เห็นดินแดนแห่งหนึ่งมีความสวยงาม อุดมไปด้วยพืชพันธุ์ ธัญญาหารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม ติดกับแม่น้ำเลยซึ่งเหมาะแก่การสร้างบ้านเมือง และให้ชื่อดินแดนแห่งนี้ว่า “ บ้านนาหลัก ”
ประวัติบ้านศรีบุญเรือง
หมู่ที่ 10 ตำบลวังสะพุง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย
ประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน
เมื่อ 300 ปีมาแล้ว ณ ดินแดนแห่งนี้เชื่อกันว่าบรรพบุรุษเป็นพวกไทยก๊กล้านช้าง เดิมอยู่เมืองเวียงจันทร์ มีเจ้าพ่อศรีสงครามเป็นผู้ครองนคร เมื่อเมืองเวียงจันทร์หมดอำนาจลง จึงได่พาทหารและชาวบ้านอพยพมาเรื่อยๆ และได้มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านห้วยหยวกเมืองโสม อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี ประมาณปี พ.ศ. 2286 ต่อมาพรานโสซึ่งเป็นน้องชายของเจ้าพ่อศรีสงคราม ได้มาล่าเนื้อตามลำน้ำเลย เห็นดินแดนแห่งหนึ่งมีความสวยงาม อุดมไปด้วยพืชพันธุ์ ธัญญาหารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม ติดกับแม่น้ำเลยซึ่งเหมาะแก่การสร้างบ้านเมือง จึงได้ไปกราบทูลให้เจ้าพ่อศรีสงครามทราบ เจ้าพ่อศรีสงครามก็ปรึกษาหารือกับทหาร และน้องชายว่าจะไปสร้างเมืองใหม่ จึงได้สร้างบ้านแปงเมืองขึ้น และให้ชื่อดินแดนแห่งนี้ว่า “ บ้านนาหลัก ” ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2440 ได้ยกฐานะตำบลวังสะพุง เป็นอำเภอวังสะพุง ให้อยู่ในการปกครองของเมืองหล่มสักปี 2450 ได้โอนอำเภอวังสะพุง ให้อยู่ในการปกครองจังหวัดเลย บ้านนาหลักก็อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย ตามบันทึกประวัติวัด
บ้านนาหลัก
ปี พ.ศ. 2440 – 2452 ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายเบ้า กองสิงห์
ปี พ.ศ. 2453 – 2487 ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายผิว เหตุเกษ
ปี พ.ศ. 2488 – 2490 ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายสอ ผลซา
ปี พ.ศ. 2491 – 2499 ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายทัน พลซา
ปี พ.ศ. 2500 – 2504 ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายใบ แก้ววงษา
ปี พ.ศ. 2505 ผู้ใหญ่บ้านชื่อ นายกิ่ง เหตุเกษ
ในสมัยนั้นมีวัดแห่งหนึ่งซึ่งทางทิศใต้ของหมู่บ้านชื่อ วัดบ้านนาหลัก เป็นทั้งวัดและโรงเรียน ภายในวัดก็จะมีศาลเจ้าพ่อศรีสงครามอยู่ทางทิศตะวันออกติดกับแม่น้ำเลย ( แม่น้ำเลยมีต้นกำเนิดที่บนภูหลวงที่บ้านเลยตาวตาด ไหลขึ้นมาทางทิศเหนือออกสู่แม่น้ำโขงอำเภอเชียงคาน ) ในบริเวณวัดบ้านนาหลักจะมีต้นโพธิ์ใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง ที่แผ่กิ่งก้านสาขาใหญ่มาก แต่ก่อนต้นโพธิ์ต้นนี้จะอยู่ทางทิศตะวันตกของวัด ต่อมาแม่น้ำเลยได้กัดเซาะดินพังลงเรื่อย วัดก็ย้ายหนีน้ำขึ้นมาเรื่อยๆ จนปัจจุบันต้นโพธิ์อยู่ทางทิศตะวันตกของวัด ( ต้นโพธิ์ต้นนี้ถูกตัดทิ้งแล้ว เมื่อปี พ.ศ. 2541 ) เมื่อบ้านเมืองมีการขยายใหญ่ขึ้นประชากรมากขึ้นทางอำเภอจึงได้ให้บ้านนาหลักออกเป็น 2 หมู่บ้าน เมื่อปี พ.ศ. 2511 โดยใช้เส้นทางถนนมะลิวรรณเส้นเก่าเป็นเส้นแบ่งทางด้านทิศเหนือ ( เดิมชื่อบ้านม่วงชุม ) ให้เป็นบ้านนาหลัก หมู่ที่ 6 มีนายกิ่ง เหตุเกษ เป็นผู้ใหญ่บ้าน ส่วนทางทิศใต้ได้มีการเลือกผู้ใหญ่บ้านคนใหม่ คือ นายบุญมา สุขปื้อ ( เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรกของบ้านศรีบุญเรือง ) ได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่าบ้านศรีบุญเรือง และวัดบ้านนาหลักก็เปลี่ยนชื่อเป็นวัดศรีบุญเรืองง ตามชื่อบ้านศรีบุญเรือง หมู่ที่ 16 จึงเป็นที่มาของบ้านศรีบุญเรืองมาจนถึงปัจจุบัน การเวลาผ่านไปอำเภอวังสะพุงมีการขยายบ้านเมือง ตำบลวังสะพุง มีอาณาเขตกว้างขึ้น จึงได้แบ่งออกเป็นตำบลศรีสงคราม บ้านศรีบุญเรืองจึงได้เปลี่ยนจากหมู่ที่ 16 เป็นหมู่ที่ 10 เมื่อปี พ.ศ. 2530
ที่ตั้ง
บ้านศรีบุญเรืองอยู่ทางทิศเหนือของอำเอวังสะพุง ระยะห่างจากอำเภอประมาณ 1 กิโลเมตร ตามเส้นทางถนนภูมิวิถี
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านนาหลัก หมู่ที่ 6
ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านเลิง หมู่ที่ 8
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ แม่น้ำเลย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านวังน้ำเย็น หมู่ที่ 11
เนื้อที่
บ้านศรีบุญเรือง มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 562 ไร่ 2 งาน เป็นที่อยู่อาศัยทั้งหมด ส่วนที่ดินทำกินอยู่ในเขตหมู่บ้านอื่น
ประชากร
บ้านศรีบุญเรืองมีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 317 ครัวเรือน อาศัยอยู่จริง 227 ครัวเรือน มีประชากรทั้งสิ้น 1558 คน แยกเป็นประชากรชาย 770 คน ประชากรหญิง 778 คน
ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญ
- ผู้นำทางศาสนา/หมอพราหมณ์ คือ นายคำภา พวงพิลา
- หมอยาสมุนไพรพื้นบ้าน รักษาด้วย คาถาอาคม และน้ำมันงา คือนายบัวลัน พลซา รักษาโรคงูสวัด ฝีในท้อง เสดาะก้างติดคอนายผา พลซา รักษาโรคกระดูกแตก กระดูกหัก ด้วยคาถาและน้ำมันนายบุญหลาย บัวระภา รักษาโรคกระดูกหัก งูสวัด ลมพิษ ฝีในท้อง ก้างตืดคอ
- ชำนาญด้านการนวดแผนโบราณ คือนางสุนทร นายม และนางได พวงพิลา
- ด้านดนตรี คือนายฉลอง ทามีสี ด้านเป่าแคน ดีดพิณ ตีกลองนายทองคำ โคตรวงษา ด้านตีกลอง
- ด้านงานฝีมือ จัดดอกไม้และงานใบตองนายพิพิธ จันทิหล้า จัดดอกไม้สด พานบายศรีต่างๆ ผูกผ้าประดับนายณรงค์ศักดิ์ จำศักดิ์ จัดดอกไม้สด พานบายศรีต่างๆ
- งานจักสานไม้ไผ่ คือ นายบัวลา กุลสา และนายบัวฮา พลซา
ข้อมูลจากประวัติศาสตร์หมู่บ้านและชุมชนในจังหวัดเลย อำเภอวังสะพุง โดย กศน.อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย โครงการหนังสือสามัญประจำบ้าน สำนักงาน กศน. จังหวัดเลย