สาเหตุที่ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านห้วยหินขาว” เนื่องจากมีลำห้วยไหลผ่านหมู่บ้านและหินตามลำห้วยมีสีขาวเป็นส่วนมาก อีกทั้ง สะอาด สวยงาม ชาวบ้านจึงตั้งชื่อหมู่บ้านตามนั้นมา
ประวัติบ้านห้วยหินขาว
หมู่ 2 ตำบลห้วยพิชัย อำเภอปากชม จังหวัดเลย
ความหมายของชื่อหมู่บ้าน
ห้วย หมายถึงลำน้ำที่ไหลจากภูเขา หิน หมายถึงธาตุแข็งชนิดหนึ่ง ซึ่งประกอบเป็นภูเขา ขาว หมายถึงมีสีเหมือนสำลี ผ่องใส บริสุทธิ์ สะอาด ห้วยหินขาว จึงหมายถึงลำธารที่มีหินขาวสะอาดบริสุทธิ์
ประวัติความเป็นมาหมู่บ้าน
ปี พ.ศ.2503 ได้มีราษฎรย้ายถิ่นฐานมาจากบ้านคอนสา ตำบลเชียงกลม กิ่งอำเภอปากชม จังหวัดเลยจำนวน 6 ครอบครัว คือ
1. นายคำฟอง พันธบัวศรี
2. นายวัน ดาหอม
3. นายเฆี่ยน ที่ก่อเกิด
4. นายโดะ ดาหอม
5. นายโกย ดาหอม
6. นายวิน ดาหอม
ได้มาตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของลำห้วยและในปี 2508 ทางราชการได้มีการประกาศจัดตั้งหมู่บ้านห้วยหินขาวขึ้น สาเหตุที่ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านห้วยหินขาว” เนื่องจากมีลำห้วยไหลผ่านหมู่บ้านและหินตามลำห้วยมีสีขาวเป็นส่วนมาก อีกทั้ง สะอาด สวยงาม ชาวบ้านจึงตั้งชื่อหมู่บ้านตามนั้นมา โดยมีผู้นำหมู่บ้านตามลำดับ ดังนี้
1. นายคำ พานะรมย์ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก
ลักษณะที่ตั้งของหมู่บ้าน
บ้านห้วยหินขาว หมู่ที่ 2 ตำบลห้วยพิชัย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอปากชม ห่างจากอำเภอปากชมประมาณ 12 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดเลย ประมาณ 112 กิโลเมตร พื้นที่หมู่บ้านทั้งหมด ประมาณ 1,760 ไร่
อาณาเขตของหมู่บ้าน
ทิศเหนือ ติดกับบ้านห้วยพิชัย หมู่ที่ 1ตำบลห้วยพิชัยทิศใต้ ติดกับบ้านห้วยนาตำบลเชียงกลมทิศตะวันออก ติดกับเขตป่า จังหวัดอุดรธานีทิศตะวันตก ติดกับบ้านนาค้อตำบลปากชม อำเภอปากชม
ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศ มี 3 ฤดู คือ
1. ฤดูร้อน ช่วงเดือน กุมภาพันธ์ - เมษายน
2. ฤดูฝน ช่วงเดือน พฤษภาคม - ตุลาคม
3. ฤดูหนาว ช่วงเดือน พฤศจิกายน - มกราคม
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
แหล่งน้ำ มีแม่น้ำห้วยหินขาว ห้วยหงาวไหลผ่านสภาพป่า ประกอบด้วยไม้ผลัดใบสลับกับป่าไผ่ป่าดิบชื้นดินและแร่ธาตุดินร่วน ดินร่วนปนทราย ดินลูกรัง พบแร่ธาตุเหล็กในบางพื้นที่
ผู้นำชุมชน
1. นายคำ พานะรมย์ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก
2. นายสนั่น วินากร ผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน
แหล่งท่องเที่ยวสถานที่สำคัญ
- น้ำตกตาดใหญ่
- ดูทิวทัศน์ภูหัวโปก
- วัดหงส์ษาวดีวนาราม
ประเพณี / วัฒนธรรม
ด้านขนบธรรมเนียมประเพณีในบ้านห้วยหินขาวได้ยึดหลักจารีตประเพณีที่เคยปฏิบัติมาแต่มีบางอย่างที่หดหายและได้ลดความสำคัญลง ประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้านคือการทำบุญประทายข้าวเปลือก หรือบุญประจำปีขอ
งหมู่บ้าน
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
- ทำเครื่องจักสานไม้ไผ่
- ไพหญ้าคา
ข้อมูลจาก ประวัติศาสตร์หมู่บ้านและชุมชนในจังหวัดเลย อำเภอปากชม โดย กศน.อำเภอปากชม จังหวัดเลย โครงการหนังสือสามัญประจำบ้าน สำนักงาน กศน. จังหวัดเลย พ.ศ.2553