ชาวบ้านอพยพจากหมู่บ้านห้วยไค้ เมื่อปี พ.ศ. 2477 อพยพเข้ามาตั้งแต่บ้านเรือนอยู่ใกล้อ่างน้ำ จึงตั้งชื่อหมู่บ้านแห่งนี้ว่า บ้านบวกอ่าง
บ้านบวกอ่าง
หมู่ที่ 2 ตำบลโคกใหญ่ อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย
ความหมายของชื่อหมู่บ้าน
บวก เป็นภาษาพื้นบ้าน หมายถึง แอ่งน้ำ หรือแอ่งน้ำธรรมชาติ เป็นแอ่งหิน ซึ่งมีลักษณะเหมือนอ่างน้ำที่มีน้ำขังอยู่ตลอดปี มีขนาดความกว้างประมาณ 8 เมตร ยาวประมาณ 6 เมตร และมีความลึก 2 เมตร
ประวัติความเป็นมาของการตั้งชื่อหมู่บ้าน
จากการบอกเล่าของราษฎรบ้านบวกอ่าง ได้เล่าให้ฟังว่า ได้มีชาวบ้านอพยพจากหมู่บ้านห้วยไค้ เมื่อปี พ.ศ. 2477 อพยพเข้ามาตั้งแต่บ้านเรือนอยู่ใกล้อ่างน้ำ จึงตั้งชื่อหมู่บ้านแห่งนี้ว่า บ้านบวกอ่าง
บ้านบวกอ่าง หมู่ที่ 2 ตำบลโคกใหญ่ อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย เริ่มก่อตั้งประมาณปี พ.ศ. 2480 เมื่อประมาณ 70 กว่าปีมาแล้ว คนที่มาตั้งหำมู่บ้านครั้งแรก คือ นายเพ็ง สวัสดิภักดิ์, พร้อมด้วย นายอำคา วงผาบุตร, นายสิมมา ไชยคีรี, นายบุญมา วงค์คำโสม ซึ่งเป็นน้องเขย, นายอ่อน เขาลาด ได้อพยพครอบครัว มาตั้งบ้านเรือนใหม่ที่บริเวณป่าทางทิศเหนือ ห่างจากหมู่บ้านห้วยไค้ ประมาณ 4 กิโลเมตร ซึ่งบริเวณดังกล่าวมีความอุดมสมบูรณ์ มีลำห้วยและน้ำไหลผ่านตลอดปี ปัจจุบันคือลำห้วยสระแร ในลำห้วยสระแรมีบวกน้ำอยู่ 1 แห่ง นายเพ็ง พร้อมพวก จึงได้เอาชื่อบวกนำของห้วยสระแร มาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้าน จึงได้เรียกว่า “บ้านบวกอ่าง” ตั้งแต่นั้นมา มีนายอำคา วงค์ผาบุตร เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก สมัยนั้นได้ขึ้นการปกครองเป็นหมู่ที่ 4 ตำบลท่าลี่ อำเภอท่าลี่ ซึ่ง นายเพ็ง สวัสดิภักดิ์ ได้นำเข้ามาอยู่หมู่บ้าน มีห้วยสระแรไหลผ่าน ห้วยสระแร เป็นอ่างหินใหญ่มาก จึงได้ฉายาว่า บ้านบวกอ่าง ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2526 อำเภอท่าลี่ได้ขยายแบ่งเขตการปกครองใหม่โดยแบ่งตำบลท่าลี่ออกเป็นอีกตำบลหนึ่งคืน ตำบลโคกใหญ่ บ้านบวกอ่างได้ขึ้นการปกครองกับตำบลโคกใหญ่ เป็นหมู่ที่ 2 ตั้งแต่นั้นมา มีผู้ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านมาแล้ว รวม 7 คน มาจนถึงปัจจุบันนี้ ผู้ใหญ่บ้านคนแรก คือ นายอำคา วงผาบุตร
ศิลปหัตถกรรมที่สวยงามและมีชื่อเสียง
- ผ้าถักทอมือ สินค้าโอทอปบ้านบอกอ่าง
ข้อมูลจาก ประวัติศาสตร์หมู่บ้านและชุมชนในจังหวัดเลย อำเภอปากชม โดย กศน.อำเภอปากชม จังหวัดเลย โครงการหนังสือสามัญประจำบ้าน สำนักงาน กศน. จังหวัดเลย พ.ศ.2553