เหตุที่ตั้งชื่อบ้านว่าบ้านโป่งกูดเนื่องจากว่า ดินบริเวณนั้นมีรสเค็มซึ่งสัตว์ชอบกินและลำห้วยของหมู่บ้านจะเต็มไปด้วยผักกูด (ผักกูดเป็นผักพื้นบ้านชนิดหนึ่งที่ชาวบ้านนิยมรับประทาน)
ประวัติบ้านโป่งกูด
หมู่ที่ 4 ตำบลนาแห้ว อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย
ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน
เมื่อประมาณ พ.ศ.2476 ได้มี นายเด็จ ศรีกุม ชาวบ้านแสงภา หมู่ที่ 1 ตำบลแสงภา และเพื่อนบ้าน 4 ครัวเรือน ได้อพยพมาตั้งถิ่นฐาน ประกอบอาชีพเกษตรกรรมอยู่ที่บ้านโป่งกูดในปัจจุบัน ต่อมา ได้มีชาวบ้านอพยพมาอยู่เพิ่มอีก 12 ครัวเรือน จึงได้ตั้งเป็นหมู่บ้านขึ้นชื่อว่าบ้านโป่งกูด เหตุที่ตั้งชื่อบ้านว่าบ้านโป่งกูดเนื่องจากว่า ดินบริเวณนั้นมีรสเค็มซึ่งสัตว์ชอบกินและลำห้วยของหมู่บ้านจะเต็มไปด้วยผักกูด (ผักกูดเป็นผักพื้นบ้านชนิดหนึ่งที่ชาวบ้านนิยมรับประทาน) ชาวบ้านจึงได้ตั้งชื่อบ้านว่าบ้านโป่งกูด เป็นต้นมา ช่วงนั้นบ้านโป่งกูดขึ้นอยู่กับตำบลนาแห้ว อำเภอด่านซ้ายจังหวัดเลย เมื่อปี พ.ศ.2513 ตำบลนาแห้วได้ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอ จึงได้ขึ้นเขตการปกครองของอำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ความหมายของชื่อหมู่บ้าน
บ้านโป่งกูดมีความหมายมาจากคำสองคำ คือ
โป่ง หมายถึง ดินชนิดหนึ่งที่มีรสเค็มซึ่งสัตว์ชอบกิน
กูด หมายถึง ผักพื้นบ้านชนิดหนึ่ง
ภูมิประเทศและการปกครอง
มีพื้นที่ทั้งหมด 43 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 8,750 ไร่ เนื้อที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับซับซ้อน สูงกว่าระดับน้ำทะเล 900 เมตร เป็นพื้นที่ราบเหมาะสำหรับการเพาะปลูกเพียง 10% ประชากรทั้งหมด 251 คน ชาย 120 คน หญิง 95 คน จำนวนครัวเรือน 57 ครัวเรือน มีนายระเบียบ จันดาหาร เป็นผู้ใหญ่บ้าน
วัฒนธรรมประเพณีและสถานที่ท่องเที่ยว
ประชาชนบ้านโป่งกูด จะยึดถือ การปฏิบัติที่สืบเนื่องมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน คือการงดประกอบอาชีพในทุกวันพระโดยชาวบ้านจะพากันร่วมทำบุญที่วัด และร่วมกันพัฒนาตามสถานที่ต่าง หลังจากนั้นก็จะพบปะ พูดคุยและกินข้าวร่วมกัน วัฒนธรรม ประเพณี ที่ปฏิบัติประจำปีคือบุญมหาชาติ ซึ่งจะปฏิบัติในช่วงเดือน 4 เป็นประจำทุกปี นอกนั้นก็จะเป็นปารประกอบพิธีกรรมตามปฏิทินหลวง
ข้อมูลจาก ประวัติศาสตร์หมู่บ้านและชุมชนในจังหวัดเลย อำเภอนาแห้ว โดย กศน.อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย โครงการหนังสือสามัญประจำบ้าน สำนักงาน กศน. จังหวัดเลย