ซำ หมายถึง น้ำซับ พร้าว หมายถึง มะพร้าว ซึ่งเป็นตระกูลปาล์ม ต้นสูงชะลูดมีใบตอนปลาย ผลโตขนาดศีรษะ ใช้รับประทานได้ทั้งน้ำและเนื้อ บ้านซำพร้าว หมายถึง หมู่บ้านที่ตั้งอยู่ตรงน้ำซับซึ่งผู้ให้ข้อมูลว่า น้ำซับนั้นใสสะอาดเหมือนน้ำมะพร้าว จึงเรียกว่า ซำพร้าว
ประวัติบ้านซำพร้าว
หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านเพิ่ม อำเภอผาขาว จังหวัดเลย
ความหมายของชื่อหมู่บ้าน
ซำ หมายถึง น้ำซับ พร้าว หมายถึง มะพร้าว ซึ่งเป็นตระกูลปาล์ม ต้นสูงชะลูดมีใบตอนปลาย ผลโตขนาดศีรษะ ใช้รับประทานได้ทั้งน้ำและเนื้อ บ้านซำพร้าว หมายถึง หมู่บ้านที่ตั้งอยู่ตรงน้ำซับซึ่งผู้ให้ข้อมูลว่า น้ำซับนั้นใสสะอาดเหมือนน้ำมะพร้าว จึงเรียกว่า ซำพร้าว
ประวัติความเป็นมาของการตั้งหมู่บ้าน
เมื่อ พ.ศ 2517 ราษฎรยังอยู่ตามไร่ของตนและที่ตรงนี้ยังขึ้นอยู่กับบ้านดงน้อย หมู่ที่14 ตำบลผาขาว อยู่ต่อมาเมื่อปี พ.ศ 2520 นายทองม้วน สิงทองราช ได้ชักชวนชาวไร่มาอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม เมื่อปี พ.ศ 2522 จึงขอแยกออกจากบ้านดงน้อย หมู่ที่ 14 ตำบลผาขาวและตั้งหมู่บ้านได้เป็นผลสำเร็จและตั้งผู้ใหญ่บ้าน คนที่ได้คือ นายทองม้วน สิงห์ทองราช เป็นคนแรก
สถานที่อ้างอิงทางประวัติศาสตร์
ศาลตูบตาปู่ 3 แห่งคือ
แห่งที่ 1 อยู่ใต้ต้นไทรเนิ้ง เรียกว่า ศาลเจ้า ซึ่งเฒ่าแก่อ้อยมาทำการปลูกอ้อยก่อสร้างศาลตูบตาปู่ไว้
แห่งที่ 2 อยู่บริเวณน้ำซับ เรียกว่า ศาลปู่ซำ จะเป็นบริเวณที่สมัยก่อนเล่ากันว่า มีนักเล่นการพนันคนหนึ่งไปพบลูกแก้วตาทิพย์อยู่ ณ บริเวณน้ำซับแล้วนำไปเสี่ยงโชคเล่นการพนันส่องดูไฮโลว่าขึ้นตัวไหน แล้วก็แทง ถูกทุกครั้งต่อมาของศักดิ์สิทธิ์อยู่กับคนที่ถือไม่ได้ เลยนำลูกแก้วไปคืนไว้ที่เดิมและต่อมาทุกวันพระจะมีคนเห็นลูกแก้วลอยตั้งแต่ภูผายาข้ามไปยังภูผาขาว
แห่งที่ 3 ศาลหลักบ้าน หรือ ศาลหลักเมือง อยู่บริเวณศาลากลางบ้าน
ข้อมูลจาก ประวัติศาสตร์หมู่บ้านและชุมชนในจังหวัดเลย อำเภอนาผาขาว โดย กศน.อำเภอผาขาว จังหวัดเลย โครงการหนังสือสามัญประจำบ้าน สำนักงาน กศน. จังหวัดเลย