ยุคประวัติศาสตร์จังหวัดเลย

ยุคประวัติศาสตร์จังหวัดเลย
อำเภอวังสะพุง มีแหล่งยุคประวัติศาสตร์มี่มีอายุประมาณ 900-100 ปี หลักฐานจากใบเสมาหินทราย ที่วัดพัทธสีมาราม บ้านบุ่งผักก้าม บ้านห้วยทรายคำ บ้านกกเกลี้ยง บ้านนาหลัก บ้านเหมืองแบ่ง อำเภอวังสะพุง ใบเสมา หินทราย เหล่านี้เป็นศิลปแบบทราวดี สร้างขึ้นตามคติพุทธศาสนาลัทธิหินยาน แสดงร่องรอยการนับถือพุทธศาสนา และการรับรู้อักษาปัลลวะ จากอินเดียใต้มาจารึกบนใบเสมา ปรากฏสัญญาลักษณ์รูป “ หม้อปูรณฆฏ แสดงความอุดมสมบูรณ์ โชคลาภ และความเป็นศิริมงคล

หลักฐานทางวัตถุที่แสดงความต่อเนื่องทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจคือ ภาชนะดินเผาเคลือบ ไหแข่ง ช้างเครื่องถ้วยจีนแร่ทอง และขี้แร่ พบบริเวณแหล่งถลุงแร่โบราณ ที่บริเวณโพนเหล็กเขตอำเภอเมืองเลย
อดีตในท้องที่อำเภอเมืองเลย น่าจะเป็นแหล่งที่คนสมัยโบราณนำทองแดงไปทำสำริด เพราะจังหวัดเลยนี้มีแร่ธาตุต่างๆ อยู่มากมาย (รูปแร่ทองแดง ภาพที่ 1 หน้า 17 )

แหล่งโบราณสถานยุคประวัติศาสตร์อีกแห่งหนึ่งคือเมืองฝางวัดห้วยห้าว ปัจจุบันเป็นเมืองร้าง วัดร้างริมฝั่งมาน้ำเลย บ้านท่าข้าม บ้านโพนค่าย อำเภอเมืองเลยพบหลักฐานศิลาจารึก จำนวน 2 หลัก

แหล่งที่มา
หนังสือ ประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ของดีไทเลย
นายฐานันคร ศรีสุธรรม