมิเจ้าที่ แจ้งการที่จะดำเนินการเพื่อพระพุทธศาสนาบนยอดภูน้อย การดำเนินการผ่านไปโดยเรียบร้อย จนวันรุ่งขึ้นของวันต่อมา ได้มีกำลังพลของ มว.ส.จทบ.ล.ย. ชื่อ จ.ส.อ.กองคำ ได้เล่าให้ ร.อ.สุขสันติ อศจ.จทบ.ล.ย. ฟังว่า เมื่อเวลา 19.59 น. ของวันที่ 19 ม.ค.58 ที่ผ่านมา
จ.ส.อ.กองคำ พร้อมด้วยกลุ่มสมาชิกออกกำลังกายเต้นแอโรบิก ได้ออกกำลังกายเต้นแอโรบิกกันอยู่ที่ลานของโรงพยาบาลเพื่อสุขภาพประจำตำบลนาอ้อ อ.เมือง จ.เลย ได้มองเห็นลูกแก้วมีลักษณะสว่างสุกใส ลอยจากทิศทางของภูผาย่าทา มาทางทิศค่ายศรีสองรัก มีระดับความสูงเหนือระดับทิวยอดไม้เล็กน้อย ลอยด้วยความเร็วที่ไม่มาก ระยะเวลาที่มองเห็นลูกแก้ว ประมาณ 10 วินาที สมาชิกที่มองเห็นต่างพูดคุยว่าเป็นอะไร เป็นที่น่าประหลาดจนเมื่อได้รับการบอกเล่าว่าเมื่อวาน (วันที่ 19 ม.ค.58) คณะของ ผบ.จทบ.ล.ย. และหลวงปู่มุนีน้อย ได้ขึ้นสู่ภูน้อย และได้ร่วมกันจุดธูปบอกกล่าวสิ่งศักดิ์สิทธิ์เจ้าที่ถึงวัตถุประสงค์เพื่อการพระพุทธศาสนา จ.ส.อ.กองคำด้วยเห็นว่าเรื่องราวมีความเชื่อมโยงกันอย่างน่าประหลาด จึงได้นำเรื่องราวเล่าสู่ อศจ.จทบ.ล.ย. ฟัง ก่อนจพได้เล่าเรียนให้ ผบ.จทบ.ล.ย.ฟัง และได้บันทึกเป็นเรื่องราวสำหรับศึกษาค้นคว้า หรือบอกเล่าเป็นตำนานที่สืบทอดมาและยังคงมีการเกิดขึ้นที่ต่อเนื่องเมื่อมีเหตุอันควร
การทำพื้นและเทฐานองค์พระและบริเวณโดยรอบ
ในการสร้างฐานรองรับองค์พระพุทธรูปที่จะดำเนินการก่อสร้าง กับน้ำหนัก 101 ตัน ตามแบบพิมพ์และสัดส่วนของวัสดุอุปกรณ์ตามการคำนวนของสถาปนิกเจ้าของแบบ มีเงื่อนไขว่าต้องสร้างฐานรองรับองค์และสัดส่วนของวัสดุอุปกรณ์ตามการคำนวนของสถาปนิกเจ้าของแบบ มีเงื่อนไขว่าต้องสร้างฐานรองรับองค์พระให้มีความแข็งแรงเพียงพอจะรับน้ำหนักได้ ทีมวิศวกรออกแบบฐานรากจึงได้ออกแบบทำฐานโดยให้ขุดลึกลงไปในพื้น 2 เมตร เพื่อเทความรองรับฐานราก งานช่างดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง และเมื่อรถขุดได้มาขุดเพื่อจะเป็นหลุมสำหรับเสาของฐานรากข้างก้อนหินใหญ่ ซึ่งเป็นหินเพียงก้อนเดียว
บนลานที่ไม่ถูกย้ายออกไปในการทำฐานราก ร.ต.สมพอง ปลั่งกลาง ก็ได้สังเกตเห็นชิ้นส่วนของวัสดุคล้ายข้าวของเครื่องใช้ จึงได้เก็บขึ้นมาดู และพบว่ามีอยู่หลานชิ้นซึ่งแตกต่างจากการถูกรถขุดขึ้นมา ร.ต.สมพอง จึงได้เก็บรวบรวมเศษชิ้นส่วนเหล่านั้นจากหลุมที่ขุดจำนวนหนึ่งและจากที่กระจัดกระจายตามกองดินที่ขุดขึ้นจำนานหนึ่ง ปรากฎว่าเป็นเครื่องปั้นดินเผาที่มีลักษณะลวดลายต่างๆ และนอกจากนั้นยังพบวัตถุอื่นๆ เช่น แผ่นหินลักษณะสี่เหลี่ยมคางหมู มีสีแต้มคล้ายตัวอักษร และวัตถที่เป็นโลหะพร้อมแบบที่ใช้หลอมด้วยจำนวนหนึ่ง
เมื่อการก่อสร้างฐานรากดำเนินการเป็นรูปร่าง พร้อมต่อการดำเนินการขั้นต่อไป ในวันพฤหัสบดีที่ 26 ก.พ.58 เวลา 11.55 น. วันฤกษ์ดีต่อการดำเนินการบวงสรวง ตกในภูมิปาโลฤกษ์ ฤกษ์แห่งการพิทักษ์รักษาแผ่นดินและหมู่อาณาประชาราษฎร์ พระอาจารย์ประมวลศักดิ์ ฐานะธัมโม เจ้าอาวาสสำนักสงฆ์ดำรงธรรม
ค่ายศรีสองรัก ได้นำประกอบพิธีบวงสรวงใหญ่เบิกปฐพี ขออนุญาตเทพเทวาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อทำการอันเป็นสิริมงคล คือการสร้างพระพุทโธและพระเจดีย์พุทธสติ โดย พล.ต.เถลิงศักดิ์ พูลสุวรรณ ผบ.จทบ.ล.ย. เป็นประธานในพิธี
เริ่มต้นในเวลา 11.55 น. ท่ามกลางแสงแดดยามเที่ยงวัน ผบ.จทบ.ล.ย. ในฐานะประธานในพิธี แต่งกายเครื่องแบบปกติขาวของข้าราชการทหาร มีสายโยงยศห้อยอยู่ที่หน้าอก ส่วนปลายของสายโยงยศ มีแท่งประกอบโยงยศ จำนวน 2 แท่ง เมื่อประกอบพิธี พระอาจารย์ได้เชิญประธานจุดธูปเทียนเครื่องสักการะต่างๆบนโต๊ะเครื่องบวงสรวง จนครบทุกรายการ และสุดท้ายในขณะก้มลงกราบ มีแท่งที่ปลายสายโยงยศ 1 แท่งล้มราบตามพื้น อีก 1 แท่งที่ตั้งกับพื้นโดนไม่ล้มลง และได้ทิ่มตรงกลางจุดระหว่างคิ้วของ พล.ต.เถลิงศักดิ์ พูลสุวรรณ สูงเหนือระดับคิ้วประมาณ 1 นิ้ว ทำให้มีเลือดไหลเป็นหยด 1 จุดตรงกลางหน้าผาก และหยุดเพียงเท่านั้น ไม่ไหลอีกแม้อากาศจะร้อนก็ตาม ผู้ร่วมพิธีต่างเจ้าใจว่าเป็นการแต้มหรือเจิมในฐานะเป็นประธานในพิธีโดยพระอาจารย์ประมวลศักดิ์ ฐานะธัมโม ผู้ประกอบพิธี ซึ่งในความเป็นจริง พระอาจารย์เองก็ไม่ได้ทราบถึงที่มาเช่นกัน ต่อมาภายหลัง เมื่อองค์พระสร้างเสร็จ มีผู้ถวายอุณาโลมแด่องค์พระพุทโธก็ได้นำอุณาโลมสีแดงลักษณะเป็นหยดประกอบเข้ากับพระนลาฏขององค์พระพุทโธ โดยไม่ได้ทราบและไม่ได้นัดหมาย แต่ก็ทำให้ผู้ที่ได้ร่วมพิธีได้เห็นต่างก็นึกถึงเหตุการณ์เมื่อวันประกอบพิธีบวงสรวง และอีกหนึ่งเหตุการณ์ คือเมือ่การประกอบพิธีบวงสรวงดำเนินไปในเวลาเริ่มจาก 11.55 น. ซึ่งเป็นเวลาที่แดดจัด
ผู้ร่วมพิธีต่างได้อยู่ท่ามกลางแดดจ้าภายใต้ร่มเงาของสัปทนและบางส่วนกั้นร่มที่นำมาด้วย แสงแดดของเวลาเที่ยงรุนแรงต่อเนื่อง เมื่อพระอาจารย์ประมวลศักดิ์ฯ พระพิธีการ ได้ป่าวโองการจบ จะเริ่มบทสวดอันเชิญเทวดา ก็ได้ปรากฎกลุ่มเมฆขนาดใหญ่เหมือนว่าฝนจะตกอย่างหนัก อากาศเย็นลง แต่ไม่มีฝนตกลงมาแม้แต่น้อย ผู้ร่วมพิธีต่างได้อยู่ภายใต้ร่มของกลุ่มเมฆขนาดใหญ่ตลอดเวลาของการบวงสรวง จนเมื่อการบวงสรวงจะจบลง กลุ่มเมฆก็พลันสลายตัวให้แสงแดดส่องผ่านอย่างเต็นที่ในเวลา 14.00 น. เป็นที่น่าอัศจรรย์ต่อสายตาของผู้ร่วมพิธีเป็นจำนวนมาก พิธีบวงสรวงเบิกปฐพีดำเนินไปด้วยความราบรื่น
การสร้างและการทำสีองค์พระพุทโธ
สำหรับแบบพิมพ์พระนั้น ได้รับการสนับสนุนแบบพิมพ์พระพุทธรูป "พระโตโคตะมะ"ของพระครูภาวนาวีรวัตร (หลวงปู่มุนีน้อย ภูริปัญโญ) เจ้าอาวาสวัดโพนทอง อ.ท่าลี่ จ.เลย และคณะพระชุดช่างสร้างพระ ซึ่ง "พระพุทโธ" เป็นองค์ที่สร้างเป็นลำดับที่ 60 ของแบบ "พระโตโคตะมะ"ในทั่วประเทศไทย ด้วยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำนุบำรุงสิบทอดอายุพระพุทธศาสนา ให้ดำรงอยู่อย่างมั่นคงถาวรตลอดถ้วน 5,000 ปี ซึ่งยังเหลืออยู่อีกประมาณ 2,500 ปี ตามแนวหลักคำสอนและความเชื่อทางพระพุทธศาสนา จึงใช้คอนกรีตอย่างดีที่สุดในการหล่อ น้ำหนักขององค์พระพุทโธเมื่อหล่อแล้วเสร็จ จำนวน 101 ตัน
28 ก.พ. 58 แบบพิมพ์พระเดินทางมาถึงภูพุทโธ ในเวลา 17.00 น. และทีมสร้างพระได้เริ่มประกอบทันที
1 มี.ค.58 เริ่มเทคอนกรีตองค์พระ ผู้คนที่ร่วมสร้างพระต่างตื่นเต้น คึกคัก กระติอรืนร้นร่วมเทคอนกรีตองค์พระอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย มีทั้งกำลังพลทหาร นายทหาร นายสิบ ลูกจ้าง พลทหารของหน่วยจังหวัดทหารบกเลย หน่วยกรมทหารพรานที่ 21 และหน่วยกองพันทหารราบที่ 1 กรมทหารราบที่ 8 มีทั้งนักเรียนนักศึกษาจากสถานศึกษาในจังหวัดเลย มีทั้งส่วนราชการในจังหวัดเลย และภาคส่วนต่างๆมากมาย การเทคอนกรีตดำเนินไปอย่างต่อเนื่องไม่มีหยุด จากเริ่มต้นหล่อองค์พระ ผ่านกลางวันจนถึงเย็นและล่วงเข้าสู่เวลากลางคืน จนเมื่อหยุดเทคอนกรีต ทีมต่อโครงเหล็กก็ดำเนินการต่อเพื่อขึ้นโครงสำหรับการเทต่อไป เมื่อประกอบโครงเหล็กสำหรับการเทต่อไปได้แล้ว ก็เข้าสู่วันรุ่งขึ้น การเทคอนกรีตหล่อองค์พระเริ่มดำเนินการต่อ การดำเนินการเป็นเช่นนี้ตลอดจนแล้วเสร็จ นั่นคือการสร้างอย่างไม่หยุดสร้าง พักงานอย่างหนึ่งดำเนินการอึกอย่างหนึ่ง หมุนเวียนต่อเนื่องตลอดเวลา
2 มี.ค.58 บรรจุหัวใจพระพุทโธ ในการหล่อช่วงหน้าอกองค์พระ ได้มีการบรรจุหัวใจองค์พุทโธ นั่นคือปัจจัยเครื่องอาศัยของบรรพชิต อัฐบริขาร บาตรและไตรจีวร เป็นต้น และวัตถุมงคลอื่นๆ ที่หน้าอกขององค์พระพุทโธ
3 มี.ค.58 การเทคอนกรีตองค์พระพุทโธแล้วเสร็จ พิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในพระเกศของพระพุทโธ พล.ท.เทพพงศ์ ทิพยจันทร์ มทน.1 ได้เดินทางมาร่วมเป็นประธานในพิธี และอยู่ร่วมตลอดพิธีอื่นๆ
4 มี.ค.58 (วันมาฆบูชา) บวงสรวงบูชาขอขมากรรม ในภาคเช้า ขอขมาต่อการล่วงเกินใดที่เกิดจากงานช่าง การปีน การเหยียบ การทำกระทบกระทั่งอื่นๆ ต่อองค์พระในระหว่างการก่อสร้าง สร้างความอิ่มใจให้กับผู้ร่วมสร้าง เพราะไม่ใช่เพียงงานช่าง งานสร้าง แต่คืองานบูชาตลอดการดำเนินการ ทุกครั้งที่จบงานลงจากองค์พระที่หล่อ พระอาจารย์ทีมสร้างพระจะพาผู้ดำเนินการทำการไหว้พระสวดมนต์ขอขมาทุกครั้งไปและในภาคบ่ายก็ได้มีพิธีเจริญพระพุทธมนต์ ซึ่งได้นิมนต์พระเกจิอาจารย์สายวิปัสสนาธุระในพื้นที่จังหวัดเลย ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ และเพื่อองค์พระให้ดำรงอยู่ตราบถ้วน 5,000 ปี โดยธรรมชาติในการทำสีองค์พระจึงได้ใช้เป็นสีธรรมชาติของคอนกรีต(สีปูน) โดยไม่ได้ทำเป็นสีทอง สีเงิน หรือสีอื่นใด ซึ่งจากเกร็ดเพิ่มเติม องค์พระที่สร้างแล้วเสร็จ มีผู้ที่เยี่ยมสักการะได้ถ่ายภาพเป็นที่ระลึก ซึ่งมีหลายแหล่งช่องภาพ ที่ถ่ายภาพออกมาได้เป็นสีหยกขาว สีหยกเขียว สีทอง สีเงินอย่างน่าอัศจรรย์
การสร้างเป็นการร่วมแรงร่วมใจจากศรัทธาของมหาชน พุทธศาสนิกชนชาวจังหวัดเลย ต่างจังหวัด ในประเทศไทย และต่างประเทศ โดยผู้นำแต่ละส่วนได้นำพาหลังศรัทธาร่วมสร้างองค์พระพุทโธ พระเจดีย์พุทธสติ และกิจกรรมที่จัดขึ้นบนภูพุทโธ เช่น นายวิโรจน์ จิวะรังสรรค์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเลย พล.ต.เถลิงศักดิ์ พูลสุวรรณ ผู้บังคับการจังหวัดทหารบกเลย นายณัฐพล เหลืองวงศ์ไพศาล ประธานกรรมการบริษัทเมืองเลย บิ๊กโฮม จำกัด ซึ่งได้ร่วมบริจาคเงิน จำนวน 1,000,000 บาท (หนึ่งล้านบาทถ้วน) ชมรมชาวสมุทรปราการ โดย พลเอกบุญเกิด วาดวารี เป็นต้น และศรัทธามหาพุทธศาสนิกชนอีกจำนวนมาก
การออกแบบบริเวณภูมิทัศน์ ได้รับการสนับสนุนจากอาจารย์ผู้มีความรู้ความสามารถจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย อาจารย์ศักดิ์ชาย พวงจันทร์ ช่วยออกแบบภูมิประเทศ ลานรอบองค์พระ และความสวยงามโดยรอบบริเวณ
ในท้ายที่สุด พระพุทโธและพระเจดีย์พุทธสติ สำเร็จอย่างสมบูรณ์สวยงามด้วยความร่วมแรงร่วมใจของจังหวัดทหารบกเลย พุทธศาสนิกชนในจังหวัดเลย พุทธศาสนิกชนในประเทศไทย และต่างประเทศ จนอาจกล่าวว่าทั่วทุกโลกธาตุร่วมอนุโมทนาสาธุการ
เจตนารมณ์
- เพื่อเดินตามรอยพระพุทธบาท ศีล ภาวนา
-ชื่อพระพุทโธ ให้พระพุทโธเป็นนิมิตหมายของการเจริญภาวนา
- ชื่อ ประเจดีย์พุทธสติ เป็นชื่อที่ระลึกถึงพระสัมพุทธเจ้า เป็นหลักยึดในกระแสแห่งโลกวัฏฏะสงสาร โลภ โกรธ หลง กระแสที่พระยามารที่รอคอยจะฉุดกระชากหมู่สัตว์ให้หมุนวนไปในอำนาจของ ภูพุทโธ พระพุทธโธ พระเจดีย์พุทธสติ จะเป็นเครื่องให้ระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ หลักธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ภูพุทโธ พระพุทโธ พระเจดีย์พุทธสติ หิน ต้นไม้ ที่ร่มรื่นให้เป็นอารมณ์แห่งการภาวนา โดยมีนิมิตหลักรวมลงที่ พุทโธ
การขึ้นสู่ภูพุทโธ การถือเอาประโยชน์
พุทธศาสนิกชนสามารถเข้ากราบสักการะ บูชา ทำสมาธิภาวนา ที่ภูพุทโธได้อย่างสะดวกสบาย เวลาจาก 06.00 - 20.00 น. ยินดีต้อนรับผู้มีความประสงค์จะขึ้นสู่ภูพุทโธ ต่อไป จะเป็นสถานที่หนึ่งใน จังหวัดเลย ที่ถ้ามาเที่ยว จังหวัดเลย แล้ว ไม่ได้ขึ้นภูพุทโธ ไม่ได้กราบพระพุทโธ พระเจดีย์พุทธสติ ถือว่ายังมาไม่ถึงหนึ่งในสุดยอดของจังหวัดเลย
เมื่อขึ้นสู่ภูพุทโธ บรรยากาศ องค์ประกอบต่างๆ จะกล่อมเกลาให้จิตใจมีสุข สงบ มีสมาธิ เหมือนการเดินทางกลับสู่บ้านอันอบอุ่นของจิตใจ อำนวยให้เกิดกุศลเจตนาที่จะทำเรื่องดีๆ เนื่องด้วย ทาน ศีล ภาวนา เมตตาไมตรี เป็นดินแดนนแห่งสติ ปัญญา และพุทโธ ก็เป็นการได้รับประโยชน์จากพระพุทโธ จากพลังศรัทธาที่พี่น้องพุทธศาสนิกชน ได้ร่วมกันสร้างไว้ ณ ค่ายศรีสองรัก จังหวัดเลย เป็นเหมือนธนาคารบุญที่ให้ผลทั้งกลางวันและกลางคืน เป็นต้นกัลปพฤกษ์ ที่ปรารถนาสิ่งใด ย่อมได้ตามปรารถนา แม้ด้วยการอธิษฐานของหนึ่งคนที่มีความไม่สบายใจบางอย่าง แต่มีพลังศรัทธาที่ร่วมบริจาคสร้างไว้เป็นมหาอานุภาพอย่างมหาศาลให้สำเร็จได้ ช่วยขจัดปัดเป่าอันตรายใดๆ ให้มลายหายสูญไปอย่างน่าอัศจรรย์
พระพุทโธ พระเจดีย์พุทธสติ เป็นเสมือนหนึ่งร่างพระกายพุทธสรีระที่ประดิษฐาน ณ ภูพุทโธ หนึ่งคือสมมติแห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า จากวัสดุตามยุคสมัย และอีกหนึ่งคือพระบรมสารีริกธาตุ ส่วนแห่งพระสรีระแห่งองค์พุทโธ ซึ่งเมื่อครั้งดำรงอยู่ ได้ประกอบอยู่ในพระกายแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประดิษฐานเป็นสิริมงคล ณ ภูพุทโธ ค่ายศรีสองรัก จังหวัดเลย
ภูพุทโธ ดินแดนแห่งรอยพระพุทธบาท ทาน ศีล ภาวนา และการอธิษฐานจิต
สถานที่ตั้ง
ภูพุทโธตั้งอยู่ที่ ภูน้อย(เดิมได้ใช้ชื่อ ภูน้อย จากนั้นได้เปลี่ยนเป็น ภูพุทโธ) ค่ายศรีสองรัก ตำบลศรีสองรัก อำเภอเมือง จังหวัดเลย 42000
fffffffff
การเดินทาง
การเดินทางจากอำเภอเมืองเลย ใช้เส้นทางหมายเลข 201 ไปทางอำเภอเชียงคาน (ถนนเลย-เชียงคาน) ผ่านมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ไปอีกประมาณ 8 กิโลเมตร ผ่านมณฑลทหารบกที่ 28 ก่อนถึงโรงพยาบาลค่ายศรีสองรัก จะมีป้าย "สำนักสงฆ์ดำรงธรรม (ค่ายศรีสองรัก)" เลี้ยวขวาเข้าไป 140 เมตร จากนั้นจะพบทางแยก ให้เลี้ยวขวาเล็กน้อย จะมีป้ายชี้บอกทางไปภูพุทโธ เลี้ยวซ้ายขึ้นสู่ภูพุทโธ
เลี้ยวขวาเข้าไปที่ป้าย "สำนักสงฆ์ดำรงธรรม (ค่ายศรีสองรัก)"
ตรงเข้าไปอีก 140 เมตร จะมีทางแยก เลี้ยวขวา
เลี้ยวซ้ายเพื่อขึ้นไปสู่ยอดภูพุทโธ
เวลาเปิดบริการ
ศาสนนิกชนสามารถไปสักการะองค์พระพุทโธ ได้ในเวลา 06.00 - 20.00 น. ซึ่งในช่วงเย็นสามารถชมวิวทิวทัศน์และชมพระอาทิตย์ตกได้จากยอดภู
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : เอกสารโครงการสร้างพระพุทโธ พระเจดีย์พระพทุธสติจังหวัดทหารบกเลย (ค่ายศรีสองรัก อำเภอเมือง จังหวัดเลย)
?อ่านรีวิวภูพุทโธได้ที่นี่ คลิกเลย!