ชาวบ้านท่าลี่อพยพออกจากพื้นที่อุตรดิตถ์จากเมืองปากลาย ซึ่งเป็นแหล่งที่มีปลา อุดมสมบูรณ์ราษฎรอพยพหมู่บ้านอื่นมาอยู่บ้านท่าลี่มากขึ้นตามลำดับจึงได้ชื่อบ้านท่าลี่ หรือบ้านท่าลี่
บ้านท่าลี่
หมู่ที่ 2, 3 ตำบลท่าลี่ อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย
ความหมายของชื่อหมู่บ้าน
บ้านท่าลี่ มีประวัติความเป็นมาเป็นมาตั้งแต่ยุคใด สมัยใด สืบเรื่องราวไม่ได้ความแน่ชัด มีผู้เล่าต่อ ๆ กันมาว่าชาวบ้านท่าลี่อพยพออกจากพื้นที่อุตรดิตถ์จากเมืองปากลาย ราชอาณาจักรลาวในสมัยนั้นมานตั้งถิ่นฐานอยู่ริมแม่น้ำคาน ซึ่งเป็นแหล่งที่มีปลา อุดมสมบูรณ์ มีเครื่องจับปลาที่สานด้วยไม้ไผ่ เรียกว่า ลี่ หรือ หลี่ ได้มี ราษฎรอพยพหมู่บ้านอื่นมาอยู่บ้านท่าลี่มากขึ้นตามลำดับจึงได้ชื่อบ้านท่าลี่ หรือบ้านท่าลี่
บ้านท่าลี่แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 2 หมู่ คือ บ้านท่าลี่ หมูที่ 2 และบ้านท่าลี่ หมู่ที่ 3 สภาพภูมิประเทศพื้นที่ของท่าลี่เป็นที่ราบลุ่มมีแม่น้ำสำคัญไหลผ่านคือ แม่น้ำคาน ซึ่งเกิดจากภูเขาในเขตอำเภอภูเรือ ไหลจากทิศใต้ไปทางทิศเหนือลงสู่แม่น้ำเหือง มีความยาวประมาณ 25 กิโลเมตร ลำน้ำคานมีความรุนแรงซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำล้นตลิ่งและโคล่นถล่มได้ มีพื้นที่จำนวน 5 ตารางกิโลเมตร
สถานที่ท่องเที่ยวและสิ่งก่อสร้างสำคัญ
พระธาตุสัจจะ พระธาตุสัจจะมีลักษณะคล้ายพระธาตุพนมอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอท่าลี่ ประมาณ 2 กิโลเมตร องค์พระธาตุสูง 33 เมตร มีเศวตฉัตร 7 ชั้น ประดิษฐานไว้บนยอดองค์พระธาตุ ใช้เวลาในการก่อสร้าง 4 ปี คือเริ่มวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2519 ตรงกับวันวิสาขบูชาสร้างเสร็จเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523 วัตถุประสงค์ในการสร้างมี 3 คือ
ประกาศที่หนึ่ง เพื่อต่อดวงชะตาพระธาตุพนมที่หักโค่นด้วยพระธาตุสัจจะแทน
ประกาศที่สอง เพื่อเป็นปูชะนีสถานอันเป็นที่เคารพสักการะของลุกหลานสืบไป
ประการที่สาม เพื่อเป็นการตั้งสัจจาบารมีตามอธิฐานของผู้สร้างเอง เพื่อผลต่อการปฏิบัติธรรม
ศิลปะหัตกรรม
เครื่องจักรสานของบ้านท่าลี่ เช่น กระติบข้าว ตระกร้า กระทอ หวดนึ่งข้าว
การทอผ้าด้วยกี่ธรรมดา
การตัดเย็บเสือผ้าของกลุ่มแม่บ้าน
ประเพณี การเส็งกลอง ประเพณีที่ต้องช่วยฟื้นฟู
จากการศึกษาประวัติความเป็นมาของชาวท่าลี่ ทำให้ทราบว่าอำเภอท่าลี่มีการละเล่นพื้นเมืองชนิดหนึ่ง ซึ่งสืบทอดกันมาประมาณ 70 – 90 ปีมาแล้ว คือ การเส็งกลอง ซึ่งปัจจุบันได้เลิกเล่นไปเป็นเวลา 20 – 30 ปี และจากการพูดคุยกับชาวบ้านส่วนใหญ่ โดยเฉพาะผู่เฒ่าผู้แก่ ได้กล่าวว่า การเส็งกลองเป็นการละเล่นที่สนุกสนานที่สุดสำหรับประชาชนในสมัยนั้น
ความหมายของการเส็งกลอง
เส็งเป็นภาษาพื้นบ้าน แปลว่าการแข่งขัน ดังนั้นการเส็งกลองจึงมีความหมายว่า การแข่งขันตีกลอง เพื่อให้ดูว่ากลองของใครจะมีเสียงดังกว่ากัน กลองที่ใช้สำหรับนำมาเส็งหรือนำมาแข่งขัน มีชื่อเรียกว่า กลองกิ่ง
การแข่งขันการแข่งขันแบ่งออกเป็น 23 ฝ่าย แต่ละฝ่ายจะมีกลอง 2 ลูก โดยมีเสาแล้วนำกลองไปแขวนคู่กัน หรือนำไปวางคู่กัน แต่ละฝ่ายจะพลัดการเข้าไปตีกลองของตน
การตัดสินจะมีกรรมการฟังเสียงกลองทั้งสองฝ่าย สลับกันไปมาเพื่อจะได้เปรียบเทียบกัน ถ้ากลองกิ่งของใครดังกล่าว ก็จะกลบเสียงกลองของอีกฝ่ายหนึ่งหมด
ข้อมูลจาก ประวัติศาสตร์หมู่บ้านและชุมชนในจังหวัดเลย อำเภอปากชม โดย กศน.อำเภอปากชม จังหวัดเลย โครงการหนังสือสามัญประจำบ้าน สำนักงาน กศน. จังหวัดเลย พ.ศ.2553