ได้ตั้งชื่อขึ้นตามชื่อขงนายพิชัย ซึ่งเป็นพรานป่าที่ทำการล่าเนื้อในพื้นที่แห่งนี้อยู่เป็นเวลานาน จนในที่สุดได้ล้มตายลงในบริเวณป่าลำห้วย ซึ่งไหลผ่านหมู่บ้านนี้ คนต่อ ๆมาจึงเรียกชื่อลำห้วยนี้ว่า ห้วยพิชัย
ประวัติศาสตร์บ้านห้วยพิชัย
หมู่ 1 ตำบลห้วยพิชัย อำเภอปากชม จังหวัดเลย
ความหมายของชื่อหมู่บ้าน
ห้วย น้ำที่ไหลมาจากภูเขา
พิชัย ชื่อนายพรานที่เข้ามาอาศัยคนแรกได้ตั้งชื่อขึ้นตามชื่อขงนายพิชัย ซึ่งเป็นพรานป่าที่ทำการล่าเนื้อในพื้นที่แห่งนี้อยู่เป็นเวลานาน จนในที่สุดได้ล้มตายลงในบริเวณป่าลำห้วย ซึ่งไหลผ่านหมู่บ้านนี้ คนต่อ ๆมาจึงเรียกชื่อลำห้วยนี้ว่า ห้วยพิชัย ดังนั้นจึงตั้งชื่อหมู่บ้านตามชื่อลำห้วยดังกล่าว
ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน
บ้านห้วยพิชัย หมู่ 1 ได้ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2477 โดยนายมี พิลาชัย พร้อมครอบครัวได้ย้ายถิ่นฐานจากบ้านนาอ้อมาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณป่าดงใหญ่ บ้านห้วยพิชัย เดิมมีประชากรอยู่จำนวน 6 ครัวเรือน ได้แก่
1. ครอบครัวของ นายมี พิลาชัย
2. ครอบครัวของ นายวัน พิลาชัย
3. ครอบครัวของ นายดี คำมานิตย์
4. ครอบครัวของ นายลอย สาริยา
5. ครอบครัวของ นายมั่น พิลาชัย
6. ครอบครัวของ นายบุญทัน จันทราศรี
และได้ขึ้นอยู่กับตำบลปากชม หมู่ที่ 13 อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
ปี พ.ศ. 2480 ทางราชการได้ตั้งชื่อหมู่บ้านห้วยพิชัย หมู่ที่ 13 ตำบลปากชม จังหวัดเลย โดยมี นายมีพิลาชัย เป็นผู้ใหญ่บ้านต่อมามีประชากรที่อพยพเข้ามาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
ปี พ.ศ. 2505 ได้เปลี่ยนแปลงผู้นำใหม่คือ นายสี พิลาชัย เป็นผู้ใหญ่บ้าน
ปี พ.ศ. 2506 ทางราชการได้จัดตั้งกิ่งอำเภอปากชม จังหวัดเลย โดยมีปลัดจำลอง สิมพลี เป็นปลัดกิ่งอำเภอปากชม บ้านห้วยพิชัย ขึ้นกับตำบลปากชม มีกำนัน ฝน หงษ์แพง เป็นกำนันในช่วงปี พ.ศ. 2517 – 2520 จากการนำของผู้ใหญ่สี พิลาชัย ได้สร้างวีรกรรมทำประโยชน์กับชาติบ้านเมืองโดยร่วมทำสงครามกับผู้ก่อการร้าย(คอมมิวนิสต์) และสามารถเอาชนะพวกนิยมระบบคอมมิวนิสต์ได้จนได้รับการยกย่องเป็นผู้ใหญ่บ้านดีเด่นจนได้รับพระราชทานรางวัลแหนบทองคำ
ปี พ.ศ. 2524 บ้านห้วยพิชัยได้รับยกระดับให้จัดตั้งเป็นตำบลห้วยพิชัย มีกำนันมาแล้ว 3 คน คนที่ 1 คือนายประนอม พลหอม คนที่ 2 นายสงกรานต์ ดีมั่น ปัจจุบันมีนายมนูศักดิ์ น้อยเพียง เป็นกำนัน
ปี พ.ศ. 2534 นายสี พิลาชัย เกษียณอายุราชการและได้มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านคือ นายหนูเลี่ยง ใจเที่ยง
ในปี พ.ศ. 2542 นายหนูเลี่ยง ใจเที่ยง ได้ลาออก และได้มีการเลือกตั้งใหม่ ปัจจุบันมี นายบุญจันทร์ ชัยชนะ เป็นผู้ใหญ่บ้าน
ด้านขนบธรรมเนียมประเพณีในบ้านห้วยพิชัย ได้ยึดหลักจารีตประเพณีที่เคยปฏิบัติมาแต่มีบางอย่างที่หดหายและได้ลดความสำคัญลง ประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้านคือการทำบุญประทายข้าวเปลือก หรือบุญประจำปีของหมู่บ้าน นับถือศาสนาพุทธมีประชาชนในหมู่บ้านประมาณ 871 คน 218 หลังคาเรือน ประชากร
ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และมีส่วนหนึ่งประกอบอาชีพรับจ้างและไปทำงานต่างจังหวัด ทำให้มีผลกระทบต่อครอบครัวพอสมควร สภาพความเป็นอยู่ของประชากรส่วนใหญ่ยากจน ในหมู่บ้านมีระบบสาธารณูปโภค ประปา ไฟฟ้า สถานีอนามัยและมีโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ผู้ปกครองเริ่มสนใจนำบุตรหลานมาศึกษาต่อมากขึ้นและเห็นความสำคัญของการศึกษามากขึ้น
ลักษณะที่ตั้งหมู่บ้าน
สภาพโดยทั่วไปเป็นเขตที่ราบบนภูเขาและที่ราบระหว่างภูเขา ซึ่งใช้เพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรและใช้เป็นที่อยู่อาศัย
สภาพทางภูมิศาสตร์บ้านห้วยพิชัย หมู่ 1 เป็นเขตที่ราบบนภูเขาและที่ราบระหว่างภูเขา ซึ่งใช้เพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรและใช้เป็นที่อยู่อาศัย
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับบ้านห้วยหินขาว หมู่ 2
ทิศใต้ ติดต่อกับบ้านโนนสว่าง หมู่ 9
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอน้ำโสมจังหวัดอุดรธานี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลปากชม
การรวมกลุ่มในชุมชน
1. กลุ่มเลี้ยงโคกระบือ
2. กลุ่มทำสวนยางพารา
3. กลุ่มออมทรัพย์
การคมนาคม
การคมนาคมสามารถติดต่อกับอำเภอใกล้เคียงและจังหวัดเลย ตามเส้นทางดังต่อไปนี้
1. ติดต่อกับอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ถนนสายปากชม – เชียงคาน ระยะทาง 50 กม.
2. ติดต่อกับอำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย ถนนสายปากชม – ศรีเชียงใหม่ ระยะทาง 60 กม.
3. ติดต่อกับจังหวัดเลย ถนนสายปากชม – บ้านธาตุ ระยะทาง 100 กม.
ผู้นำชุมชน
1. นายมี พิลาชัย ผู้ใหญ่บ้าน
2. นายสี พิลาชัย ผู้ใหญ่บ้าน
3. นายฝน หงษ์แพง กำนันตำบล
4. นายประนอม พลหอม กำนันตำบล
5. นายสี พิลาชัย ผู้ใหญ่บ้าน
6. นายหนูเลี่ยง ใจเที่ยง ผู้ใหญ่บ้าน
7. นายบุญจันทร์ ชัยชนะ ผู้ใหญ่บ้าน
สถานที่สำคัญแหล่งท่องเที่ยว
ทิวทัศน์บริเวณถนนห้วยพิชัย-ห้วยหินขาว
วัดโพนสว่าง ท่องเที่ยวเชิงเกษตร ถ้ำผาตั้ง
ประเพณี / วัฒนธรรม
ด้านขนบธรรมเนียมประเพณีในบ้านห้วยพิชัย ได้ยึดหลักจารีตประเพณีที่เคยปฏิบัติมาแต่มีบางอย่างที่หดหายและได้ลดความสำคัญลง ประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้านคือการทำบุญประทายข้าวเปลือก หรือบุญประจำปีของหมู่บ้าน ประชาชนนับถือศาสนาพุทธมีประชาชนในหมู่บ้านประมาณ 871 คน 218 หลังคาเรือน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และมีส่วนหนึ่งประกอบอาชีพรับจ้างและไปทำงานต่างจังหวัด ทำให้มีผลกระทบต่อครอบครัวพอสมควร สภาพความเป็นอยู่ของประชากรส่วนใหญ่ยากจน ในหมู่บ้านมีระบบสาธารณูปโภค ประปา ไฟฟ้า สถานีอนามัยและมีโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ผู้ปกครองเริ่มสนใจนำบุตรหลานมาศึกษาต่อมากขึ้นและเห็นความสำคัญของการศึกษามากขึ้น ชาวบ้านนับถือศาสนาพุทธ จำวน 871 คน
ข้อมูลจาก ประวัติศาสตร์หมู่บ้านและชุมชนในจังหวัดเลย อำเภอปากชม โดย กศน.อำเภอปากชม จังหวัดเลย โครงการหนังสือสามัญประจำบ้าน สำนักงาน กศน. จังหวัดเลย พ.ศ.2553