บ้านธาตุ

ไม่ระบุเวลา

แผนที่การเดินทาง

ติดต่อสอบถาม

ที่อยู่:
-ไม่ระบุ-
โทร:
-ไม่ระบุ-
อีเมล:
-ไม่ระบุ-
เว็บไซต์:
-ไม่ระบุ-
เฟซบุ๊ก:
-ไม่ระบุ-
ไลน์ไอดี:
-ไม่ระบุ-
บ้านธาตุ เดิมสันนิฐานว่าบรรพบุรุษนั้นคงสืบเชื้อสายมาจากชาวแขวงเมืองหลวงพระบาง แขวงเมืองล้านช้างและแขวงเมืองไชยบุรี ทั้งนี้ก็เพราะว่าประเพณีขนบธรรมเนียมและความเป็นอยู่ตลอดจนสำเนียงภาษาคล้ายคลึงกันมาก

ประวัติและความเป็นมาของหมู่บ้าน
คำว่า ธาตุ หมายถึง เจดีย์พระธาตุที่เป็นจุดกำเนิดหมู่บ้านและเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้าน พระธาตุนี้สูงมากและที่จอมพระธาตุตกแต่งอย่างสวยงาม ประดับประดาด้วยแก้วหลากสี ดุสดใสสามารถมองเห็นไกลๆ ได้อย่างชัดเจนถึงขนาดว่าช้าง ม้า วัว ควาย ไม่กล้าเข้าใกล้หรือผ่านได้ต้องใช้ผ้าผูกตาเพราะแสงสะท้อนของแก้วที่ประดับ
บ้านธาตุ เดิมสันนิฐานว่าบรรพบุรุษนั้นคงสืบเชื้อสายมาจากชาวแขวงเมืองหลวงพระบาง แขวงเมืองล้านช้างและแขวงเมืองไชยบุรี ทั้งนี้ก็เพราะว่าประเพณีขนบธรรมเนียมและความเป็นอยู่ตลอดจนสำเนียงภาษาคล้ายคลึงกันมาก การก่อจั้งบ้านเรือนในสมัยแรกๆนั้นไม่มีหลักฐานอ้างอิงไว้เป็นที่แน่นอนได้เพราะสมัยนั้นท้องถิ่นเต็มไปด้วยป่าเขา ผู้คนอยู่กันเป็นหย่อม และในสมัยนั้นผู้คนคงจะไม่มีการศึกษา จึงไม่มีการจารึกเป็นหลายลักษณ์อักษร เพื่อเป็นหลักฐานไว้เพียงเล่าสู่กันฟังต่อๆ กันมาอาจจะขาดๆตกๆไปบ้างแต่อาศัยการสันนิฐานจกซากวัตถุและโบราณวัตถุที่ยังคงเหลือเท่านั้น
บริเวณที่ตั้งหลักแหล่งเดิม สันนิฐานว่าคงจะไม่ใช่ที่ตั้งบ้านาตุในปัจจุบันนี้ เดิมที่นั้นหมู่บ้านนี้ไม่ได้รียกว่าบ้านธาตุหรือบ้านธาตุจอมศรี อย่างเช่นในปัจจุบันหมู่บ้านนี้เดิมที่เรียกว่าหมู่บ้านท่าจำปาซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของบ้านธาตุในปัจจุบันบ้านท่าจำปาเป็นหมู่บ้านที่ใหญ่พอสมควร เพราะสันนิฐานได้จากบริเวณที่ตั้งบ้านเดิมนั้น มีวัดอุโบสถ์หลายแห่งมีการก่อสร้างด้วยมีพระพุทธรูปมากมาย มีทั้งพระพุทธรูปที่ทำจากทองคำ ทองเหลือและทองสัมฤทธิ์ แต่เนื่องจากการที่จีนฮ่อเข้ามารุกรานชาวบ้านจึงจำเป็นที่ชาวบ้านจึงจำเป็นที่ชาวบ้านจะต้องนำพระพุทธรูปไปซ่อนไวในแม่น้ำเลยตรงที่เรียกว่า วังแสนขัน ส่วนพระพุทธรูปที่ทำด้วยทอง เหลืองและทองสัมฤทธิ์ก็ทาด้วยสีดำเพื่อให้ดูน่าเกลียดในจำนวนพระพุทธรูปนั้นมีสองพระองค์ที่นำไปซ่อนไม่ทัน องค์ที่หนึ่งเรียกตามความนิยมของชาวบ้านว่าพระเจ้าหน้าดำ เพราะทั้งองค์ ดำสนิท พระพุทธองค์นี้ทำด้วยทองสัมฤทธิ์ซึ่งอดีตได้เจ้าคุณหลวงพ่อศรีจันทร์วัดศรีสุทธาวาส (วัดเลยหลง) ได้นำไปประดิษฐานไว้ที่วัดเลยหลง อำเภอเมือง จังหวัดเลยส่วนอีกองค์หนึ่งนั้นทำด้วยทองเหลืองหรือทองคำไม่อาจทราบได้ทาด้วยสีดำเช่นเดียวกันกับพระเจ้าหน้าดำ แต่ลักษณะใสงามกว่าที่ขอบพระพักตร์นั้นทาสีไม่ติดและยังเห็นเนื้อทอง อยู่ก่อนกน้าเจ้าคุณหลวงพ่อศรีจันทร์จะไปเอานั้นชาวบ้านได้นำเอาไปซ่อนไว้ในโพรงไม้ เพราะเกรงจะถูกโจรผู้ร้ายขโมยไปเนื่องจากอยู่กลางป่าครั้นต่อมาชาวบ้านหักร้างถางพงใกล้ๆที่ตรงนั้นไฟป่าจึงไหม้ลุกลามไปไหม้ต้นไม้ที่พระพุทธรูปนั้นซ่อนเอาไว้จนถึงรากทำให้ดินตรงนั้นยุบตัวพระพุทธรูปจึงตกลงไปอยู่ใต้ดินนั้น คนที่ที่จะเอาไปซ่อนเกรงว่าจะมีคนไปเห็นอีก จึงเอาใบไม้และดินกลับถมเสีย เข้าใจว่าในปัจจุบันนี้คงจะจมอยู่ใต้ดินนั้นเอง แต่ไม่สามารถบอกที่ตรงไหนให้แน่นอนไม่ได้เพราะคนที่เอาไปซ่อนก็ถึงแก่กรรมไปแล้ว เพียงแต่เล่าต่อกันมาหลักฐานที่บ่งบอกว่าบ้านท่าจำปา เป็นบ้านที่สร้างขึ้นมาใหญ่โตนั้น นอกจากพระพุทธรูป แล้วยังมีสิ่งอื่นๆ อีกเป็นต้นว่าวัตถุเครื่องใช้พวกโอ่ง หม้อ มีด ดาบ หอก และเครื่องใช้อื่นๆ ที่ราษฎรเข้าไปทำไร่แล้ว ขุดพบ และนอกจากมีหมู่บ้านอื่น ๆ ที่ขึ้นตรงต่อบ้าน ท่าจำปาอีก 3 หมู่บ้าน คือ หมู่บ้านบงอยู่ห่างจากบ้านท่าจำปาไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 15 เส้น สันนิฐานว่าน่าจะเป็นบริเวณไร่ของคุณตาพล (นายหำ วงษ์ลา) หมู่บ้านหนองเรือ หรือหมู่บ้านหนองเฮือ และหมู่บ้านนางแม่หม้ายซึ่งอยู่ห่างประมาณ 100 เส้น ไปทางทิศเหนือ หมู่บ้านทั้งสามหมู่บ้านที่ผ่านมานี้เป็นหมู่บ้านร้าง แต่ยังมีคนพบเหตุหลักฐานต่างๆปรากฏอยู่สาเหตุที่ได้อพยพมาตั้งบ้านใหม่นั้น เป็นเพราะว่าบ้านท่าจำปา ปัจจุบันคือ บริเวรบ้านธาตุหมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 16 ซึ่งชาวบ้านเรียกว่าบ้านฮ่อมาจนถึงบัดนี้ และที่บริเวณหาดทรายน้ำเลยตรงสำนักพระศรีอาริยะ ก็เรียกกันติดปากมาถึงปัจจุบันนี้ ว่า หาดฮ่อ การสู่รบได้ทำต่อกันเป็นระยะเวลานาน พอสมควรเพราะหมู่บ้านบง บ้านหนองเรือ และบ้านนางแม่หม้าย ได้นำกำลังพลมาร่วมต่อสู้กับหมู่บ้านท่าจำปา ด้วยต่อมาความทราบถึงพระยาศรีอรรคฮาด เจ้าเมืองเชียงคานได้สั่งการให้ขุนหลวงไพรวัลย์ทุม การสงคราม ซึ่งต่อมา ต้นตระกูล ทุมสงคราม ของขาวบ้านธาตุในปัจจุบัน เป็นแม่ทัพยกยกเมืองมาจากเชียงคานมาปราบจีนฮ่อ โดยยกทัพมาอยู่ที่ทุ่งนาหลวง ทุ่งนาตรงกับบ้านธาตุ หมู่ที่ 12 ในปัจจุบัน การสู่รบได้พุ่งเป็นเวลานานจนอาวุธของพวกจีนฮ่อร่อยหรอลงจนเกือบหมดบรรดา จีนฮ่อได้ควบคุมเชลย ไปขุดเอาหินเหล็กจากภูเหล็กในปัจจุบัน มาทำเตาถลุงเหล็ก ทำเป็นอาวต่อสู้กับกองทัพไทย บริเวณที่สร้างเตาถลุงเหล็กนี้สันนิฐานว่า จะอยู่บริเวณด้านหน้าของโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 96 นั้นเองก่อนหน้านี้ยังคงมีขี้เหล็กและเบ้าหลอมเหล็กหลงเหลือปรากฏให้เห็นอยู่ ผลการสู่รบทัพไทยเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะพวกจีนฮ่อก่อนที่จะล่ะทิ้งหมู่บ้านท่าจำปา ได้ทำการเผาผลาญทำลายบ้านเรือนชาวบ้าน สิ่งก่อสร้างต่างๆจนหมด สิ่งใดที่สามารถขนๆไปได้ก็เอาไป ที่นำไปไม่ได้คือพระพุทธรูปที่กล่าวมาแล้ว เนื่องจากเพราะว่าเป็นพระพุทธที่ศักดิ์สิทธิ์จริงๆ
ฝ่ายขุนหลวงไพรวัลย์ (ทุม กาจสงคราม ) เมื่อรบชนะแล้วก็ได้ไปตรวจดูหมู่บ้านท่าจำปาเห็นว่าบ้านเรือนถูกทำลายทรุดโทรมเป็นอย่างมาก คงยากแก่การบรูณะซ่อมแซมได้ จึงได้นำชาวบ้านมาก่อสร้าง บ้านเรือนที่อยู่ใหม่ซึ่งอยู่ใกล้กับบริเวณที่ตั้งทัพทุ่งนาหลวง ซึ่งเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านาธาตุในปัจจุบัน และเมื่อทำการก่อสร้างบ้านเรือนที่เรียบร้อยแล้วท่านเห็นว่า ทำการก่อสร้างบ้านเรือนที่เรียบร้อยแล้วที่เรียบร้อยและท่านเห็นว่า ชาวบ้านยังขาดสิ่งที่จะเป็น ที่ยึดเหนียวทางจิตใจและขาดการบำรุงขวัญของชาวบ้าน ให้กลับมามีสภาพดีเป็นปกติอย่างเดิม
เพราะชาวบ้านพึ่งผ่านการสู้รบมาใหม่ๆ ขวัญยังไม่ดี จึงได้ชักชวนชาวบ้านทำการสร้างวัดขึ้นและในขณะเดียวกันก็ได้สร้างพระธาตุไว้เป็นที่สักการบุชาเล่ากันว่าพระธาตุนี้สูงมาก และที่จอมพระธาตุตกแต่งอย่างงดงาม ประดับประดาด้วยแก้วหลากสี ดูสดใสงดงามมากสามารถมองเห็นไกลๆ ได้อย่างชัดเจน ถึงขนาดว่าช้างม้า วัว ควาย ไม่กล้าเข้าใกล้หรือผ่านได้ต้องใช่ผ้าผูกตา เพราะแสงสะท้อนของแก้วที่ประดับกาลเวลาได้ผ่านไป ทำให้องค์พระธาตุผุพัง จนในปัจจุบันนี้ไม่สามารถชี้ชัดเจนว่า พระธาตุที่ยังคงเหลืออยู่ใน ปัจจุบันนี้จะเป็นพระธาตุองค์ที่เท่าได้กล่าวถึงหรือไม่ และยังคงปริศนาชวนให้ลูกหลานชาวบ้านธาตุสืบค้นหาต่อไป
การขยายอาณาเขต
บ้านธาตุในปัจจุบันมีการแบ่งเขตหมู่บ้านออกเป็น 6 หมู่บ้านได้แก่
บ้านธาตุหมู่ที่ 1 ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2371
บ้านธาตุหมู่ที่ 2 ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2509
บ้านธาตุหมู่ที่ 12 ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2512
บ้านธาตุหมู่ที่ 14 ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2520
บ้านธาตุหมู่ที่ 15 ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2521
บ้านธาตุหมู่ที่ 16 ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2547
สถานที่สำคัญในชุมชน
ศาสนสถานเจดีย์พระธาตุเป็นลักษณะของเจดีย์สามยอดมราสวยงามซึ่งเป็นที่สักการบูชาของชาวบ้านธาตุสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2371 โดยชาวบ้านได้ช่วยกัน สร้างขึ้นพร้อมทั้งได้นำอิฐของหลวงพ่อสีมาบันจุไว้เพื่อสักการบูชาและเป็นสิ่งยึดเหนียวจิตใจของประชาชนของชาวบ้านธาตุ
วัดพระธาตุเป็นศาสนาที่คู่บ้านคู่เมืองชาวบ้านธาตุวัดพระธาตุสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2371 โดยหลวงพ่อสีพร้อมด้วยชาวบ้านช่วยกันสร้างต่อมาหลวงพ่อสีมรณภาพชาวบ้านจึงร่วมกันสร้างเจดีย์ แล้วนำอิฐมาบรรจุไว้เดิมแต่ก่อนเรียกว่าพระเจ้าจอมสีซึ่งชาวบ้านเรียกว่า วัดใหญ่ ตั้งอยู่ที่บ้านธาตุ ม.15 ตำบลธาตุ อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
วักป่าพัฒนาราม ก่อตั้งเมื่อปี 2521 โดยผู้ก่อตั้งคือผู้ใหญ่มูลกับชาวบ้านและหลวงพ่อพรมมา ที่เป็นเจ้าอาวาสคนแรก วัดป่าพัฒนารามตั้งอยู่ที่วัดธาตุ ม.14 ตำบลธาตุ อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
วัดอินทราราม เดิมที่เป็นสำนักสงฆ์ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2495 โดยคณะกรรมการในหมู่บ้านได้ร่วมใจกันสร้างขึ้นพริ้มกับการแบ่งหมู่บ้านธาตุและสร้างวัดขึ้นตั้งอยู่ที่บ้านธาตุหมู่ที่ 1 ตำบลบ้านธาตุ อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
วัดพระศรีอริยเมตตรัยก่อตั้งขึ้นเมื่อพ.ศ. 2514 โดยผู้ก่อตั้งคือนางคำปุ่น สิมสวัสดิ์ วัดพระศรีอริยเมตตรัย เป็นศรัทธาเป็นอย่างมากประชาชนที่มารียกตนเองว่าเป็นสาวกของ ผู้ดูแลวัดในนมของชาวบ้านว่า พระองค์ คือนางคำปุ่น สิมสวัสดิ์ มีการทำบุญประจำปีขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี เพื่อให้ประชาชนที่มาจากต่างจังหวัดได้มาสักการบูชาพระองค์ และที่มีผู้คนมากที่สุดในช่วงออกพรรษา
วังแสนขัน-ท่าจำปาท่าจำป่าเป็นบริเวณท่าน้ำอยู่ทางทิศใต้หรือขึ้นไป ตามกระแสของลำน้ำเลยของบ้านธาตุในปัจจุบัน เป็นบริเวณที่บ้านธาตุรู้จักกันเป็นอย่างดดี และมักจะเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าท่ากำนันสาลี(เรียกตามชื่อคุณตาสาลี ธนะสูตร)เดิมที่นั้นบริเวณท่าน้ำนี้จะมีต้นจำปา(ต้นลั่นทมหรือต้นลีลาวดี )ต้นใหญ่มีลักษณะต้นเด่นอยู่ต้นหนึ่ง จึงถูกนำบ้านตั้งชื่อท่าน้ำดังกล่าวว่าท่าจำป่าบริเวณดังกล่าวเดิมที่เป็นที่ตั้งบ้านเรือนของชาวบ้านท่าจำปามีการก่อสร้างวัด ก่อสร้างสิม (โบสถ์ ปัจจุบันเป็นที่บริเวณที่ดินของนายส่วน สอนพรหม) ที่ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของ(คนในยุคนั้นและหากไล่ลงไปตามกระแสน้ำในบริเวณใกล้เคียงจะมีคุ้งน้ำที่ลึก มากอยู่แห่งหนึ่ง ชาวบ้านเรียกว่าวังแสนขันเล่ากันว่าที่ใต้ท้องน้ำวังแสนขันได้มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่องค์หนึ่งจมอยู่ใต้น้ำนั้น ชาวบ้านได้พยายามอันเชิญขึ้นประดิษฐานที่วัดบ้านท่าจำป่า แต่ปรากฏว่าทำอย่างไรก็ไม่สามารถเคลี่อนย้ายองค์พระนั้นได้ ชาวบ้านจึงได้จัดทำพิธีบวงสรวงเทวดาฟ้าดิน โดยการทำขันดอกไม้บูชา ซึ่งเรียกกันว่าขันห้าขันแปดจำนวนถึงหนึ่งแสนขันเพื่อใช้ในการบูชา แต่ปรากฏว่าการกระทำในครั้งนั้นไร้ผลไม่สามารถอันเชิญองค์พระขึ้นมาได้เช่นเคย ชาวบ้านจึงได้ให้จมอยู่ใต้น้ำนั้นอย่างเคย บริเวณคุ้งน้ำนั้นจึงสูงเรียกว่า วังแสนขัน มาจนถึงปัจจุบันโดยมีเรื่องเล่ากันมาว่า ชาวบ้านได้ออกๆไปทอดแห่หาปลาในบริเวณวังแสนขัน แห่ได้จึงเกี่ยวกับพระองค์พระจึงไม่สามารถชักแห่ขึ้นมาได้จึงตั้งดำลงไปเพื่อปลดแห่ทำให้ผู้ที่ดำลงไปได้พบเห็นองค์พระมีขนาดใหญ่มากขนาดที่ว่าขึ้นไปอยู่ที่บนบ่าของพระองค์พระแล้ว ยื่นมือขึ้นมาแตะ ได้แค่ตั่งหูเท่านั้นเอง แต่ในปัจจุบันนี้ไม่ปรากฏว่า มีผู่ใดพลเห็นอีกเลย ว่ากันว่าองค์พระคงถูกน้ำพัดพาไปหรือก็ไม่ถูกทรายทับถมจมอยู่ในน้ำนั้นเองซึ่งจะเป็นบริเวณใดนั้นเป็นเรื่องยากแก่การคาดเดา ชาวบ้านที่มีอาชีพหาปลาในบริเวณวังแสนขันเล่าว่า พื้นดินใต้น้ำบริเวณดังกล่าวมีลักษณะเป็นแอ่ง หรือเป็นหลุมขนาดใหญ่ และลึกลงไปในใต้ดิน เป็นลักษณะที่น่ากลัวมาก ซึ่งหลายๆคนยื่นยันว่าเป็นเช่นนั้นจริง
สถานที่หาดฮ่อ ฮ่อ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กุรา หรือจีนฮ่อ ซึ่งเต่งทัพหนีมาจากเมืองเวียงจันทร์ประเทศลาวในขณะนั้น ได้เข้ามาช่องสุมและร่วมตัวกันที่บริเวณหาดทราย น้ำเลย ที่ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักพระศรีอารย์ในปัจจุบัน กลุ่มจีนฮ่อได้เพิ่มจำนวนมากขึ้น ได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ในบริเวณบ้านธาตุหมู่ที่ 16 โดยเรียกว่าบ้านฮ่อมาจนถึงปัจจุบันนี้ กลุ่มจีนฮ่อได้ทำการปล้นเสบียงฉุดคร่าหญิงชาวบ้าน ในหมู่บ้านใกล้เคียง สร้างความเดือดร้อนแก่ราษฏรให้ยุคนั้น เป็นอย่างมาก ทำให้ทางการต้องส่งกำลังทหาร ตำรวจเข้ามาทำการปราบปราม โดยได้ทำการสู้รบกันในบริเวณหาดทรายนั้นเอง ซึ่งอาวุธที่ใช้ต่อสู้กัน ในสมัยนั้นจะใช้ มีด ดาบ ง้าว เป็นสำคัญ ทั้งสองฝ่ายได้ทำการสู้รบกันอยู่หลายวัน และในที่สุดพวกฮ่อก็พ่ายแพ้แตกหนีไป โดยตำนานไม่ได้บอกว่าหนีไปที่ใดบ้าง หลังจากเสร็จสึกกับฮ่อแล้ว ชาวบ้านก็ไดพากันทำนุงบำรุงบ้านเมืองกันใหม่ซึ่งเป็นจุดของการเปลี่ยนแปลงบ้านธาตุครั้งสำคัญที่สุดครั้งหนึ่งที่ลูกหลานชาวบ้านธาตุไม่ควรลืม
ตำนานหนองโง้ง หนองแบน หนองแม่หม้าย เล่ากันว่าโดยที่นั้นบริเวณที่เรียกว่าหนองโง้งนั้นเป็นที่ตั้งบ้านเรือนของชาวบ้าน ซึ่งก็ไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นบ้านอะไร อยู่ก็เป็นชุมชนใหญ่พอสมควรต่อมาชาวบ้านจับเอี่ยนด่อน (ปลาไหลเผือก)ตัวใหญ่ได้หนึ่งตัว จึงแบ่งปันกันกินทั้งหมู่บ้าน ยกเว้นแม่หม้ายหนึ่งกับพระที่วัด ชาวบ้านไม่ยอมแบ่งให้ด้วยเหตุผล ใดไม่ทราบ ต่อมาได้เกิดเหตุอาเพศดินถล่มบ้านเมืองราษฎร พังทลายเสียหายกันหมด กลายเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ มีลักษณะเป็นส่วนโค้ง จึงกลายมาเป็นหนองน้ำโง้งในปัจจุบัน และที่กลางหนองน้ำนั้นจะเหลือเป็นสันดอนซึ่งเป็นบริเวณที่ตั้งบ้านเรือนของนางแม่หม้ายและวัดเท่านั้น ต่อมาผู้คนที่เหลือ รอดชีวิตจึงได้เรียกสันดอนนั้นว่าดอนนางแม่หม้าย
ในขณะที่เกิดฟ้าดินถล่มนั้น ชาวบ้านต่างหนีเอาตัวรอดไม่เว้นแต่หัวหน้าหมู่บ้าน และภรรยาโดยการขึ้นขี่หลังม้าหนีไปแต่พอมาถึงบริเวณหนองน้ำอีหนองหนึ่ง ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากหวนองโง้ง เท่าใดนักแหวนของ ภรรยานายบ้านจึงเกิดตกลงไปในหนองน้ำนั้น จึงต้องชวยกันไปงมเอาแหวนนั้นขึ้นมา ก็เลยกลายเป็นชื่อ หนองนั้นว่าหนองแหวนต่อมาก็ได้เรียกผิดเพี้ยนมาเป็นหนองแบน จนกระทั่งจึงปัจจุบัน บริเวณดอนแม่หม้าย นี้ถือว่าเป็นบริเวณที่มีความศักดิ์สิทธิ์ ผู้คนที่เข้าไปในบริเวณนั้นจะต้องรู้จักสำรวมด้วยความเคารพห้ามพูดจาหยาบคาย ห้ามตัดต้นไม้โดยไม่ขอขมาลาโทษ ห้ามถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะโดยเด็ดขาดหากไม่เชื่อฟังจะเกอิดปรากฏการณ์ที่ไม่น่าเชื่อต่างๆนาๆ เป็นต้นว่าเกิดลมพายุอย่างแรง ต้องว่ายน้ำหนีอย่างสุดชีวิตแต่ความจริงแล้วไม่มีน้ำท่วมเลยคนที่ว่ายหนีจึงเป็นลักษณะของการลอยบกเอง
ในปัจจุบันนี้ชาวบ้านที่เข้าไปทำมาหากินที่ดอนแม่หม้าย ยังได้พบก้อนหินเผาหรือที่ชาวบ้านเรียกว่าก้อนดินจี่ ซึ่งเป็นอิฐที่ใช้ในการก่อสร้าง วัดของชาวบ้านในสมัยนั้นเอง และบริเวณหนองโง้งนี้จะมีปลาซุกชุม เวลาชาวบ้านเข้าไปหาปลา แล้วพูดจาในลักษณะนั้นว่าปลาเยอะวันนี้คงหาได้มาก อะไรทำนองนี้ก็จะทำให้วันนั้นทั้งวันจะหาปลาไม่ได้เลย


ข้อมูลจาก ประวัติศาสตร์หมู่บ้านและชุมชนในจังหวัดเลย อำเภอเชียงคาน โดย กศน.อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย โครงการหนังสือสามัญประจำบ้าน สำนักงาน กศน. จังหวัดเลย พ.ศ.2553

สิ่งอำนวยความสะดวก