สาเหตุที่ตั้งชื่อว่าบ้านแก่งมี้เนื่องมาจากบริเวณ ที่ตั้งบ้านเรืออยู่มีต้นหมากมี้ (ขนุน) มีลำต้นขนาดใหญ่มามีอายุหลายร้อยปี
ประวัติและความเป็นมาของหมู่บ้าน
แก่ง หมายถึง น้ำที่มีแก่งหินหรือก้อนหินขนาดใหญ่ที่สวยงามไหลผ่าน
มี้ หมายถึง ชื่อต้นขนุนเป็นผลไม้ชนิดหนึ่ง เมื่อสุกแล้วจะมีรสหวาน(ชาวอีสานเรียดว่าหมากมี้)
บรรพบุรุษของบ้านแก่งมี้ อพยพมาจากเมืองหลวงพระบางประเทศลาวตั้งอยู่ริมฝั่งทิศตะวัติตกของแม่น้ำเลย ซึ่งมีลักษณะภูมิประเทศเอื้ออำนวยต่อการดำรงชีวิต มีความอุดมสมบูรณ์ชาวบ้านจึงได้ประชุมหารือกันและมีมติให้ตั้งบ้านเรือน ณ สถานที่แห่งนี้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า แก่งมี คำว่ากางมี หมายถึงแม่น้ำเลยตรงท่าน้ำมีแก่งหินที่สวยงาม ประกอบกับพื้นที่ตั้งหมู่บ้านที่มีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยปลาและอาหาร (ตรงกันข้ามกับบ้านแก่งมี้ ปัจจุบันนี้) เริ่มก่อตั้งหมู่บ้านครั้งแรก มีจำนวน 30 คน หลังคาเรือนต่อมาได้เกิดโรคระบาดผู้คนล้มตายหลายคนจึงพากันอพยพข้ามแม่น้ำเลยไปอยู่บ้านใหม่ศาลาเฟือง 2 ปี
เมื่อ พ.ศ. 2473 จึงอพยพกลับมาตั้งบ้านเรือน อยู่ริมแม่น้ำเลยทางทิศตะวันออกซึ่งกานอพยพครั้งสุดท้ายนี้โดยการนำของนายบัวสี โสภาตาเป็นหัวหน้า หรือเป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกและได้ตั้งชื่อหมู่บ้านให้เพี้ยนไปจากเดิมว่า บ้านแก่งมี้ สาเหตุที่ไม่เรียกชื่อเดิมเนื่องจากการเกิดโรคระบาดซ้ำอีก(สาเหตุที่ตั้งชื่อว่าบ้านแก่งมี้เนื่องมาจากบริเวณ ที่ตั้งบ้านเรืออยู่มีต้นหมากมี้ (ขนุน) มีลำต้นขนาดใหญ่มามีอายุหลายร้อยปี) จึงได้ชื่อว่าบ้านแก่งมี้ในปัจจุบันและมีนายบาล ตันทอง เป็นผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน
สถานที่สำคัญในชุมชน
วัดจอมพลจัดตั้งขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2442 สร้างขึ้นเป็นสำนักปฏิบัติกรรมฐานเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของหมู่บ้านชาวบ้านให้ความเคารพศรัทธา หมู่ที่6 ตำบลนาซ่าว การบริหารและการปกครอง เจ้าอาวาสวัดรูปแรกคือพระติวน และพระอาจารย์ บุญทัน สุนันโทเป็นเจ้าอาวาสวัดรูปวัดปัจจุบัน
ข้อมูลจาก ประวัติศาสตร์หมู่บ้านและชุมชนในจังหวัดเลย อำเภอเชียงคาน โดย กศน.อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย โครงการหนังสือสามัญประจำบ้าน สำนักงาน กศน. จังหวัดเลย พ.ศ.2553