บ้านท่าดีหมี

ไม่ระบุเวลา

แผนที่การเดินทาง

ติดต่อสอบถาม

ที่อยู่:
-ไม่ระบุ-
โทร:
-ไม่ระบุ-
อีเมล:
-ไม่ระบุ-
เว็บไซต์:
-ไม่ระบุ-
เฟซบุ๊ก:
-ไม่ระบุ-
ไลน์ไอดี:
-ไม่ระบุ-
บ้านท่าดีหมีหมายถึง หมู่บ้านที่มีต้นดีหมีอยู่ที่ท่าน้ำ

ประวัติและความเป็นมาของหมู่บ้าน
บ้านท่าดีหมีหมายถึง หมู่บ้านที่มีต้นดีหมีอยู่ที่ท่าน้ำ
ดีหมี หมายถึง ต้นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง ชื่อดีหมีมีสรรพคุณทางยา เช่น ต้มกินแกโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ลดความอ้วน
ท่า หมายถึง ท่าน้ำ เพราะหมู่บ้านตั้งอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำเหือง ในอดีต ไม่มีน้ำประปาไว้ใช้อุปโภค บริโภค ประชาชนในหมู่บ้านต้องอาบน้ำเหือง เมื่อประมาณ 200 กว่าปีมาแล้ว มีชนชาติหนึ่ง อพยพมาจากแขวงไชยบุรี สาธารณะรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำเหืองตรงบริเวณปากห้วยตม เรียกว่า บ้านปากตม (อยู่ระหว่างบ้านนาจานและบ้านท่าดีหมีในปัจจุบัน) ต่อมาเกิดโรคระบาดผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงได้พากันอพยพตามลำน้ำเหืองโดยมีนายฮ้อย สุขะ พ่อทองสี พ่อทิศแสง เดินทางบุกเบิกป่าลงมาทางใต้ ประมาณ 3 กิโลเมตร ซึ่งเป็นป่าใหญ่หรือที่เรียกว่าดง ชื่อดงมะไฟเปาและมีต้นดีหมีเกิดขึ้นมากมายทั้ง 3 ท่าน เห็นว่าพื้นที่แห่งนี้เหมาะแก่การสร้างบ้านเรือนจึงได้เลือกทำเลตั้งหมู่บ้านขึ้น ชาวบ้านได้สร้างถนนลงสู่แม่น้ำเหือง ทำเป็นท่าน้ำและท่าน้ำแห่งนี้มีต้นดีหมีน้อยใหญ่ มากมาย ชาวบ้านที่ลงมาอาบน้ำ ต่างก็จะนำเปลือกต้นดีหมีไปเป็นยารักษาโรค
จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า บ้านท่าดีหมี ผู้ใหญ่บ้านคนเเรก คือ นายไตร พรหมสาสน์ คนปัจจุบันคือ นายเจษฎากรณ์ สอนเสียง ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านตั้งอยู่ เลขที่ 128 หมู่ที่ 4 ตำบลปากตม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย บ้านท่าดีหมีเป็นหมู่บ้านชายแดนส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนและพัฒนาหมู่บ้านจากหน่วยงาน ทหาร / ความมั่นคง / นพค. 23 ซึ่งกิจกรรมพัฒนาครั้งหลังสุดประมาณเมื่อปี พ.ศ. 2542-2545 ทางกองทัพบกภาคที่ 2 ได้สนับสนุนการก่อสร้างพระใหญ่ ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่อำเภอเชียงคาน นอกกจากนี้แก่งคุดคู้แล้วมีหลายคณะ / หลายกลุ่ม ก็ได้มาแวะนมัสการ พระใหญ่และชมทิวทัศน์ริเวรปากแม่น้ำเหืองไหลเข้ามาสมทบกับแม่น้ำโขง ที่ได้รับการกล่าวขานต่อๆกัน คือ จุดชมวิวแม่น้ำสองสี
สถานที่สำคัญในชุมชน
พระพุทธนวมินทรมงคลลีลาทวินคราภิรักษ์ เรียก อีกชื่อหนึ่งว่าพระพุทธนวมินทรมงคลลีลาทวินคราภิรักษ์ตั้งอยู่ที่ภูคกงิ้ว บ้านท่าดีหมี ตำบลปากตม ประดิษฐานอยู่บนเนินเขา บริเวรปากน้ำลำเหืองจรดกับแม่น้ำโขง เป็นพระพุทธรูปปางลีลาปนะทานพรหล่อด้วยไฟเบอร์ผสมเรซิ่นสีทองทั้งองค์สูง 19 เมตรตัว ฐานกว้าง 7.2 เมตร สร้างขึ้นโดยกองทัพภาคที่ 2และประชาชนเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวครบ 6 รอบ เมื่อพ.ศ. 2542 และในมหามงคลแห่งราชพิธิภิเษก ครบ 50 ปี พ.ศ. 2543 สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 2 ก.พ. 2544 บริเวณโดยรอบสามารถชมทัศนียภาพที่สวยงามของแม่น้ำโขง และประเทศลาวได้
ศาลพระเจ้าปาดเหือง เป็นที่เคารพนับถือชาวบ้าน เป็นผู้ดูแลพื้นที่ตำบลปากตมโดยมีข้อห้ามคือห้ามเปิดหมอลำเรืองท้าวสินชัยกับจำปาสี่ต้นเพราะมีคามเชื่อว่าเป็นเรื่องในอดีตของเจ้าพ่อปากเหือง จึงสั่งห้ามให้ใครเปิด และเปิดหมอลำดังกล่าวก็จะเกิดอาเพศ จะมีการเลี้ยงเจ้าพ่อปากเหือง ในช่วงเดือนพฤษภาคม แต่ห้ามตรงกับวันพระและวันพุธ ส่วนใหญ่จะเลี้ยงวันจันทร์วันอังคารและวันพฤหัสบดี
วัดจอมมณี พระเสี่ยง เจ้าพ่อปากเหือง หรือพระเจ้าพ่อองค์หลวงเป็นคนจีนฮ่อ เป็นผู้นำพระเสี่ยงเข้ามา(ตั้งแต่สมัย 8 ศอก) เป็นพระที่ศักดิ์สิทธิ์สามารถเสี่ยงทายได้ และสามารถเสด็จไปไหนเองได้โดยในอดีตเล่าต่อกันมาสมัยนั้นเกิดไฟไหมกุฏิวัดไม่มีพระจำศีลอยู่ที่วัดสักรูป มีแต่พระเสี่ยงองค์เดียวท่านก็ทรงเสด็จหนีไฟลงมาจากกุฏิเอง และเสด็จไปชนกับต้นโพธิ์ต้นใหญ่จนเข่าถลอกจนปัจจุบันเข่าท่านยังเป็นรอยถลอกเป็นรอย พระเสี่ยงเป็นพระที่ทำจากทองสัมฤทธิ์ เกศแก้ว แต่สมัยก่อนถูกขโมยพระแก้วตาพระดวงใจและเกศแก้วไปโดยเล่าต่อกันมาว่าผู้ขโมยคือพระที่มาจำศีลอยู่เป็นผู้ขโมยไปปัจจุบันได้สร้างห่อพระเสี่ยงขึ้นมาเพื่อเป็นที่ประดิษฐานขององค์พระเสี่ยง
โรงเรียนบ้านท่าดีหมี สมัยก่อนบ้านท่าดีหมีไม่มีโรงเรียนต้องเดินทางไปโรงเรียนหนังสือที่บ้านนาจานพอหมู่บ้านจึงได้ก่อตั้งโรงเรียนขึ้นที่วัด โดยมีครูคนแรกชื่อ ครูโค้ย พรหมจักร และครูแก้ว จันสุทธิ และได้ก่อตั้งโรงเรียนบ่านท่าดีหมีเมื่อปี 2508 โดยมีครูคนแรก คือ ครูอ้วน ถา เป็นครูใหญ่
สถานีอานามัยบ้านท่าดีหมี


ข้อมูลจาก ประวัติศาสตร์หมู่บ้านและชุมชนในจังหวัดเลย อำเภอเชียงคาน โดย กศน.อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย โครงการหนังสือสามัญประจำบ้าน สำนักงาน กศน. จังหวัดเลย พ.ศ.2553

สิ่งอำนวยความสะดวก