เมื่อปี พ.ศ. 2420 มีราษฎรซึ่งย้ายมาจากต่างหมู่บ้าน และต่างจังหวัด เข้ามาอยู่ในพื้นที่แห่งนี้ ที่เห็นว่ามี มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับตั้งเป็นหมู่บ้าน และได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่าบ้านปากยางพัฒนา ซึ่งต่อมาคำว่า พัฒนาได้เลือนหายไป คงเหลือแต
บ้านปากยาง
หมู่ที่ 6 ตำบลน้ำแคม อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย
ความหมายของชื่อหมู่บ้าน
หมายถึง หมู่บ้านที่ตั้งอยู่บริเวณปากห้วยยาง ซึ่งมีต้นยางขึ้นเต็มไปหมด ไม้ยางเป็นไม้ยืนต้นมีขนาดใหญ่และสูงมาก ไม้ยางมีน้ำมันอยู่ในลำต้นเรียกว่า “น้ำมันยาง” ใช้ทำใต้จุดแทนตะเกียงได้
ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน
เมื่อปี พ.ศ. 2420 มีราษฎรซึ่งย้ายมาจากต่างหมู่บ้าน และต่างจังหวัด เข้ามาอยู่ในพื้นที่แห่งนี้ ที่เห็นว่ามี มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับตั้งเป็นหมู่บ้าน ต่อมามีจำนวนราษฎรขยายเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนครั้งหนึ่ง เมื่อปี พ.ศ. 2513 ได้เกิดอัคคีภัยครั้งใหญ่ สาเหตุเกิดจากการเผาไร่ลุกลามมาติดบ้านเรือน เกิดความเสียหายทั้งหมู่บ้าน จอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรี ได้เดินทางมาที่บ้านปากยาง มอบสิ่งของเครื่องอุปโภค บริโภคเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และสั่งการให้ทหารช่างจัดทำแผนผังหมู่บ้าน รวมทั้งสร้างบ้านให้กับราษฎรทุกครัวเรือน เมื่อทหารช่างดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว จอมพลถนอม กิตติขจร ได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่าบ้านปากยางพัฒนา ซึ่งต่อมาคำว่า พัฒนาได้เลือนหายไป คงเหลือแต่คำว่า “บ้านปากยาง” มาจวบจนถึงปัจจุบันนี้
ผลิตภัณฑ์ในหมู่บ้าน (ภูมิปัญญาท้องถิ่น)
- เครื่องจักสาน น้ำยาเอนกประสงค์ ยาสระผม สบู่เหลว ฯลฯ
ข้อมูลจาก ประวัติศาสตร์หมู่บ้านและชุมชนในจังหวัดเลย อำเภอปากชม โดย กศน.อำเภอปากชม จังหวัดเลย โครงการหนังสือสามัญประจำบ้าน สำนักงาน กศน. จังหวัดเลย พ.ศ.2553