บ้านน้ำแคม หมู่ที่ 1,3 ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2442 โดยการนำของคน 3 กลุ่ม น้ำแคม และเป็นชื่อของลำน้ำสายหนึ่งที่ไหลคดโค้งไปมา และไหลลงสู่ลำน้ำเหืองที่บริเวณปากแคมแคม” หมายถึงริม หรือแปลว่า ใกล้นั่นเอง เหตุที่เรียกว่า “บ้านน้ำแคม” ถ้าจะเรียกว่า บ้านแคมน้ำ
บ้านน้ำแคม
หมู่ที่ 1, 3 ตำบลน้ำแคม อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย
ความหมายของชื่อหมู่บ้าน
น้ำแคม เป็นชื่อของลำน้ำสายหนึ่งที่ไหลคดโค้งไปมา มีต้นกำเนิดน้ำมาจากภูหวด ไหลผ่านหมู่บ้าน ปากยาง บ้านน้ำแคม และไหลลงสู่ลำน้ำเหืองที่บริเวณปากแคม (บริเวณแม่น้ำแคมและแม่น้ำเหืองไหลมาบรรจบกัน) ”แคม” หมายถึงริม หรือแปลว่า ใกล้นั่นเอง เหตุที่เรียกว่า “บ้านน้ำแคม” ถ้าจะเรียกว่า บ้านแคมน้ำ ก็ฟังดูไม่เหมะสม จึงเปลี่ยนมาเรียกชื่อหมู่บ้านใหม่ว่า “บ้านน้ำแคม”
ประวัติความเป็นมาของการตั้งชื่อหมู่บ้าน
บ้านน้ำแคม หมู่ที่ 1,3 ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2442 โดยการนำของคน 3 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 ขุนโยธา นำสมัครพรรคพวกมาจากบ้านขอนแก่น มี พ่อตู้ที พ่อตู้ทอง พ่อตู้จันทรา พ่อตู้ทองดี พ่อตู้ภู และปู่เที่ยงขยายลงมาทางทิศใต้เรียกว่า “คุ้มใต้” ต่อมากลุ่มที่ 2 โดยการนำของ นายเพีย บุตตานาม ได้พาพรรคพวกมาจากบ้านห้วยห่าว (ประเทศสปป.ลาว) มี พ่อตู้พิมาย พ่อตู้วัน พ่อตู้เถียน มาตั้งบ้านเรือนอยู่ทางทิศเหนือเรียกว่า “คุ้มเหนือ” ต่อมา กลุ่มที่ 3 ขุนวีวาส ได้พาพรรคพวกมาจากบ้านนากาวแขวงชัยบุรี ประเทศสปป.ลาว มาตั้งบ้านเรือนอยู่ตรงกลาง เรียกว่า “คุ้มกลาง”
สถานที่ท่องเที่ยว
ป่าชุมชน (ป่าสามเขา) เป็นป่าที่มีความอุดสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ป่าแห่งนี้เปรียบเสมือนสิ่งหล่อเลี้ยงชีวิตของคนบ้านน้ำแคม และชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงมาตลอดตั้งแต่รุ่นปู่ ย่า ตา ยาย ป่าแห่งนี้เกิดขึ้นได้ ก็เพราะแรงศรัทธาของผู้มีจิตกุศลให้บริจาคเป็นของสาธารณะ และด้วยความพยายามที่จะปกป้องป่าแห่งนี้ให้คงอยู่ไว้เป็นที่หล่อเลี้ยงชีวิตลุกหลานสืบต่อไป โดยการนำของอดีตผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง คือ อดีตกำนันนายสุเทพ สังฆะวงศ์ ผู้นำป่าชุมชนที่ทำให้ป่าชุมชนแห่งนี้กำเนิดขึ้นมา และทำให้ป่าชุมชนแห่งนี้ อยู่รอด ปลอดภัยจากเงื้อมมือของนายทุน ที่คอยจังหวะจะกว๊านซื้อเพื่อที่จะนำไปเป็นของตนเอง
หลักฐานทางประวัติศาสตร์
มีผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่า บ้านน้ำแคมเดิมเคยเป็นเมืองร้าง สร้างขึ้นพร้อม ๆ กันกับนครเวียงจันทร์ เรียกว่า “นครเวียงสา” ไม่มีใครทราบสาเหตุที่แน่นอนว่าเกิดอะไรขึ้นกับเมืองนี้ ปัจจุบันนี้ก็เหลือเพียงซากกระดูกของคนตาย ชามแตก และสิ่งต่าง ๆ ที่ปรากฏให้เห็นเป็นร่องรอยเท่านั้น
ข้อมูลจาก ประวัติศาสตร์หมู่บ้านและชุมชนในจังหวัดเลย อำเภอปากชม โดย กศน.อำเภอปากชม จังหวัดเลย โครงการหนังสือสามัญประจำบ้าน สำนักงาน กศน. จังหวัดเลย พ.ศ.2553