บ้านห้วยพอดคือหมู่บ้านที่เรียกกันตามชื่อลำห้วยพอด คนสมัยก่อนมักแต่งหมู่บ้านใกล้แหล่งน้ำแม่มักจะอาจอาศัยรวมกันเป็นหมู่ขณะที่เป็นชุมชนขนาดเล็กๆ
ประวัติและความเป็นมาของหมู่บ้าน
ห้วย มาจากลำน้ำห้วยที่ไหลผ่านหมู่บ้านมีต้นกำเนิดอยู่ที่บานสงเปือย
พอด มาจาก ภาษาถิ่นของชาวบ้านพูดกันซึ่งภาษากลางเรียกว่าทอดแต่ชาวบ้านเรียกว่าพอดก็คือสายน้ำที่ทอมาต่อกัน
เดิมทีชุมชนบ้านห้วยพอดมีถิ่นกำเนิดมาจากที่อื่นแต่อพยพมาตามที่ต่างๆ จนมาเป็นหมู่บ้านห้วยพอดโดยกลุ่มที่อพยพมากกลุ่มแรกคือ กลุ่มที่มีขุนเพิง เป็นหันหน้า ซึ่งอพยพมาจากน้ำปาดแสนตอ จังหวัดอุตรดิตถ์มาตั้งชุมชนอยู่แถวด้านซ้ายและอพยพมาจนถึงบ้านห้วยพอดปัจจุบัน ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานเป็นเวลาหลายสิบแล้วกลุ่มที่สองค่อยอพยพตามมา คือกลุ่มที่มากจากเมืองอุทัยหรือที่เรียกกันมา เมืองปากลาย แขวงไชยบุรีประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว บ้านห้วยพอดตั้งเป็นหมู่บ้านขนาดเล็กเมื่อปี พ.ศ. 2320โยมีผู้นำของหมู่บ้านคนแรก คือ ขุนเพิง หมู่บ้านที่ตั้งขึ้นแรกๆมีประมาณ 7-10 หลังคาเรือน ต่อมามีการขยายหมู่บ้านออกไปอีกหลายหมู่บ้าน เช่น บ้านน้ำอ้อม บ้านห้วยหินซา บ้านผาพอด บ้านสงเปือย เป็นต้น
บ้านห้วยพอดคือหมู่บ้านที่เรียกกันตามชื่อลำห้วยพอด คนสมัยก่อนมักแต่งหมู่บ้านใกล้แหล่งน้ำแม่มักจะอาจอาศัยรวมกันเป็นหมู่ขณะที่เป็นชุมชนขนาดเล็กๆ เช่นภัยธรรมชาติ ภัยจากสงคราม ภัยจากโรคระบาด เป็นต้น
บริเวณที่ขุนเพิงตั้งหมู่บ้านนั้นเป็นที่ลุ่ม (บริเวณวัดอ้อมแก้วปัจจุบัน) ได้เกิดน้ำท่วมบ่อย ทำให้มีการย้ายบ้านขึ้นมาอยู่บริเวณที่สูงกว่าและมีการจัดตั้งวัดขึ้นบริเวณที่น้ำท่วมไม่ถึง การตั้งวัดของขุนเพิงนั้นไม่ปรากฏว่ามีใครเป็นเจ้าอาวาสหรือมีพระจำพรรษาอยู่วัดขุนเพิงรวมกับชาวบ้านตั้งนั้นได้มีการย้ายวัดไปอยู่บริเวณวัดอ้อมแก้ว ปัจจุบันเป็นที่ปลูกบ้านของชาวบ้านหมดแล้ว
จากปรำวัติความเป็นมา การตั้งบ้านห้วยพอด นั้นไม่ปรากฏหลักฐานที่ชัดเจนแต่คาดว่าจะประมาณ 200-300 ปีมาแล้ว (บันทึกรงเรียนบ้านห้วยพอดอาจารย์กาศ แก้วพิลารมย์)
รายชื่อผู้นำหมู่บ้าน
1. ขุนเพิง
2. ขุนหาญหรือขุนแก้ว
3. พ่อเฒ่าโล๊ะ ไม่ทราบนามสกุล
4. พ่อเฒ่าเขียน ไม่ทราบนามสกุล
5. ผู้ใหญ่สอน ไม่ทราบนามสกุล
6. ผู้ใหญ่คำดี ทุมสงคราม
7. ผู้ใหญ่เละ สุขัง
8. ผู้ใหญ่พุด กองพอด
9. ผู้ใหญ่เฉลิม แก้วพิลารมย์
10. ผู้ใหญ่บัวลัน ผิวศิริ
(จากการเล่าของผู้สูงอายุในหมู่บ้าน ซึ่งอาจจะมีมากกว่านี่) ปัจจุบันบ้านห้วยพอดขยายชุมชนใหญ่ขึ้นตามลำดับ บ้านห้วยพอด จึงได้แบ่งแยกออกเป็น อีกหนึ่งหมู่บ้าน เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2541
สถานที่สำคัญในชุมชน
วัดอ้อมแก้ว ชาบ้านห้วยพอดส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธมีวัดเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจซึ่งก็ได้มีการสร้างวัดขึ้น คือ วัดอ้อมแก้ว ในปี พ.ศ. 2320 ซึ่งเดิมชื่อ วัดบ้านห้วยพอด เหตุที่ชื่อบ้านวัดบ้านห้วยพอดนั้นวัดเก่าไม่ได้ตั้งอยู่ที่ชื่อวัดบ้านห้วยพอดนั้นวัดเก่าไม่ได้ตั้งอยู่ที่ในบริเวณวัดอ้อมแก้วปัจจุบันแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ไกลลำห้วยพอดเพราะกลัวน้ำท่วมต่อมาในชุมชนขยายตัวมากขึ้นจึงย้ายวัดลงมาอยู่ใกล้ลำห้วยพอด หรือบริเวณ วัดอ้อมแก้วปัจจุบันวัดพระแก้วถูกเรียกขานตามภูมิประเทศซึ่งมีลำห้วยสองสายไหลมาบรรจบกัน ทำให้บริเวณวัดมีน้ำไหลมาล้อมรอบจึงรียกว่าวัดอ้อมแก้ว เดิมนั้นมีเนื้อที่ประมาณ 15 ไร่ ต่อมาชาวบ้านได้บุกรุกที่ดินแล้วถือกรมสิทธิ์เป็นของตนเองปัจจุบันวัดอ้อมแก้วจึงมีเนื้อที่เหลืออยู่เพียง 6 ไร่ 10 ตารางวา
เดิมวัดอ้อมแก้วเป็นทั้งวัดทั้งโรงเรียนสอนหนังสือและมีชื่อว่าโรงเรียนประชาบาลตำบลธาตุ 3 (วัดบ้านห้วยพอด ) ตั้งเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2481 โดยอาศัยศาลาวัดเป็นสถานที่เล่าเรียน โดยมีนายผา พาแก้ว ศึกษาธิการอำเภอและขุนสุรสิทธิ์ นายอำเภอขุดป่องเป็นผู้จัดตั้งโดยมีผู้รำรงตำแหน่งครู่ใหญ่คนแรกคือ นายเที่ยง วิจิตรจันทร์ ปิดการเรียนการสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยมีพระภิกษุสุ้ย ศรพรหม เป็นครูน้อย
โรงเรียนบ้านห้วยพอด ตั้งขึ้นเมื่อพ.ศ. 2507 ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2507 ทางราชการได้จัดสรรงบประมาณจัดสร้างอาคารเรียนถาวรแบบ ป1 ช. ขนาด 3 ห้องเรียน ราคาประมาณ 60,000 บาท ได้รับบริจาคที่ดินจากนายเล็ง ศรพรหม สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 2 ตุลาคมพ.ศ. 2507 และเมื่อวันที่ 8 คุลาคม พ.ศ. 2508 ได้ย้ายโรงเรียนเดิมจากวัดอ้อแก้วไปอยู่ที่โรงเรียนแห่งใหม่
ข้อมูลจาก ประวัติศาสตร์หมู่บ้านและชุมชนในจังหวัดเลย อำเภอเชียงคาน โดย กศน.อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย โครงการหนังสือสามัญประจำบ้าน สำนักงาน กศน. จังหวัดเลย พ.ศ.2553