หมู่บ้านคกเว้า แต่เดิมชื่อหมู่บ้านคกเบ้า ซึ่งมีความเป็นมาดังนี้ คือ เพราะว่ามีชาวเรือที่ล่องเรือผ่านแก่งจันทร์ (เกาะแก่งในแม่น้ำโขง) ห้ามพูดกันช่วงผ่านแก่งเพาะน้ำไหลเชี่ยวและแรงมาก เมื่อเรือผ่านแก่งจันทร์มาได้ จึงมา เว้า (พูด) กันที่ คก คำว่า คก หมาย
ประวัติบ้านคกเว้า
หมู่ 2 ตำบลหาดคัมภีร์ อำเภอปากชม จังหวัดเลย
ความหมายของชื่อหมู่บ้าน
คก หมายถึง ที่น้ำวน มีลักษณะเว้าเข้าไปในแผ่นดิน
เว้า หมายถึง พูด (ภาษาอีสาน)
ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน
หมู่บ้านคกเว้า แต่เดิมชื่อหมู่บ้านคกเบ้า ซึ่งมีความเป็นมาดังนี้ คือ เพราะว่ามีชาวเรือที่ล่องเรือผ่านแก่งจันทร์ (เกาะแก่งในแม่น้ำโขง) ห้ามพูดกันช่วงผ่านแก่งเพาะน้ำไหลเชี่ยวและแรงมาก เมื่อเรือผ่านแก่งจันทร์มาได้ จึงมา เว้า (พูด) กันที่ คก คำว่า คก หมายถึงที่น้ำวน มีลักษณะเว้าไปในแผ่นดิน ชาวบ้านจึงเรียกว่า คกเว้า มาจนถึงปัจจุบัน
ลักษณะที่ตั้งของหมู่บ้าน
บ้านคกเว้า ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอปากชม ตามถนนสายปากชม – ศรีเชียงใหม่ ห่างจากอำเภอปากชมประมาณ 26 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดเลยประมาณ 135 กิโลเมตร สภาพพื้นที่ทั่วไปส่วนใหญ่เป็นภูเขาลูกฟูกริมฝั่งแม่น้ำโขง เหมาะแก่การเกษตรกรรม
อาณาเขตติดต่อของหมู่บ้าน
ทิศเหนือ ติดต่อแม่น้ำโขงและสาธารณรัฐ
ประชาธิปไตยประชาชนลาว
ทิศใต้ ติดต่อติดต่อกับบ้านนาโม้
ทิศตะวันออก ติดต่อกับบ้านห้วยขอบ
ผู้นำชุมชน
1. นายทัน หำพิลา อดีตผู้ใหญ่บ้าน
2. นายเงา กิ่งวาจา อดีตผู้ใหญ่บ้าน
3. นายใบ กำกูด อดีตผู้ใหญ่บ้าน
4. นายบัวลี โสดาบัน อดีตผู้ใหญ่บ้าน
5. นายชอบ ขาวสูง อดีตผู้ใหญ่บ้าน
6. นายเทเวศร์ อุทาลุน อดีตผู้ใหญ่บ้าน
7. นายเสถียร โสดาบัน ผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน
สถานที่ท่องที่ยว
ห้วยหินสอ เป็นลำน้ำที่เกิดจากภูเขาสูง ไหลลงสู่ที่ราบทำให้เกิดเกิดแม่น้ำน้อยหินมีโขดหินคล้ายดินสอพอง รูปร่างลักษณะโดยสังเขปเป็นห้วยลำธารเล็กๆ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของลำน้ำห้วยขอบ อยู่ห่างจากหมู่บ้านไปทางทิศตะวันออก ของหมู่บ้าน ประมาณ 5 กิโลเมตร ถ้ามีน้ำมากจะดูสวยงาม แต่ปัจจุบันไม่ค่อยมีผู้สนใจ
ข้อมูลจาก ประวัติศาสตร์หมู่บ้านและชุมชนในจังหวัดเลย อำเภอปากชม โดย กศน.อำเภอปากชม จังหวัดเลย โครงการหนังสือสามัญประจำบ้าน สำนักงาน กศน. จังหวัดเลย พ.ศ.2553