อุมุง มาจากคำว่า อูบโมงค์ ที่หมายถึงการปกคุมของเถาวัลย์ ที่ปกคลุมพระธาตุโบราณอยู่ และประกอบกับหมู่บ้านเป็นพื้นที่อยู่ภายในหุบเขาต่อมาก็เรียกชื่อเพี้ยนมาเป็นอุมุงจนถึงปัจจุบัน
ประวัติและความเป็นมาของหมู่บ้าน
ที่มาของชื่อหมู่บ้าน อุมุง มาจากคำว่า อูบโมงค์ ที่หมายถึงการปกคุมของเถาวัลย์ ที่ปกคลุมพระธาตุโบราณอยู่ และประกอบกับหมู่บ้านเป็นพื้นที่อยู่ภายในหุบเขาต่อมาก็เรียกชื่อเพี้ยนมาเป็นอุมุงจนถึงปัจจุบัน
เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2409 มีชาวลาวและชาวไทยอพยพมาตั้งหมู่บ้านอยู่เหนือปากห้วยน้ำปิงน้อยชื่อบ้านเก่าเหนือ หรือบ้านกกโพธิ์ (แต่คนแก่บางคนเรียกบ้านท่าบุ่งศาลา) มีประชากร 18 หลังคาเรือน 44 คนต่อมาประมาณ 8 ปี เกิดโรคฝีดาษระบาดในหมู่บ้านทำให้ชาวบ้านล้มตาย จึงอพยพย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่อื่นคนลาวไปอยู่บริเวณบ้านโพนและบ้านนาซ่าวในปัจจุบัน ส่วนคนไทยย้ายไปอยู่ใต้ปากห้วยน้ำปิงใหญ่ (บ้านผาแบ่นในปัจจุบัน) เรียกว่าบ้านท่าสีดาและได้รวมพลตั้งค่ายต้านทานข้าศึกชาวฮ้อแต่ไม่พบสิ่งใด
จากนั้นต่อมาชาวบ้านท่าสีดามีนายก้านโก้ คำเงาะ นายคำ ทุมแฮด นายชาติ ด้วงอ่อน นายศิลา มาแก้ว และนายพัน พันธ์น้อยพากันไปแผ้วถางป่าเพื่อจับจองพื้นที่ทำกิน และไปพบเห็นพระธาตุเก่าแก่ปกคลุมไปด้วยเครือเถาวัลย์เป็นจำนวนมากต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2420 มีชาวบ้านเข้าไปจับจองที่ดินทำกินและพักอาศัยเพิ่มขึ้นเรื่อย เพราะเป็นพื้นที่ ที่มี ความอุดมสมบูรณ์ จึงได้ตั้งเป็นหมู่บ้านเมื่อปี พ.ศ. 2425 โดยตั้งชื่อหมู่บ้านจากพระธาตุที่มีเครือเถาวัลย์ปกคลุมประกอบกับอยู่ภายใต้หุบเขาที่ล้อมรอบหมู่บ้านว่า อูบโมงค์ ต่อมาก็เรียกเพี้ยนเป็น อุมุง จนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบันบ้านอุมุง ได้แยกหมู่บ้านออกเป็นสองหมู่บ้านคือหมู่บ้านอุมุงหมู่ที่ 5 เดิมและหมู่ที่ 10 ใหม่เมื่อ พ.ศ. 2540
ลำดับผู้นำบ้านอุมุงหมู่ที่ 10
1. นายเปรียบ มาแก้ว
2. นายเริ่ม จันดามี
3. นายพิมพ์ ด้วงอ่อน
4. นายบัวบาน ใครบุตร
5. นายดี พิลาดี
6. นายบัวบาน ใครบุตร
7. นายถนอม สุวรรณจันทร์
8. นายคำผง ใครบุตร
9. นายวิชิต พิมพ์กา
10. นายสมพงษ์ คำแสน
11. นายผา ปัดถาแก้ว
สถานที่สำคัญในชุมชน
สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ได้แก่ พระธาตุโบราณ วัดศรีจำปาตั้งอยู่ที่บ้านอุมุงหมู่ที่ 5
วัดพระธาตุศรีอุมุงเป็ดวัดเก่าแก่ มาตั้งแต่โบราณเป็นที่นับถือของผู้คนในหมู่บ้านมาเป็นเวลานาน
ภาคการเกษตร
1. ห้วยน้ำปิง
2. ห้วยหมากขี
ส่วนราชการ
1. โรงเรียนประถม 1 แห่ง
2. ศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน 1 แห่ง
3. ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน 2 แห่ง
ข้อมูลจาก ประวัติศาสตร์หมู่บ้านและชุมชนในจังหวัดเลย อำเภอเชียงคาน โดย กศน.อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย โครงการหนังสือสามัญประจำบ้าน สำนักงาน กศน. จังหวัดเลย พ.ศ.2553