เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2474 ชาวบ้านได้อาศัยลำห้วยปวนแล้งใช้ในการอุปโภคบริโภค ช่วงฤดูแล้งน้ำลำห้วยปวนแล้งลดลง จะมองเห็นโขดหินใหญ่คล้ายพระจันทร์ครึ่งเสี้ยวอยู่กลางลำห้วย จึงเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้าน
ประวัติบ้านหินเกิ้ง
หมู่ที่ 4 ตำบลโคกขมิ้น อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2474 มีราษฎร 6 ครอบครัว ได้อพยพมาจากบ้านป่าบง มาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านหินเกิ้งปัจจุบัน ซึ่งห่างจากบ้านป่าบงประมาณ 5 กิโลเมตร ชาวบ้านได้อาศัยลำห้วยปวนแล้งใช้ในการอุปโภคบริโภค ช่วงฤดูแล้งน้ำลำห้วยปวนแล้งลดลง จะมองเห็นโขดหินใหญ่คล้ายพระจันทร์ครึ่งเสี้ยวอยู่กลางลำห้วย จึงเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้าน
ชื่อที่มาของหมู่บ้าน
แต่ก่อนประชากรที่อพยพมาตั้งถิ่นฐานที่อยู่ที่บ้านหินเกิ้ง ได้ไปเห็นก้อนหินที่มีรูปร่างคล้ายพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว แต่คนโบราณอีสานเรียกพระจันทร์ครึ่งเสี้ยวว่า อีเกิ้ง ก็เลยเรียกชื่อหมู่บ้านตามก้อนหินที่มีรูปร่างคล้ายพระจันทร์ครึ่งเสี้ยวว่า บ้านหินเกิ้ง ( บ้านหินเกิ้ง หมายถึง บ้านที่มีหินรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว )
ข้อมูลจากประวัติศาสตร์หมู่บ้านและชุมชนในจังหวัดเลย อำเภอวังสะพุง โดย กศน.อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย โครงการหนังสือสามัญประจำบ้าน สำนักงาน กศน. จังหวัดเลย