หนามแท่ง เป็นชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่ง ไม้ใหญ่มากนัก เป็นต้นไม้ ทีมีหนามแหลมคม ทนทานอยู่รอบ ๆ ลำต้นและกิ่งทั่วไป
ประวัติบ้านหนามแท่ง
หมู่ที่ 7ตำบลด่านซ้าย อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย
ความหมายของชื่อหมู่บ้าน
หนามแท่ง เป็นชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่ง ไม้ใหญ่มากนัก เป็นต้นไม้ ทีมีหนามแหลมคม ทนทานอยู่รอบ ๆ ลำต้นและกิ่งทั่วไป
ประวัติความเป็นมาของการตั้งชื่อหมู่บ้าน
บ้านหนามแท่งก่อตั้งในราว พ.ศ. 2249 หรือประมาณ 300 ปี มาแล้ว เมื่อก่อนบริเวณที่ตั้งหมู่บ้านเต็มไปด้วยต้นหนามแท่ง ซึ่งเป็นต้นไม้ชนิดหนึ่ง ลำต้นมีหนามรอบต้น ลักษณะใบเป็นวงรี หนา ประโยชน์ของต้นหนามแท่งใช้ประกอบกับยารักษาแก้เบื่อหรือแก้อาหารเป็นพิษและประกอบกับพวกยาจำพวกแก้ไขที่หมดชาวบ้านเรียกว่า ไข้ออกตุ่ม จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านตามชื่อของต้นไม้ชนิดนี้ว่า บ้านหนามแท่ง
บุคคลสำคัญทางประวัติศาสตร์
พระครูลุน ฤาศร ผู้หน่งกับเพียวิเศษ ได้เป็นผู้ลอกตำนานพระธาตุศรีสองรักจารึกใส่แผ่นหินไว้ เป็นผู้มีชื่อเสียงโด่งดังในทางมีมีวิชาอาคารแก่กล้ามากจนสามารถหายตัวได้แต่ชอบดื่มเหล้า การดื่มเหล้าเป็นการดื่มด้วยวิชาอาคมเท่านั้น มีอยู่ครั้งหนึ่งพระปาฏิโมกข์จากกรุงเทพมาไล่ให้สึก พอพระครูลุนใช้วิชาอำนาจในตัวเปล่งรัศมีใส่พระปาฏิโมกข์จนใจอ่อนยอมดื่มเหล้ากับพระครูลุนด้วย แล้วพระปาฏิโมกข์ก็ก้มกราบขอขมาลากลับไปด้วยความงงงันยิ่งเพิ่มชื่อเสียงให้แก่พระครูลุนโด่งดังไปอีก
พระครูลุนมีความสามารถนำเงือกมาเลี้ยงไว้ได้ โดยพระครูลุนนำเงือกมาจาก “หนองแดง” (คือพื้นที่บ้านหนองสิม ต.นามาลา อ.นาแห้ว) โดยใช้ใบตองบอน (ใบบอน) ห่อมา แล้วนำมาปล่อยไว้ที่บริเวณหนองสิม (หนองน้ำของบ้านนาทุ่ม อยู่ตรงข้ามกับโรงเรียนบ้านนาทุ่ม) เพื่อให้มีน้ำใช้ตลอดปี
สถานที่ทางศาสนา
วัดศรีสะอาดบ้านหนามแท่ง เป็นวัดที่มีกุฏิกว้างใหญ่ถึง 9 ห้อง สร้างโดยการนำของพระครูลุนด้วยความร่วมมือจากชาวบ้านหลายหมู่บ้านมีบ้านหนามแท่ง นาทุ่ม นาลีเทียน นาจาน และหนองฟ้าแลบ และเป็นวัดที่มีที่ดินมากเป็นนาปลูกข้าวได้หลายสิบไร่ และปลูกไม้สักเป็น 10 ไร่ พอสิ้นพระครูลุทรัพย์สินเหล่านี้ก็กระจัดกระจาย ไปอยู่กับผู้มีอำนาจแต่ละสมัย จนเหลือเพียงบริเวณที่ตั้งของวัดประมาณ 4 ไร่เศษ ส่วนกุฏิ 9 ห้อง ก็ถูกรื้อทำลายหมด กุฏิ 9 ห้องนั้น สร้างขึ้นโดยไม่ใช้ตะปู แต่ใช้ไม้เป็นลิ่มแทนตะปู เสาทุกนต้นตั้งไว้บนหิน โดยเจาะหินเป็นวงกลม แล้วใช้เสาสวมไว้กับหินที่เจาะ หลังคามุงด้วยตับจาก (ภาษาพื้นบ้านเรียกว่า เกล็ด ซึ่งทำมาจากแผ่นไม้) ต่อมาใช้หญ้าแทน
โบราณวัตถุ
1. ตู้เก็บหนังสือธรรม 1 หลัง ตู้หนังสือใช้เก็บหนังสือธรรมะ ซึ้งเป็นใบลานจารเป็นตัวหนังสือที่เรียกว่า อักษรธรรม มีหลายชนิดเป็นประเภทตำราโหราศาสตร์ และหนังสือธรรมพระไตรปิฎก ปัจจุบันสูญหายบ้าง ปลวกกัดจนขาดบ้างหรือพระที่มาบวชระยะหลัง ๆ นำติดตั้งไปเก็บไว้ศึกษาส่วนตัวบ้าง
2. โปงไม้โบราณ
3. กลองกริ่ง
4. พระประธานเก่าแก่ อยู่ในโบสถ์ มีอายุประมาณ 200 ปี (สตรีห้ามเข้าภายในโบสถ์)
5. พระหิน (พระที่ใช้หินแกะสลัก)
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
1. จักสาน คุณตาห่วน บุญไทย, คุณตาสนิท ทรงพุฒิ, คุณตากองคำ อรรคสูรย์, คุณตากลั่น เชื้อบุญไทย, นายหวัน สุทธิ และนายพรพิศ พันธ์โสดา
2. หมอเป่า คุณยายระบำ พันธ์โสด, คุณตาโสภา สุทธิ, คุณยายจันดี บุญธรรม, คุณตาชุน พรหมรักษา, คุณตากอง มิ่งแก้ว, นายชมดอง แสงศิริ และนายประยูร สุทธิ
3. หมาดูยาม พระคุณสุกิจ สาระวิมล (เจ้าอาวาสวัดศรีสะอาด บ้านหนามแท่ง) และนายประยูร สุทธิ
4. ทำบายศรีสู่ขวัญ คุณยายสมปอง บุญธรรม, คุณยายก่อง นนทะโคตร และคุณยายบุญมา เชื้อบุญมี
5. การทำหน้ากากผีตาโขน นายพลวัฒน์ เสนานุช และคณะ
ศิลปะประดิษฐ์
1. สานสวิง นางบุญปัน พันธ์เพ็ง, นางประดิษฐ์ นนทะโคตร และคุณยายบัวหลัน เสนานุช
2. สานแห นายหวัน สุทธิ, นายสม ศรีพรหม และนายมานิย์ ทรงพุฒิ
ของดีบ้านหนามแท่ง
1. หน่อไม้หวาน
2. น้ำผักสะทอน
ข้อมูลจาก ประวัติศาสตร์หมู่บ้านและชุมชนในจังหวัดเลย อำเภอด่านซ้าย โดย กศน.อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย โครงการหนังสือสามัญประจำบ้าน สำนักงาน กศน. จังหวัดเลย