บ้านเลยวังไสย์ หมายถึง หมู่บ้านที่มีน้ำใสสะอาด และมีความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์
ประวัติบ้านเลยวังไสย์
หมู่ที่ 1 ตำบลเลยวังไสย์ อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย
ความหมายของชื่อหมู่บ้าน
เลย หมายถึง แม่น้ำเลยที่ไหลผ่านหมู่บ้าน
วัง หมายถึง ลักษณะการโค้งของสายน้ำ
ไสย์ หมายถึง ไสยศาสตร์เพราะมีความเชื่อว่า ศาลเจ้าพ่อวังเสื้อแดง มีความศักดิ์สิทธิ์และอาถรรพ์
บ้านเลยวังไสย์ หมายถึง หมู่บ้านที่มีน้ำใสสะอาด และมีความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์
ความเป็นมาของหมู่บ้าน
แต่เดิมนั้นบ้านเลยวังไสย์มีชื่อที่เขียนว่า “เลยวังใส” แต่ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อหมู่บ้านเป็น บ้านเลยวังไสย์ เมื่อปี พ.ศ. 2499 ซึ่งที่เปลี่ยนเป็นเพราะหมู่บ้านเลยวังไสย์มีศาลเจ้าพ่อวังเสื้อแดง เป็นที่เคารพสักการะบูชาอย่างมากของชาวบ้านตำบลเลยวังไสย์ และมีความเชื่อว่าศาลเจ้าพ่อวังเสื้อแดงมีความศักดิ์สิทธิ์และอาถรรพ์ จึงทำให้ชาวบ้านโดยการนำของ นายเจริญ ธรรมกุล อาจารย์โรงเรียนบ้านเลยวังไสย์ เปลี่ยนจาก “ใส” เป็น “ไสย์” ที่ย่อมาจากคำว่า “ไสยศาสตร์” ทำให้หลังจากนั้นเป็นต้นมาหมู่บ้านนี้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “บ้านเลยวังไสย์” เรื่อยมาจนถึงปัจจุบันบ้านเลยวังไสย์ แล้วประมาณ 116 ปีประมาณ พ.ศ. 2430 โดยมีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งย้ายมาจากบ้านวังยาว อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ซึ่งปัจจุบันอำเภอด่านซ้ายก็เป็นอีกอำเภอหนึ่งของ จังหวัดเลย สาเหตุในการอพยพชาวบ้านมาตั้งบ้านในปัจจุบัน เนื่องมาจากลักษณะพื้นที่ของทางอำเภอด่านซ้าย เป็นที่ภูเขาสู งการหาอยู่ หากินค่อนข้างลำบาก ทำให้กลุ่มคนกลุ่มหนึ่งอพยพเพื่อหาที่ที่เหมาะสมในการตั้งบ้านเรือน และหาที่มีความอุดมสมบูรณ์ และมีพื้นที่ทำการเกษตร และการหาอยู่ หากินที่ไม่ลำบากเหมือนแต่ก่อน ซึ่งที่ตั้งบ้านปัจจุบัน เป็นที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำเลยหล่อเลี้ยงชาวบ้าน กลุ่มชาวบ้านกลุ่มแรกที่เข้าอพยพนั้น คือ กลุ่ม ตระกูล วังคีรี บุญทะจันทร์ ชินหาสี และต่อมาก็มีตระกูลต่างๆ ตามมา ซึ่งส่วนใหญ่ย้ายมาจากอำเภอด่านซ้ายเป็นส่วนใหญ่
สถานที่
ศาลเจ้าปู่วังเสื้อแดง ที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้าน เป็นสถานที่เคารพสักการะบูชาอย่างมาก ของชาวบ้านเลยวังไสย์ และมีความเชื่อว่า ศาลเจ้าพ่อวังเสื้อแดง มีความศักดิ์สิทธิ์ และอาถรรพ์ จึงทำให้ชาวบ้านและมีความเชื่อจนถึงปัจจุบัน
วัดเกาะวังเสื้อแดง ที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่บ้าน ซึ่งเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของชาวบ้าน สภาพแวดล้อมด้านข้างๆรอบวัด จะมีแม่น้ำเลยล้อมรอบ โดยจะใช้สะพานแขวนเป็นทางข้ามแม่น้ำเพื่อข้ามไปวัด
ข้อมูลจาก ประวัติศาสตร์หมู่บ้านและชุมชนในจังหวัดเลย อำเภอภูหลวง โดย กศน.อำเภอภูหลวง จังหวัดเลย โครงการหนังสือสามัญประจำบ้านเล่มที่8 สำนักงาน กศน. จังหวัดเลย