เดิมชื่อบ้านหนองถากบม ต่อมาผู้ใหญ่บ้านท่าบมได้เสนอต่อชาวบ้านให้เปลี่ยนชื่อบ้านท่าบมและได้รับความเห็นชอบจากทุกคนจึงใช้ชี่อว่าบ้านท่าบมจนถึงทุกวันนี้
ประวัติและความเป็นมาของหมู่บ้าน
บ้านชื่อท่าบมเดิมชื่อบ้านหนองถากบม เพราะหนองน้ำนั้นคนนิยมไปถากทำบม บมคือ ภาชนะที่ส่ายข้าวของชาวอีสาน ลักษณะ บมเป็นแผ่นไม้กว้างทำเป็นรองสำหรับส่ายข้าว ให้เย็นแล้วนำข้าวที่นึ่งใส่กล่องข้าวเหนียวและต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อจากบ้านหนองถากบม โดยเมื่อปีพ.ศ. 2418นายคำผา บุดดา ผู้ใหญ่บ้านท่าบมได้เสนอต่อชาวบ้านให้เปลี่ยนชื่อบ้านท่าบมและได้รับความเห็นชอบจากทุกคนจึงใช้ชี่อว่าบ้านท่าบมจนถึงทุกวันนี้
บ้านท่าบมมีประวัติความเป็นมา ความเป็นที่แปลกกว่า หมู่บ้านอื่นๆ เพราะเป็นหมู่บ้านคริสตังเพียงแห่งเดียวในจังหวัดเลยอยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 4.5กิโลเมตร ตั้งอยู่ในเขต ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
ฉะนั้นบ้านท่าบมจึงเป็นหมู่บ้านคริสตังที่อยู่ทามกลางชาวพุทธซึ่งการอยู่รวมกันอย่างฉันท์พี่น้องระหว่างคริสต์ กับพุทธจึงถือว่าเป็นสิ่งที่หน้าชื่อชมยินดียิ่งบ้านท่าบมตั้งมาแล้วประมาณ 120 ปี แรกเริ่มโดยที่นั้นนายช่างได้อพยพมาจากบ้านนาสีซึ่งอยู่ห่างออกไปจากทางทิศตะวันตก 300 เมตร โดยอพยพมาครั้งแรกประมาณ 6 ครอบครัวได้แก่
1. ครอบครัวนายช่าง 2. ครอบครัวของนางมิ่ง
3. ครอบครัวของขุนศรี 4. ครอบครัวของขุนพรม
5. ครอบครัวของนายอิน 6. ครอบครัวของนายกิ
มาตั้งรกรากอยู่บริเวณป่าแห่งนี้ มีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำบ้าน ชาวบ้านนั้นจะสร้างบ้านเรือนอยู่เป็นกลุ่มที่บริเวณคุ้ม ได้ใกล้ธารน้ำ อาชีพส่วนใหญ่ของชาวบ้านคือการทำนาข้าว ทำไร่พริกและไร่ป่านั้นขายในหมู่บ้านบางครั้งก็มีพ่อค้ามารับซื้อหมู่บ้านนี้อยู่ท่ามกลางป่าดงใหญ่ชาวบ้านจะสามารถหาอาหารต่างๆได้จากป่านี้ ปัญหาจากสัตว์ป่าที่ชุกชุมและดุร้ายมีอยู่มาก ในการออกไปไล่ลาสัตว์แต่ล่ะครั้งจะต้องเสี่ยงกับภัยกับสัตว์ร้ายตลอดเวลาเช่น หมี เสือ ช้าง งูพิษ ฯลฯการเจ็บไข้ได้ป่วยหรือโรคภัยต่างๆนั้นระบาดมากถ้าใครลงได้ป่วยแล้วมักจะไม่รอดการรักษาคนป่วยก็ใช่ยาสมุนไพรที่มีในท้องถิ่นรักษาโดยหมอพื้นบ้านที่มีในหมู่บ้านหากคนป่วยหายจากโรคก็ถือว่าโชคดีแต่ว่าถ้าคนนั้นไม่หายหรือตายไปก็ถือว่าโชคร้ายสำหรับเขาในสมัยก่อนใช้วิธีรักษาแบบนี้กันมากทั้งนี้เพราะการแพทย์ไม่เจริญหรือแพร่หลายอย่างเช่นในปัจจุบันการคมนาคมไปมาก็ยากลำบากการรักษาโดยวิธีการแบบดังเดอมจึงเป็นวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับชาวบ้านดีกว่าไม่รักษาค่าพยาบาลเสียเลยแต่ชาวบ้านก็มีความเชื่อว่าการเจ็บไข้ได้ป่วยนั้นมีสาเหตุมาจาก ผีกิน ประมาณ 8-9 ปีหลังจากนั้นวัดพุทธที่เคยมีร้างไป ชาวบ้านจึงหันมาหาที่พึ่งพาอาศัยเทพพระเจ้าที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สามารถจะช่วยเหลือพวกเขาได้ ความเป็นมาของผีกินคนนั้นคือใกล้หมู่บ้านนั้นมีหินก้อนใหญ่ก้อนหนึ่งที่เชื่อกันว่าเป็นหินอัศจรรย์มีรูปร่างคล้ายช้างอยู่ในบริเวณนาของพ่อเฒ่ากวย เวลาที่ใครเดินผ่านไปมาก็ไปชี้ไม่ได้ ถ้าใครไปเข้าก็มักจะมีอันเป็นไปทันที บางทีก็ป่วยตายไปเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กๆในหมู่บ้านจะตายหมดเมื่อคลอดออกมาใหม่ๆชาวบ้านจึงเริ่มปั่นป่วนเดือดร้อนคนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้านไปได้ประมาณ 40 ปี ศาสนาคริสต์ก็เข้ามามีบทบาทเป็นครั้งแรกโยในช่วงนั้นมีครูสอนเป็นชาวเวียงคุกอยู่ที่บ้านนาค้อ อำเภอเชียงปากชม จังหวัดเลยท่านทราบข่าวว่าเกิดความไม่สงบขึ้นที่บ้านท่าบมกำลังหาที่พึ่งท่านจึงรีบมาดูเหตุการณ์และได้พาชาย 4 คนติดตามไปด้วย คือ พ่อเฒ่าช่าง พ่อเฒ่าไปเรียนคำสอนที่ตำบลเวียงคุก อำเภอเมือง จังหวัดหนองคายโดยอาศัยแม่น้ำโขงล่องเรือลงไปจนถึงเวียงคุก
วันเวลาผ่านไปจนกระทั่งเมื่อ 4 คนกลับมาก็มีพระสงฆ์ติดตามด้วย คือคุณพ่อฟีแนน ยังเตยังได้นำเอาไม้หลังกานเขนไปปักไว้ที่หินก้อนใหญ่นั้นที่เชื่อว่าผีสิงความสงบสุขก็เริ่มเกิดขึ้นทีล่ะเล็กที่ละน้อย ชาวบ้านเองก็เลื่อมใสและศรัทธาในศาสนาคริสต์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
จากหมู่บ้านเล็กๆที่เมื่อก่อนนั้นมีเพียง 5 -6 คนจากครอบครัวได้กลายเป็นหมู่บ้านช่วงเวลา 40 ปีที่ผ่านไปนั้นได้มีผู้คนจากหมู่บ้านที่ห่างไกลอพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งทำมาหากินอยู่เรื่อยๆหมู่บ้านนี้จึงเริ่มขยายกว้างออกไปในระยะที่ มี 20 หลังคาเรือน ที่เข้านับถือศาสนาคริสต์หมดคือครอบครัวของผู้เฒ่าลายพ่อเฒ่ามิ่ง พ่อเฒ่าสี พ่อเฒ่าดวง พ่อเฒ่าบด พ่อเฒ่ามอญ พ่อเฒ่าไพร พ่อเฒ่ากิ พ่อเฒ่าใหม่ พ่อเฒ่าสุก พ่อเฒ่าอิน พ่อเฒ่ากวย แม่เฒ่าจัน แม่เฒ่าปุ้ง แม่เฒ่าตอง แม่เฒ่าจี แม่เฒ่าสาย แม่เฒ่ามา แม่เฒ่าบุญและแม่เฒ่าป้อง
ครูคำสอนคนแรกของบ้านท่าบม คือ ครูทวงเป็นชาวเวียงคุก ต่อมาก็มีครูสอนที่เป็นชาวบ้านท่าบม คือครูดวง ครูโสม ครูตัน ครูฤทธิ์ ครูบิน ปัจจุบันคือครูสุภาพและครูพิทยา และครูเส็ง (เสียชีวิตแล้ว) ต่อจากคุณพ่อฟีแนน ยังเต ได้มีพระสงฆ์ทยอยเข้ามาเป็นประจำที่หมู่บ้านนี้เช่น คุณพ่อดีโบ คุณพ่ออันโนดิโอ คุณพ่ออันเบร์ และคุณพ่อคำเขียนเป็นผู้ที่ย้ายวัดจากบ้านของผู้เฒ่าอินมาเป็นประจำอยู่ที่ศาลาประชาคมคุณพ่อคำเขียนได้มรณภาพที่นี่ ประมาณ 2-3 ปีก่อนที่จะเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง (อินโดจีน)ซึ่งนำความเศร้าสลดใจมาสู่ชาวบ้านท่าบม เป็นอย่างยิ่ง การจากไปของคุณพ่อเขียนเป็นสิ่งที่จะลืมเลือนไปจากจิตใจของชาวบ้านท่าบมได้เลย ศพของท่านได้ฝั่งไว้ที่นี้ดังนั้นนายอำเภอจึงใช้ให้บุดดาเป็นนามสกุลตั้งแต่นั้นมาละชาวบ้านท่าบมสมัยนั้นจึงใช้นามสกุลบุดดาเป็นส่วนมาก นับได้ว่าราว 80 ปี ที่ศาสนาคริตส์เข้ามาในหมู่บ้าน แล้วจึงเกิดสงครามโลกครั้งที่สองศาสนาคริสต์ถูกข่มเหงมากทางราชการได้ส่งให้ปลัดมาดและพวกมาบังคับให้ชาวบ้านเลิกนับถือศาสนาคริสต์นอกจากนั้นยังได้พากันทำลายรูปเคารพต่างๆ และครั้งสุท้ายได้ปิดวัดคริสต์ ทำเป็นโรงเรียนของทางรัฐบาลนำเอาศาสนาพุทธเข้ามาขณะที่ไม่มีพระสงฆ์ประจำอยู่ที่ท่าบมเลย
ความระส่ำระสายเริ่มขึ้นเมื่อพระถูก ทำลายพระสงฆ์ก็ไม่มี วัดถูกเปลี่ยนสภาพให้เป็นโรงเรียนชาวบ้านถูกบังคับและขู่เข็ญให้เข้าศาสนาพุทธและกราบไหว้พระพุทธรูปแต่พวกเขาจะถูกขู่เข็ญต่างๆนานาต่อความเชื่อและความศรัทธาภายในจิตใจของชาวบ้านยังยึดมั่นคงอยู่ตลอดเวลาชาวบ้านได้แต่สวดภาวนากันในใจเพราะถ้าหากว่าสวดภาวนากันอย่างเปิดเผยเมื่อใดจะถูกเจ้าหน้าที่เอาเมื่อนั้นผู้ใหญ่บ้านในสมัยนั้นคือนายสั้นเวลาไปประชุมที่อำเภอจะถูกเจ้าหน้าที่สอบถามเสมอว่า ลูกบ้านยังสวดภาวนาอยู่หรือเปล่า ท่านตอบว่าเลิกแล้ว หลังจากถูกเบียดเบียนอยู่ประมาณ 8 ปี คุณพ่อค้านจากมิสชังท่าแร่ เป็นคนแรกที่เข้ามาประจำ ณ บ้านนี้ ต่อมาบ้านท่าบมได้เกิดโรคระบาดชาวบ้านเรียกว่าถูกผีกิน (ไข้มาลาเลีย) จึงได้นำศาสนาคริสต์มาจากเวียงคุกจังหวัดหนองคาย หลังจากนั้นบ้านท่าบมก็สงบ สุขจึงมีการนับถือศาสนาคริสต์ตั้งแต่นั้นมาและช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่สองของญี่ปุ่นได้ครองพื้นที่แถวนั้นจึงได้ขับไล่ศาสนาคริสต์ออกไปผู้ใหญ่บ้านคนที่สามชื่อนายสั้น บุดดา ผู้ใหญ่บ้านคนที่สี่ชื่อนายใบ ลิมิดี ในช่วงนี้มีการเรื้อฟื้นศาสนาคริตส์เกิดขึ้นอีกครั้งโดยหลวงพ่อคานผู้ใหญ่คานผู้ใหญ่บ้านคนที่ห้าชื่อ นายสีไชยแสง ผู้ใหญ่บ้านคนทีหกชื่อ นาย หนัด บุดดา ถึงพ.ศ. 2534 ท่าบมได้แยกเป็น 9 มีผู้ใหญ่คนแรกชื่อ นายรม คนที่สองชื่อ นายสุวิทย์ แก้ววงษ์ คนที่สามชื่อนาย บุญโฮม บุดดา ซึ่งเป็นคนปัจจุบันการขยายอาณาเขตเขตของหมู่บ้านถึง พ.ศ.2536 แยกออกมาเป็นบ้านท่าบม หมู่ที่ 13 มีผู้ใหญ่คนแรกชื่อ นายเคี่ยน บุดดา คนที่สองชื่อนายแจ้ง บุดดา คนที่สามชื่อนายประสาท บุดดา ซึ่งเป็นคนปัจจุบัน พ.ศ. 2547 แยกออกมาเป็น 8 หมู่บ้าน มีผู้ใหญ่บ้านคนแรกชื่อนายบุญไทย วังคีรี คนที่สองชื่อนาย มนตรี แส้ลี ซึ่งเป็นคนปัจจุบัน
มีผู้ใหญ่บ้านคนแรกชื่อขุนพรม มีกานสำรวจสำมโนครัวและให้มีการใช้นามสกุล จึงให้ผู้ใหญ่บ้านตั้งนามสกุลมา แต่ผู้ใหญ่ไม้ได้ตั้งมานายอำเภอจึงถามผู้ใหญ่บ้านว่าพ่อชื่ออะไรแม่ชื่ออะไร ปรากฏว่าพ่อและแม่ของผู้ใหญ่ชื่อนายบุดกับนางดา ดังนั้นนายอำเภอจึงให้ใช่บุดดาเป็นนามสกุลตั้งแต่นั้นมาและชาวบ้านท่าบมสมัยนั้นจึงใช้นามสกุลเป็นบุดดาส่วนใหญ่ ผู้ใหญ่บ้านคนที่สองชื่อ นายกิ บุดดา ในตอนนั้นบ้านท่าบมได้เกิดโรคระบาดชาวบ้านเรียกว่าถูกผีกิน (ไข้มาลาเลีย) จึงได้นำศาสนาคริสต์มาจากเวียงคุกจังหวัดหนองคายหลังจากนั้นบ้านท่าบมก็มีการสงบสุขจึงมีการนับถือศาสนาคริสต์ตั้งแต่นั้นมาและช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่สองกับญี่ปุ่น ได้ครองพื้นที่แถวนั้นจึงได้ขับไล่ศาสนาคริสต์ออกไปผู้ใหญ่บ้านคนที่สามชื่อนายสั้น บุดดา ผู้ใหญ่บ้านคนที่สี่ชื่อนายใบ ลิมิดี ในช่วงนี้มีการรื้อฟื้นศาสนาคริสต์เกิดขึ้นอีกครั้งโดยหลวงพ่อคานผู้ใหญ่บ้านคนที่ห้า ชื่อนายสี ไชยแสง ผู้ใหญ่บ้านคนที่หกชื่อ นายหนัด บุดดา ถึง พ.ศ. 2534 ท่าบมได้แยกเป็นหมู่ 9 มีผู้ใหญ่บ้านคนแรกชื่อนายรม คนที่สองชื่อนายสุวิทย์ แก้ววงษ์ คนที่สามชื่อนายบุญโฮม บุดดา ซึ่งเป็นคนปัจจุบัน
การขยายอาณาเขตของหมู่บ้านถึง พ.ศ. 2536 แยกออกเป็นบ้านท่าบม หมู่ 13 มีผู้ใหญ่บ้านคนแรกชื่อนายเคี่ยน บุดดา คนที่สองชื่อนายแจ้ง บุดดา คนที่สามชื่อนายประสาท บุดดา ซึ่งเป็นคนปัจจุบัน พ.ศ. 2547 แยกออกเป็นหมู่ 8 มีผู้ใหญ่บ้านคนแรกชื่อนายบุญไทย วังคีรี คนที่สองชื่อนายมนตรี แส้ลี ซึ่งเป็นคนปัจจุบัน
สถานที่สำคัญในชุมชน
1. โบสถ์คาทอลิก คาทอลิก ได้เข้ามาเผยแพร่ศาสนาราวปี พ.ศ. 2418 โดยบาทหลวงชาวฝรั่งเศส มีการสร้างโบสถ์ให้ชาวบ้านท่าบมสักการะ
2. วัดโพนแก้วบ้านท่าบม วัดโพนแก้วตั้งอยู่ที่วัดท่าบม ม.8 ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
3. โรงเรียนเซนจอห์น ตั้งอยู่ที่บ้านท่าบม ม.9 ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
4. โรงเรียนมหาไถ่ศึกษาท่าบมตั้ง อยู่บ้านท่าบม ม. 8 ตำบลเขาแก้วอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
5. โรงเรียนบ้านท่าบม ตั้งอยู่ที่บ้านท่าบม ม.8ตำบลเขาแก้ว อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
ข้อมูลจาก ประวัติศาสตร์หมู่บ้านและชุมชนในจังหวัดเลย อำเภอเชียงคาน โดย กศน.อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย โครงการหนังสือสามัญประจำบ้าน สำนักงาน กศน. จังหวัดเลย พ.ศ.2553